Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์27 มีนาคม 2549
ไทยพาณิชย์สลัดภาพอนุรักษ์นิยม ปล่อยกู้เชิงรุกซื้อกิจการ-พันการเมือง             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ
Banking and Finance




จับตาแบงก์ไทยพาณิชย์เลือกพื้นที่เสี่ยงปล่อยกู้ซื้อกิจการ สลัดภาพแบงก์อนุรักษ์นิยม ได้เห็นกรณีปล่อยกู้แกรมมี่ซื้อมติชน จนมาถึงปล่อยกู้เทมาเส็กซื้อชิน คอร์ป แถมร่วมลงทุน คนวงการแบงก์หวั่นได้ไม่คุ้มเสีย ภาพพจน์ธนาคาร 5 แผ่นดินถดถอย ตั้งข้อสังเกตุโครงสร้างผู้ถือหุ้นไทยพาณิชย์-แบงก์กรุงเทพ มีเครือข่ายรัฐถือหุ้นเหมือนกัน แถมดีลที่ผ่านมามีภาพการเมืองติดมาทุกครั้ง

ธนาคารไทยพาณิชย์ได้เฉลิมฉลองอายุครบ 100 ปี เป็น"ธนาคาร 5 แผ่นดิน" เมื่อไม่นานมานี้ พร้อมด้วยการทำกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของธนาคารที่ 18,883 ล้านบาทของผลประกอบการประจำปี 2548

แต่เส้นทางเดินของธนาคารไทยพาณิชย์วันนี้อาจดูแปลกไปจากเดิม จากที่เคยเป็นธนาคารเชิงอนุรักษ์ มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใหญ่ เติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป หลังจากที่เคยประสบปัญหาเรื่องเงินกองทุนจนต้องขอรับความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังมาแล้ว

เมื่อพิจารณาจากงบการเงิน 2548 พบว่ากำไรที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการขยายเครือข่ายอย่างครบวงจร โดยเฉพาะสินเชื่อบุคคลที่เติบโตจากปี 2547 สูงกว่า 25% รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสูงราว 25% เช่นกัน ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยจากการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น 19.6% จากยอดสินเชื่อทั้งสิ้นกว่า 6 แสนล้านบาท

จากมติชนสู่ชิน คอร์ป

ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาแบงก์รูปใบโพธิ์แห่งนี้ได้สร้างความกังขาให้กับประชาชนและนักลงทุนถึงท่าทีในการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างไปจากเดิม ดูเหมือนเป็นการดำเนินธุรกิจในเชิงรุกมากขึ้น เริ่มจาก 12 กันยายน 2548 ที่เป็นหนึ่งในผู้ให้เงินกู้ 2,200 ล้านบาทกับบริษัทจีเอ็มเอ็ม มีเดียในการเข้าซื้อกิจการของหนังสือพิมพ์มติชน ท่ามกลางข้อครหาที่มีต่อไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เจ้าของแกรมมี่ ที่ถูกมองว่าแนบแน่นกับผู้นำรัฐบาล อาจเป็นร่างทรงที่เข้ามาซื้อสื่อ

ไทยพาณิชย์ถูกตั้งคำถามจากสังคมมากขึ้นถึงความเหมาะสมในการเข้าไปมีส่วนสนับสนุนต่อการซื้อกิจการในครั้งนี้ ผู้บริหารธนาคารต่างออกมาชี้แจงถึงความเหมาะสมในการปล่อยสินเชื่อดังกล่าว และถ้าไม่ปล่อยให้กับกลุ่มแกรมมี่ก็มีธนาคารอื่นพร้อมปล่อยกู้เช่นกัน

เมื่อกระแสต่อต้านรุนแรงขึ้นในที่สุดแกรมมี่ก็ยอมถอย และไม่ได้พึ่งพาเงินกู้ยืมจากแบงก์ไทยพาณิชย์ แต่ภาพที่เสียไปของธนาคารเก่าแก่แห่งนี้ก็เสียไปไม่น้อย

แต่ที่ผู้คนเริ่มหันกลับมามองแบงก์ไทยพาณิชย์อีกครั้งเมื่อ 23 มกราคม 2549 เนื่องจากปรากฎชื่อของธนาคารไทยพาณิชย์เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าซื้อหุ้นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ของตระกูลชินวัตร ร่วมกับกลุ่มทุนเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จากสิงคโปร์ ด้วยการเข้ามาถือหุ้นในบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ 9.9% ซึ่งบริษัทนี้เข้าซื้อหุ้นชินคอร์ป 38.6%

