|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เวนเจอร์แคปปิตอลฟันด์ อาจเป็นหนทางที่จะปลุกชีพตลาดMAIที่เปรียบเสมือนคนเก็บตัวเงียบจากความเหนื่อยล้าที่พยายามสร้างเสน่ห์ให้กับตนเองมาตลอด 7 ปี ให้กลับมามีไฟ หลังนโยบายต่าง ๆ ที่พยายามผลักดันไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่หวัง และหนนี้การตั้งกองทุนเวนเจอร์แคปปิตอล ขึ้นมาก็เพื่อการคัดสรรกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้สนใจเข้ามาเล่นหุ้นในตลาดMAIบ้าง
ความพยายามในการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ MAI (Market for Alternative Investment : MAI)มีอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 7ปี แต่ความน่าสนใจและแรงดึงดูดที่มีต่อนักลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อยยังไม่เป็นที่ประสบความสำเร็จมากนัก ซึ่งเห็นได้จากบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียน และมูลค่าการซื้อขายของตลาดMAI ยังอยู่ในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)
ที่สำคัญภาพลักษณ์ในสายตาของนักลงทุน ที่มีต่อตลาดMAIยังไม่ดีเท่าใดนักเพราะนักลงทุนมักมองว่าบริษัทในตลาด MAI มีขนาดเล็ก คุณภาพจึงอาจด้อยกว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กระนั้นก็ตาแนวคิดดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้ตลาดMAI ท้อถอยหยุดการพัฒนา เพราะจากแนวคิดดังกล่าวเป็นเสมือนภาพสะท้อนให้ตลาดMAIต้องเร่งผลักดัน หากลยุทธ์หรือวิธีการใหม่ ๆ มาแก้ไขเพื่อสร้างแรงดึงดูให้นักลงทุนได้เหลียวมามองตลาดแห่งนี้บ้าง
ย่างเข้าสู่ขวบปีที่ 8 ตลาด MAI มีการปรับโครงสร้างผู้บริหารใหม่โดย ชนิตร ชาญชัยณรงค์ มาเป็นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์MAI แทน วิเชฐ ตันติวานิช ที่กลายเป็นที่ปรึกษาไป
"ผมเข้ามายังคงสานต่อนโยบายเดิมที่วางไว้ แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนงานบางอย่างให้มีขั้นตอนที่กระฉับมากขึ้น อีกทั้ง การสารต่อในนโยบายกองทุนบายตั้งเวนเจอร์แคปปิตอล"
ชนิตร บอกว่า ตลาดMAIจะสวมหมวกอีกใบในฐานะผู้ลงทุนสถาบันเมื่อมีการ จัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนของเอ็มเอไอ หรือ เอ็มเอไอแมทชิ่ง ฟันด์ ที่มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท รูปแบบการเข้าไปลงทุนอยู่ระหว่างการพิจารณาที่คาดว่าเดือนเมษายนนื้จะสรุปผลได้ แต่ทั้งนี้ได้วางไว้ 2 ลักษณะ คือการตั้งกองทุนเวนเจอร์ แคปปิตอลฟันด์ขึ้นใหม่โดยร่วมกับพันธมิตรเพื่อเข้าไปลงทุนในบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต ส่วนอีกรูปแบบคือ การเข้าไปร่วมลงทุนในเวนเจอร์แคปปิตอลฟันด์ที่จัดตั้งขึ้นมาอยู่แล้วซึ่งวิธีที่ 2 นี้ทำได้ทันที เพราะกองทุนประเภทนี้มีอยู่จำนวนมาก
ชนิตร เล่าว่า เวนเจอร์แคปปิตอลฟันด์ คือกองทุนที่เข้าไปลงทุนโดยตรงในบริษัทที่เห็นแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต โดยกลุ่มบริษัทหรืออุตสาหกรรมที่อยู่ในข่ายน่าเข้าไปลงทุน มีทั้งธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ธุรกิจเทคโนโลยีทางด้านวัฒนธรรม ธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับอนาคต ธุรกิจด้านมีเดีย ธุรกิจยานยนต์ และธุรกิจบริการเฉพาะกิจ
"แนวคิดที่มีของการเข้าไปร่วมลงทุนคือ ธุรกิจต้องมีการขยายตัว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก จริงอยู่ที่แรกเริ่มเดิมที่อาจเป็นธุรกิจในครอบครัวเงินลงทุนก็มาจากเงินหมุนในครอบครัว แต่เมื่อวันหนึ่งธุรกิจต้องโตมากกว่าที่เป็นอยู่ เงินในครอบครัวคงไม่เพียงพอต่อการพัฒนาศักยภาพบริษัทได้ ดังนั้น ตลาดMAI ในฐานะผู้ลงทุนก็จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้วยการลงทุนทางตรง คือเข้าไปถือหุ้น ซึ่งเมื่อวันหนึ่งเขาสามารถเติบโตและยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้ เราก็พร้อมจะถอนออก"
