Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 มีนาคม 2549
การเมืองฉุดจีดีพีปีนี้เหลือ3.2%             
 


   
www resources

โฮมเพจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

   
search resources

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
Economics
Political and Government
อัทธ์ พิศาลวานิช




นักวิชาการประเมินการเมืองยืดเยื้อ ฉุดจีดีพีประเทศปีนี้เหลือ 3.2% เหตุโครงการเมกะโปรเจกต์ การลงทุนและการท่องเที่ยวจะชะลอตัวหมด แนะ "ทักษิณ"เว้นวรรค ไปเคลียร์ตัวเองให้จบก่อน

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองว่า ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 กรณี โดยกรณีแรก ไม่เกิดปัญหาทางการเมือง อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ และโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐมีการลงทุน 75.30% ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัว 5.02% ดุลการค้าขาดดุล 11,249 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการส่งออกจะขยายตัว 13.14% นำเข้าขยายตัว 14.25% ด้านการลงทุนขยายตัว 11.46% แบ่งเป็นการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 9.86% การลงทุนภาครัฐขยายตัว 16% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5,781 ล้านเหรียญสหรัฐ

กรณีที่สอง สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง สามารถยุติได้ในระยะเวลาสั้น โดยจีดีพีประเทศจะลดลง 1.04% หรือขยายตัว 3.98% เนื่องจากเกิดการชะลอการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐในช่วงครึ่งปีแรก เหลือเพียง 56.17% ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงเหลือ 10,947 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกขยายตัว 13.14% แต่นำเข้าชะลอตัวลดลง 0.22% หรือขยายตัว 14.03% ขณะที่การลงทุนลดลง 3.09% เหลือเพียง 8.37% แบ่งเป็นการลงทุนภาคเอกชน 8.57% ลดลง 1.30% เนื่องจากต่างชาติไม่แน่ใจจึงชะลอการลงทุน และหันไปลงทุนประเทศอื่น เช่น เวียดนามแทน การลงทุนภาครัฐขยายตัว 8.73% หรือลดลง 8.17% เนื่องจากเกิดการชะลอลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ รวมทั้งโครงการบ้านเอื้ออาทร ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุล 5,650 ล้านเหรียญสหรัฐ

กรณีที่สาม สถานการณ์ทางการเมืองยืดเยื้อ และไม่สามารถสานต่อนโยบายด้านการลงทุนขนาดใหญ่ ซึ่งมีการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์เหลือ 37.05% ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นด้านการลงทุนกลับมาได้ในปี 2549 จีดีพีประเทศ จะลดลง 1.82% หรือขยายตัวเหลือ 3.20% ดุลการค้าขาดดุล 10,362 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกเพิ่มขึ้น 0.31% หรือขยายตัว 13.46% นำเข้าลดลง 0.45% หรือขยายตัว 13.80% โดยการลงทุนลดลง 5.93% หรือขยายตัว 5.54% แบ่งเป็นการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 7.16% หรือลดลง 2.25% เนื่องจาก ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่การลงทุนภาครัฐ ลดลง 16.35% หรือขยายตัวเพีง 0.35% เท่านั้น และดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยจะขาดดุล 6,912 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองยืดเยื้อ 3 อันดับแรก จะเป็นธุรกิจในภาคบริการทั้งโรงแรม ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และศูนย์การจัดประชุม รองลงมาเป็นธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) เช่น เครื่องดื่ม และธุรกิจบริษัทโฆษณา เพราะธุรกิจต่างๆ จะมียอดขายตกลง ทำให้ชะลอการใช้จ่ายงบโฆษณา ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวนั้น พบว่าหากเป็นกรณีแรก ไทยจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด 439,888 ล้านบาท กรณีที่สอง รายได้จะลดลง 5% และหากยืดเยื้อกรณีที่สาม รายได้ท่องเที่ยวจะหายไปมากกว่า 10%

นายอัทธ์กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้ มีความเป็นได้ที่จะเข้าขั้นกรณี 3 เนื่องจากเชื่อว่าจะต้องมีการเลือกตั้งอีกครั้ง หลังจากวันที่ 2 เม.ย. ที่มีการเลือกตั้งไปแล้ว เพราะความขัดแย้งจะยังไม่จบ ซึ่งหากนายกรัฐมนตรียังเป็นคนเดิมคือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็จะมีการชุมนุมเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง โดยเศรษฐกิจจะไม่ดีขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะกลับมาทำโครงการเมกะโปรเจ็กต์ แต่ก็ไม่สามารถผลักดันเศรษฐกิจได้เหมือนเดิม แต่หากนายกรัฐมนตรีเสียสละลาออก และมีคนกลางมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน เศรษฐกิจประเทศจะดีขึ้นมา เพราะการเมืองนิ่ง ด้านความเชื่อด้านเศรษฐกิจเป็นอีกเรื่อง เพราะมีความเป็นไปได้ว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่อาจจะไม่ดำเนินนโยบายของระบบทักษิณ แต่โดยรวมเศรษฐกิจดีกว่าทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี

"ในฐานะประชาชนหนึ่งเสียง อยากให้นายกฯ ทักษิณ เว้นวรรคทางการเมือง เสียสละลาออก โดยให้เคลียร์เรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปของตัวเองให้จบก่อน แล้วค่อยกลับมาเป็นนายกฯ ใหม่ จะสง่างามและเป็นประโยชน์กับประเทศชาติมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ถ้าเลือกตั้งแล้วพรรคไทยรักไทยกลับมาใหม่ เศรษฐกิจก็จะดีขึ้นเพราะว่าสานต่อโครงการต่างๆได้เลย และหากนายกฯ ไม่ใช่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนในพรรคไทยรักไทย ก็จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นมากกว่านี้"นายอัทธ์กล่าว

สมคิดโยนบาปพันธมิตรฯทำลงทุนชะงัก

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รักษาการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ยอมรับว่าการขอสิทธิพิเศษในการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) มีจำนวนที่ลดน้อยลงนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ว่าหารการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณข้างทำเนียบรัฐบาลมีความยืดเยื้อก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะยาว

สำหรับ สถานการณ์การเมืองขณะนี้ประชาชนไม่มีอารมณ์ที่จะจับจ่ายใช้สอยเท่าที่ควร ส่วนเรื่องที่สภาหอการค้าระบุคาดว่า จีดีพีไตรมาส 1 ของปี 2549 อาจจลดลง 0.5-1 % นั้น ตนในฐานะรัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจ จะดูแลเรื่องดังกล่าวให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อกล่าวถึงกรณีแกนนำพันธมิตรฯออกมาเดินขบวนรณรงค์ที่บริเวณ ถนนสีลม ซึ่งเป็นย่านธุรกิจสำคัญขนาดใหญ่ เพื่อชักชวนให้นักธุรกิจออกมาเคลื่อนไหวขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีให้พ้นจากตำแหน่ง ว่าการเคลื่อนไหวของแกนนำพันธมิตรในครั้งนี้จะมีผลกระทบอย่างไรบ้างนั้น นายสมคิด ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us