นอกจากนี้ในส่วนของบริษัทหลาบแก้ว ผู้ถือหุ้นในซีดาร์ โฮลดิ้งส์ 41% มีชื่อของศุภเดช พูนพิพัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารธนชาติ จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นเครือข่ายของแบงก์ไทยพาณิชย์ ปัจจุบันได้นั่งเป็นกรรมการในบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

ในการเข้ามาซื้อหุ้นของเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ 49.6% ต้องใช้เงินกว่า 7.3 หมื่นล้านบาท โดยเทมาเส็กนำเงินเข้ามาราว 4 หมื่นล้านบาท ที่เหลืออีก 3 หมื่นล้านบาทใช้วิธีขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินไทย โดยมีการเปิดเผยต่อมาว่าธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกรุงเทพ ปล่อยกู้ให้กับเทมาเส็กรายละ 1.5 หมื่นล้านบาท

นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่แบงก์ไทยพาณิชย์เลือกทางเดินที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม เนื่องจากผู้ขายหุ้นคือตระกูลชินวัตร ที่มีทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำลังถูกกระแสต่อต้านจากภาคประชาชน แถมยังมีส่วนร่วมลงทุนกับเทมาเส็กอีกด้วย

วิธีการปล่อยกู้เพื่อการซื้อกิจการหรือเทคโอเวอร์ เคยเกิดขึ้นมาในอดีตที่ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการเคยใช้วิธีการนี้เพื่อหนีการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อที่รุนแรงมาแล้ว ซึ่งวิธีการดังกล่าวต้องขึ้นกับภาวะตลาดหุ้น ในที่สุดแบงก์กรุงเทพพาณิชยการก็ต้องปิดตัวเองลง

รัฐ-GIC ถือ SCB-BBL

เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาโครงสร้างผู้ถือหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ พบว่ามี Government of Singapore Investment Corp หรือ GIC เจ้าของกองทุนเทมาเส็ก ถือหุ้นอยู่กว่า 3% มีสำนักงานประกันสังคมถือหุ้น 1.44% กระทรวงการคลัง 0.87% และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 0.83% นอกจากนี้ในส่วนของหุ้นบุริมสิทธิธนาคารไทยพาณิชย์มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่อยู่ 38.84% และกองทุนรวมวายุภักษ์ของกระทรวงการคลังถือหุ้น 9.88%

ผู้บริหารของแบงก์ไทยพาณิชย์กล่าวว่า กลุ่มเทมาเส็กถือหุ้นอยู่แล้วได้ชักชวนให้เข้ามาลงทุน

ขณะเดียวกันผู้ปล่อยสินเชื่อให้กับเทมาเส็กอีกรายอย่างธนาคารกรุงเทพ ก็มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นใกล้เคียงกัน มีกระทรวงการคลังถือหุ้น 1.79% ถือในนามกองทุนวายุภักษ์อีก 2.24% GIC ถือ 1.7% กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการถือ 1.08% ประกันสังคม 0.79%

ที่ผ่านมาธนาคารกรุงเทพมีลูกหนี้รายใหญ่ที่ยังไม่สามารถจัดการได้อย่างเด็ดขาดคือบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย ที่ปล่อยสินเชื่อสูงที่สุดในบรรดาธนาคารพาณิชย์ของไทยราว 2.6 หมื่นล้านบาท แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังในการเข้าไปดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ และได้ผู้ร่วมทุนรายใหญ่อย่าง ปตท. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและธนาคารออมสินเป็นต้น แม้เดิมจะมีบริษัทซีติกจากจีนเข้ามาถือหุ้นใหญ่แต่สุดท้ายบริษัทนี้ก็ถอนตัวออกไปหลังจากนายกรัฐมนตรีของไทยเดินทางไปเปิดสาขาของธนาคารกรุงเทพที่ประเทศจีน

