Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 มีนาคม 2549
เอกชนค้านชนฝาขึ้นทะเบียนอาคารชุดหวั่นถูกล็อตสร้างโครงการตามโฆษณา             
 


   
search resources

อธิป พีชานนท์
Real Estate
พิเชษฐ์ ศุภกิจจานุสันติ์




มรสุมกระหน่ำผู้ประกอบการอาคารชุด หลังสวล.ออกกฎคุมอาคารในพื้นที่เดี่ยวกันก่อสร้างเกินหมื่นตร.ม.กำหนดให้เป็นอาคารขนาดใหญ่ ล่าสุดกรมที่ดินเตรียมออกข้อบังคับขึ้นทะเบียนอาคารชุดก่อนสร้าง กันผู้ประกอบการสร้างไม่ตรงตามโฆษณา เอกชนร้องจ๊ากแจงเปลี่ยนประโยชน์การใช้อาคารในภายหลังไม่ได้หากภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้อ แจงมีสคบ.ควบคุมไม่ควรออกกฎซ้ำซ้อน แนะกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องขอไลน์เซ่น

กรณี ที่สมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เสนอกรมที่ดินให้ออกกฎข้อบังคับให้ผู้ประกอบการต้องขึ้นทะเบียนอาคารชุดก่อนมีการก่อสร้าง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาออกเป็นข้อบังคับ โดยจะต้องศึกษาถึงรายละเอียดและผลดีผลเสียก่อน

นายอธิป พีชานนท์ กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะมีระเบียบออกมาบังคับ เพราะหากมีการขึ้นทะเบียนอาคารชุดก่อนก่อสร้าง และเมื่อก่อสร้างเสร็จหากภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย ผู้ประกอบการต้องการเปลี่ยนประโยชน์การใช้อาคารเป็นอย่างอื่น รวมถึงหากโครงการที่เป็นอพาร์ตเมนต์หรืออาคารอื่นๆ ที่ต้องการปรับมาเป็นอาคารชุดก็จะไม่สามารถทำได้ ก็จะส่งผลให้มีข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจและอาจสร้างความเสียหายได้ในภายหลัง

“ถ้าผู้ประกอบการต้องขึ้นทะเบียนอาคารชุดก่อน กว่าจะสร้างเสร็จใช้เวลา 1-2 ปี หลังจากนั้นถึงจะไปขอขึ้นทะเบียน หากภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้อเราก็ไม่สามารถเปลี่ยนอาคารเป็นอย่างอื่นได้ หรือกรณีที่ขออนุญาตเป็นอพาร์ตเมนต์ ในภายหลังเศรษฐกิจไม่ดีจะเปลี่ยนมาขายเป็นอาคารชุดแทนก็ทำไม่ได้ เพราะไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตั้งแต่ก่อนสร้าง แล้วก็จะเกิดกรณีไปขึ้นทะเบียนหลอกๆ เพื่อให้อาคารที่ต้องการเปลี่ยนมาซื้อทะเบียนนี้ไป” นายอธิปกล่าว

อย่างไรก็ตามดี กรณีที่ผู้ประกอบการไม่สร้างตามที่โฆษณาไว้ จะมีกฎหมายของคณะกรรมการคุมครองผู้บริโภค (สคบ.) ควบคุมอยู่แล้ว สามารถนำมาบังคับใช้ได้เลย นอกจากนี้ยังมีสัญญามาตรฐานที่สคบ.ได้มีข้อกำหนดไว้ และหากกรมที่ดินจะออกระเบียบมาก็จะไปขัดกับพระราชบัญญัติอาคารชุดที่ไม่มีข้อใดกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนก่อน

นายพิเชษฐ์ ศุภกิจจานุสันต์ กรรมการบริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การกำหนดให้ขึ้นทะเบียนอาคารชุดก่อนการก่อสร้างนั้นไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะมีสคบ.ควบคุมอยู่แล้วหากผู้ประกอบการทำไม่ดีก็ไปฟ้องที่สคบ. ที่ผ่านมาผู้บริโภคไม่ได้ตรวจสอบสัญญาและสิทธิที่พึงมีให้ละเอียดก่อน อีกทั้งบางรายยังเข้าใจไปเองว่า เจ้าของโครงการจะให้หรือจะมีเป็นของส่วนกลาง ดังนั้นผู้บริโภคจะต้องตรวจสอบสัญญาให้ละเอียดก่อน

นอกจากนี้ นายพิเชษฐ์ ยังได้แนะนำทางออกของปัญหาการก่อสร้างไม่ตรงตามโฆษณาว่า ควรกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องขอใบอนุญาตประกอบการ โครงการอาคารชุด หรือไลน์เซ่น โดยแต่งตั้งหน่วยงานขึ้นมากำกับดูแล หากผู้ประกอบการกระทำผิด สามารถยึดใบอนุญาตได้ทันทีและขึ้นบันชีดำเอาไว้

ทั้งนี้ ในส่วนของสมาคมอาคารชุดและสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยร่วมกับกรมที่ดิน จัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่องการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอาคารชุดตามแผนพัฒนากฎหมายของกรมที่ดิน ในที่ประชุมได้มีการเสนอแก้ไขกฎหมายอาคารชุดในบางมาตรา อาทิ 1.การจัดเก็บค่าส่วนกลางให้จัดเก็บตามขนาดพื้นที่ได้หรือจัดเก็บตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ จากเดิมที่จัดเก็บตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์เพียงอย่างเดียว 2. ผู้จัดการนิติอาคารชุดให้สามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ เป็นต้น

นอกจากนี้ ในที่ประชุมผู้อยู่อาศัยอาคารชุดที่พัฒนาโดยการเคหะแห่งชาติ(กคช.) ได้กล่าวถึงปัญหาการบริหารอาคารชุดของกคช. ว่า ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะอยู่ในฐานะผู้เช่าซื้อระยะยาว 20-25 ปี ทำให้ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้จนกว่าจะผ่อนชำระหมด ทำให้ไม่มีโอกาสเลือกตั้งผู้บริหารอาคารชุดด้วยตัวเอง ซึ่งในเรื่องนี้กคช.จะเป็นผู้ดำเนินการหาผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งอาจจะเป็นเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากกคช. ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือมีการทุจริตเกิดขึ้น ดังนั้นจึงอยากให้กรมที่ดินได้เข้ามาดูแลในส่วนนี้

นายบุญเชิด คิดเห็น ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวสามารถควบคุมด้วยการนำมาตรา 18 มาบังคับใช้ว่า คือ ต้องมีการตรวจสอบบัญชีโดยผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อความโปร่งใส   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us