ชนิตร บอกอีกว่า หลักการของเวนเจอร์แคปปิตอลฟันด์ ส่วนมากจะมีระยะเวลาลงทุนอยู่ที่ 5-8 ปี วัตถุประสงค์คือการให้ทุนผู้ประกอบการนำไปพัฒนาธุรกิจ แต่เงื่อนไขที่แฝงไว้สำหรับเวนเจอร์แคปปิตอลฟันด์ที่ ตลาดMAIจะเข้าไปถือหุ้นคือ เมื่อใดก็ตามที่บริษัทมีความพร้อม จะต้องนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์MAI
และนี่คือกลยุทธ์สำคัญในการสร้างสินค้าในตลาดMAIให้เพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วนนี้เรียกว่าซับพลาย เมื่อซับพลายมีมากขึ้น ดีมานก็ย่อมตามมา นั่นหมายถึงนักลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อยจะให้ความสนใจสินค้าในตลาดMAIเพิ่มขึ้น
ชนิตร บอกว่า ที่ต้องนำ ตลาดMAI มาเป็นผู้ร่วมทุนนั้น ส่วนหนึ่งก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรหรือนักลงทุนที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในเวนเจอร์แคปปิตอลฟันด์ ซึ่งตองยอมรับว่าเรื่องของความมั่นใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนดังนั้นการมีนานตลาดMAIปรากฏในฐานะหนึ่งในผู้ลงทุนน่าจะเป็นวิธีที่ทำให้ เวนเจอร์แคปปิตอลฟันด์ และบริษัทที่เข้าไปลงทุนเดินหน้าไปได้เร็วขึ้น
คาดว่าปีนี้บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดMAI จะอยู่ที่ 40 รายซึ่งเป็นเป้าหมายที่ตังไว้และคิดว่าจะทำได้ ในขณะที่ตั้งเป้าไว้ว่าปี 2552 จะมีบริษัทจดทะเบียนครบ 500 แห่ง คิดเป็นมูลค่าตลาดราว 250,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูงมาก และนี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดMAI ไม่สามารถหยุดนิ่งที่จะคิดหรือหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อกระตุนทั้งซับพลายและดีมานให้เพิ่มมากขึ้น
ชนิตร เล่าว่า อีกส่วนที่สำคัญคือในการสร้างมูลค่าให้ตลาดคือการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจนักลงทุน ที่ผ่านมาตลาดMAI ได้จัดกิจกรรมหลากหลาย รวมถึงการเดินทางไปพบปะผู้บริหารที่จดทะเบียนในตลาด MAI ด้วยตนเองเพื่อทำความรู้จักและเข้าใจในแต่ละอุตสาหกรรม
"เป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเดินเข้าไปพบผู้บริหาร การที่เราจะขายสินค้าหรือสร้างความน่าสนใจให้สินคาที่มีอยู่นั้นจะต้องลงไปทำความรู้จักว่าอะไรคือจุดเด่นที่จะทำให้สินค้าดังกล่าวเป็นที่สนใจของนักลงทุน เพราะถ้าเราไม่รู้จักว่าสินค้าในตลาดเป็นอย่างไร ผู้ประกอบการความต้องการอะไร เพื่อนำผลดังกล่าวมาประเมินและทำเป็นนโยบายให้การสนับสนุน ซึ่งเชื่อว่าตลาดMAI ก็จะสามารถเติบโตไปในทางที่ดีได้"
ความพยายามหลายอย่างที่MAIพยายามทำอยู่ตลอดระยะเวลา 7 ปียังไม่เห็นผลเป็นที่ชัดเจนนัก นักลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อยยังไม่เหลียวแลหรือให้การตอบรับที่ดีแม้จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อรูปแบบต่าง ๆ แล้วก็ตาม แต่ความหวังยังมีอยู่ เพราะ เวนเจอร์แคปปิตอลฟันด์ ที่จะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ จะเป็นตัวสร้างสินค้าในตลาดMAIให้เพิ่มขึ้น และผลที่หวังไว้สำหรับผู้บริหารของตลาดMAI ก็คือดีมานจากนักลงทุนจะตามมาเอง
เวนเจอร์แคปปิตอลฟันด์ จึงเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงและส่งสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายตลาดMAI ซึ่งเปรียบได้กับความหวังที่มาพร้องกับการดึงดูดนักลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อย ให้สนใจและเข้ามาลงทุนในตลาดดังกล่าวมากขึ้น
|
|
|
|
|