หวั่นติดคราบการเมือง

แหล่งข่าวจากวงการธนาคารกล่าวว่า ด้วยโครงสร้างการถือหุ้นของทั้ง 2 ธนาคารที่มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาร่วมถือหุ้นด้วยนั้นจะมีการสั่งการใด ๆ หรือไม่ จะเป็นการเกื้อกูลกันและกันหรือไม่ เป็นเรื่องเหล่านี้ตอบยาก เพราะอำนาจในการปล่อยสินเชื่อหรือการเข้าร่วมลงทุนถือเป็นมติของบอร์ดธนาคาร ส่วนจะมีการชักชวนหรือยื่นข้อเสนอแลกเปลี่ยนระหว่างกันคงมีเฉพาะบอร์ดบริหารกับผู้ชักชวนเท่านั้นที่รู้ระหว่างกัน ซึ่งการตัดสินใจของบอร์ดธนาคารจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะได้รับด้วยเช่นกัน ส่วนกรณีนี้เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างทางธุรกิจ ถือว่ามีความเสี่ยงไม่มากเนื่องจากผู้ขอสินเชื่อเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่รัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้บริหาร

แต่กรณีที่แบงก์ไทยพาณิชย์การซื้อหุ้นชิน คอร์ป นั้นค่อนข้างเสี่ยงกับการวิพากษ์วิจารณ์เพราะว่าดีลนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง จากการขายให้กับเทมาเส็กครั้งนั้นได้กลายเป็นต้นเหตุของความไม่พอใจของภาคประชาชนโดยเฉพาะชนชั้นกลาง เนื่องจากวิธีการซื้อขายหุ้นมูลค่ากว่า 7.3 หมื่นล้านบาทนั้นไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว จนก่อให้เกิดการชุมนุมกดดันให้นายกรัฐมนตรีลาออก

ยิ่งการเข้าไปเป็นหนึ่งในผู้เข้าซื้อกิจการชิน คอร์ป ยิ่งทำให้ภาพที่ออกมาไม่ดีขึ้นไปอีก เนื่องจากการลงทุนลักษณะนี้เท่ากับเป็นการผูกตัวธนาคารเข้าไปกับการซื้อขายกิจการครั้งนี้อย่างชัดเจน แถมวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ เข้าไปนั่งเป็นกรรมการในชิน คอร์ป ด้วย โดยวิชิตเป็นหนึ่งในบุคคลที่ได้รับการคาดหมายว่าจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเมื่อครั้งมีการเลือกครั้งในตอนต้นปี 2548

หากย้อนกลับไปจะพบว่าอดีตผู้บริหารระดับสูงของธนาคารไทยพาณิชย์อย่างโอฬาร ไชยประวัติ หลังออกจากแบงก์ไทยพาณิชย์ได้เข้ามาร่วมงานกับกลุ่มชินวัตร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)

เรื่องของสายสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ตอบยากว่าใครชักชวนใคร ทำอะไร แล้วจะได้ประโยชน์อะไรกับองค์กร แต่วิธีการดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติสำหรับสังคมไทย

ที่ผ่านมาการที่สถาบันการเงินปล่อยกู้เพื่อซื้อกิจการ ภาพที่ออกมาไม่ค่อยดีนักนับตั้งแต่เกิดกรณีของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ ในระยะที่ผ่านมาก็มีสถาบันการเงินบางแห่งปล่อยกู้ให้กับกลุ่มทุนที่เข้าซื้อกิจการในตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน แต่ไม่เป็นที่เปิดเผย ซึ่งรูปแบบในการปล่อยกู้นั้นขึ้นกับข้อตกลงระหว่างกัน อาจใช้ใบหุ้นค้ำประกันหรือใช้วิธีการแปลงหนี้เป็นทุนก็ได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นกับภาวะตลาดหุ้นด้วย หากตลาดหุ้นเอื้ออำนวย ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นนับพันเปอร์เซนต์แล้วได้เงินคืนครบและมีส่วนต่างมากก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ กระแสความไม่พอใจต่อตัวรักษาการนายกรัฐมนตรี ที่เริ่มลามไปสู่การรณรงค์เลิกใช้สินค้าและบริการของกลุ่มชิน คอร์ปและสิงคโปร์ หากทุกอย่างยังไม่ยุติก็อาจจะลามมาสู่สถาบันการเงินที่ให้ความช่วยเหลือกับการซื้อกิจการครั้งนี้ได้ ซึ่งหนีไม่พ้นธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกรุงเทพ

***************

BBC ต้นแบบปล่อยกู้ซื้อกิจการ

ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ หรือ BBC ที่เป็นหนึ่งในชนวนของการเกิดวิกฤตสถาบันการเงินก่อนทางการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท 2 กรกฎาคม 2540 ชื่อของเกริกเกียรติ ชาลีจันทน์ และราเกซ สักเสนา คณะผู้บริหารธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ ได้เป็นผู้ริเริ่มนำเอาธนาคารแห่งนี้รุกปล่อยกู้เพื่อเข้าซื้อกิจการและครอบงำกิจการ

ส่งผลให้ภายในระยะเวลา 3 ปี ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเข้าซื้อกิจการถึง 11 บริษัท ประกอบด้วยบริษัท เอเชี่ยน ฟุตแวร์ บริษัทชลประทานซีเมนต์ บริษัทอินเตอร์ไลฟ์ประกันชีวิต บริษัทอินเตอร์ไลฟ์ประกันภัย บริษัท มรกต อินดัสตรี บริษัทฟินิกซ์ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ บริษัท เทคโนโลยี แอพลิเคชั่นส์ บริษัท อีสเทิร์นไวร์ บริษัทภูเก็ตไอแลนด์ รีสอร์ท บริษัท เซมิคอนดัคเตอร์ บริษัท เอิร์ธอินดัสเตรียล

ธุรกิจสินเชื่อเพื่อเข้าซื้อกิจการของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการเริ่มจากการเป็นที่ปรึกษาแก่กลุ่มผู้ซื้อ เมื่อตกลงซื้อขายกันแล้วก็จะปล่อยกู้ให้กับกลุ่มผู้ซื้อกิจการ

"การเข้าซื้อกิจการที่บีบีซีเป็นที่ปรึกษานั้น จุดประสงค์เพื่อเข้าไปฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้บริษัทสามารถทำกำไรได้ โดยมีการจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้าไปดูแล และผู้ซื้อจะสามารถขายกิจการนั้นออกไปในราคาที่สูงกว่าที่ซื้อมาและจะสามารถคืนเงินกู้ให้แก่บีบีซีได้ ส่วนบีบีซีก็ได้รับประโยชน์จากค่าธรรมเนียมในการเป็นที่ปรึกษาและดอกเบี้ยรับจากเงินกู้ ซึ่งถือว่าเป็นการหารายได้รูปแบบใหม่ของธนาคารแทนการปล่อยสินเชื่อทั่วไปที่มีการแข่งขันสูง ส่วนระดับความเสี่ยงในการปล่อยกู้อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากเป็นการปล่อยกู้ที่มีใบหุ้นของกิจการที่ถูกเข้าซื้อเป็นหลักประกัน 100% ของเงินให้กู้ และมีที่ดินเป็นหลักประกันอีก 50% ของเงินกู้ รวมเป็นหลักประกัน 150% ดังนั้นหากราคาหุ้นปรับลดลง 50% ธนาคารก็ยังไม่เป็นไร" เกริกเกียรติ ชาลีจันทน์ กล่าว

กิจการที่ลูกค้าของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ เข้าซื้อส่วนใหญ่มีผลประกอบการย่ำแย่ ราคาที่เสนอซื้อส่วนใหญ่สูงกว่าราคาหุ้นในกระดานค่อนข้างมาก และส่วนมากราคาหุ้นจะปรับสูงขึ้นตามมาและมีการเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุนอย่างหนาแน่น หลายบริษัทถูกขายออกไปในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมาค่อนข้างมาก

เมื่อกลุ่มผู้ซื้อกิจการที่ใช้เงินกู้จากบีบีซีไม่สามารถขายกิจการออกไปให้กับนักลงทุนได้ ทำให้ต้องขอสินเชื่อจากบีบีซีมากขึ้นเรื่อย ๆ และจากการเข้าไปตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปี 2538 พบว่าธนาคารกรุงเทพพาณิชยการปล่อยกู้เพื่อเข้าซื้อกิจการกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ลูกหนี้หลายรายไม่สามารถชำระดอกเบี้ยได้ และมูลค่าหุ้นที่ใช้หลักประกันส่วนใหญ่ต่ำกว่ามูลหนี้

สุดท้ายธนาคารแห่งประเทศไทยจึงสั่งให้ธนาคารเพิ่มทุนอีก 2 พันล้านบาท เป็น 8 พันล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ปี 2539 จึงสั่งเพิ่มทุนอีก 2.7 พันล้านบาท จากนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์สั่งเพิ่มทุน 5.3 พันล้านบาทและให้กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าถือหุ้นเพิ่มทุนในส่วนนี้พร้อมทั้งลดบทบาทของเกริกเกียรติ ชาลีจันทน์และไม่ต่อสัญญาการเป็นที่ปรึกษาของราเกซ สักเสนา สุดท้ายธนาคารกรุงเทพพาณิชยการถูกสั่งลดทุนเหลือ 1 สตางค์และโอนกิจการไปยังธนาคารกรุงไทย

เรียบเรียงจากเว็บไซต์ โครงการบรรษัทภิบาลไทย

***************

"แกรมมี่ซื้อมติชน" บทเรียนไทยพาณิชย์ชั่วคราว

คำประกาศซื้อกิจการบริษัท มติชน จำกัด(มหาชน)หรือ MATI ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เมื่อ 13 กันยายน 2548 เนื่องจากในช่วงระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน 2548 จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ได้ซื้อหุ้นสามัญของ MATI จากผู้ถือหุ้นเดิมชาวต่างประเทศบางรายจำนวนทั้งสิ้น 65,961,100 หุ้น คิดเป็นประมาณร้อยละ 32.18 ของทุนที่ชำระแล้วของบริษัท ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนหุ้นสามัญของ MATI ที่มีเดียได้มาก่อนหน้านี้จำนวน 116,000 หุ้น เป็นผลให้ จีเอ็มเอ็ม มีเดียถือหุ้นสามัญของ MATI เป็นจำนวนทั้งสิ้น 66,077,100 หุ้น คิดเป็นประมาณร้อยละ 32.23 ของทุนที่ชำระแล้วของบริษัทดังกล่าว

นอกจากนี้ยังได้ซื้อหุ้นสามัญของ POST จากผู้ถือหุ้นเดิมบางรายจำนวนทั้งสิ้น 116,277,830 หุ้น คิดเป็นประมาณร้อยละ 23.26 ของทุนที่ชำระแล้วของบริษัท ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนหุ้นสามัญของ POST ที่จีเอ็มเอ็ม มีเดียได้มาก่อนหน้านี้จำนวน 1,722,170 หุ้น เป็นผลให้จีเอ็มเอ็ม มีเดียถือหุ้นสามัญของ POST เป็นจำนวนทั้งสิ้น 118,000,000 หุ้น คิดเป็นประมาณร้อยละ 23.60 ของทุนที่ชำระแล้วของบริษัทดังกล่าว

ส่งผลให้บริษัทต้องทำคำเสนอซื้อหุ้น MATI สำหรับแหล่งเงินทุนจากภายในบริษัทเองจำนวนทั้งสิ้น 650 ล้านบาท และเงินกู้จากสถาบันการเงินจำนวนทั้งสิ้น 2,200 ล้านบาท และสถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุนครั้งนี้คือธนาคารไทยพาณิชย์

ท่ามกลางกระแสต่อต้านเนื่องจากมติชนและ POST เป็นสื่อมวลชนและภาพลักษณ์ที่ผ่านมาของแกรมมี่แนบแน่นกับรัฐบาลพรรคไทยรักไทยมาโดยตลอด จึงเกรงกันว่างานนี้จะเป็นการเข้ามาฮุบสื่อที่เสนอข่าวคนละด้านกับรัฐบาล จนในที่สุดจีเอ็มเอ็ม มีเดีย เลือกที่จะถือหุ้นในมติชนแค่ 20% ที่เหลือจึงขายคืนให้กับขรรค์ชัย บุนปาน โดยมีธนาคารกรุงศรีอยุธยาโดดเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน

ครั้งนั้นจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา นายกกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ออกมากล่าวว่าเป็นการปล่อยสินเชื่อตามหลักเกณฑ์ปกติของธนาคาร พร้อมทั้งยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวเป็นบทเรียนของธนาคารในการพิจารณาปล่อยกู้ครั้งต่อไป เช่นเดียวกับ ชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวหลังจากจีเอ็มเอ็ม มีเดีย ไม่ต้องการสินเชื่อจากธนาคารว่า ธนาคารจะดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบและรับผิดชอบต่อสังคม

เมื่อเรื่องดังกล่าวยุติลงไปได้ด้วยดี บทเรียนที่ธนาคารไทยพาณิชย์ได้รับกลับเป็นแค่ช่วงระยะสั้น ๆ เท่านั้น เพราะวันนี้ธนาคารไทยพาณิชย์รวมถึงผู้บริหารของธนาคารได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การขายหุ้นครั้งมโหฬารของตระกูลชินวัตรด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us