Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539
"การต่อสู้ของอินทรฑูต"             
โดย ภัทราวรรณ พูลทวีเกียรติ
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ
เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์
Banking




เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ ไม่ใช่คนแรกที่เขียนตำนานอันเร้าใจบทนี้

บีบีซี เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2487 แถว ๆ ทรงวาดในยุคนั้น บีบีซีก็เหมือนธนาคารยุคแรก ๆ ที่ควบคุมโดยพ่อค้าเชื้อสายจีน เช่นธนาคารทั่วไปโดยมีหัวเรือใหญ่คือ ตัน จิน เกง พ่อค้าจีนผู้มีชื่อเสียง ประสบการณ์ธุรกิจครบเครื่องเจ้าของกิจการเดินเรือใหญ่ บริษัทโหงวฮก ได้ชักชวน ตัน ซิ่ว เม้ง หวั่งหลี บุลสุข สหัท มหาคุณลงขันตั้งธนาคารขึ้น

กลุ่มผู้ก่อตั้งต้องการเชื้อเชิญ "ผู้มีอำนาจ" เข้าร่วมดำเนินงานซึ่งในที่สุดก็คือพลตำรวจเอกพระพินิจชนคดีผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในยุคนั้น เขาเป็นต้นตระกูล "อินทรฑูต" และเป็นพี่เขยของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ทำให้ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์เข้าร่วมเป็นกรรมการพร้อมกับ ม.ร.ว. บุญรับ พินิจชนคดี พี่สาว นอกเหนือจากบรรดาพ่อค้าจีน ที่ร่วมก่อตั้งและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่แล้ว

ในระหว่างที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ กำลังเป็นดาวรุ่งในวงการเมือง ปี 2488 ตัน ซิ่ว เม้งหัวเรือใหญ่แห่งตระกูลหวั่งหลีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ เสียชีวิตอย่างมีปริศนา

ต่อมาเมื่อสฤษดิ์ ธนะรัชต์ขึ้นครองอำนาจตันจินแกงผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของธนาคารตกเป็นเหยื่อของการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ขนานใหญ่ เขาถูกจับเข้าคุกในข้อหาคอมมิวนิสต์ซึ่ง ในเวลาต่อมาต้องเดินทางออกนอกประเทศ

การประสบเคราะห์กรรมของ 2 ผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ส่งผลให้หุ้นของ 2 ธนาคารมีการเปลี่ยนมือสู่ตระกูลอินทรฑูต

ในขณะที่ก่อนหน้านั้นคนของอินทรฑูต-ปราโมช ก็ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคาร มาโดยตลอดนับตั้งแต่ พล.ต.อ. พินิจชนคดี ในปี 2492-2513 ติดตามด้วย ภริยา ม.ร.ว. บุญรับ พินิจชนคดี 2513-2524 และ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ตั้งแต่ปี 2524

ส่วนตำแหน่งสำคัญสูงสุดในระดับบริหารคือกรรมการผู้จัดการนั้นแม้จะไม่ใช่คนจากอินทรฑูต-ปราโมชแต่ก็ว่ากันว่า ม.ร.ว. คึกฤทธ์เป็นผู้คัดเลือกมาโดยตลอด นับตั้งแต่กรรมการจัดการคนแรก ยม ตัณฑเศรษฐี ลูกเขยตระกูลล่ำซ่ำ ที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ชักชวนมาจากธนาคารซีไทฮง

กรรมการผู้จัดการคนถัดมายิ่งชัดเจนขึ้น เมื่อได้แก่ ม.จ. อาชวดิส ดิสกุล เพื่อนนักเรียนอังกฤษ รุ่นเดียว กับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ก่อนจะถึงคนสุดท้ายที่ไม่ใช่อินทรฑูต คือ "ธะนิต พิศาลบุตร" ซึ่งจะเป็นกรรมการผู้จัดการคนสุดท้ายที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ได้คัดเลือกอย่างแท้จริง

ช่วงที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ มีอิทธิพลสูงสุดในธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การสูงสุด น่าจะเริ่มขึ้นในปี 2513 ซึ่งเป็นปีที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งรองประธนาคาร ในขณะที่เพื่อนรักของเขาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ

ในขณะที่ตระกูลอินทรฑูต จริง ๆ นั้นยังไม่มีใครที่มีบทบาทโดดเด่นนัก นอกจากส่ง "อินทรา ชาลีจันทร์" ธิดาของพระพินิจฯ ที่เกิดกับ ม.ล. อรุณ สนิทวงศ์ มาคานอำนาจในตำแหน่งกรรมการ และผู้จัดการทั่วไป ซึ่งเรื่องราวกระทบกระทั่งระหว่างธะนิต และอินทิราก็เกิดขึ้นเสมอ

ก้าวกระโดดอย่างสำคัญของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ที่ทำให้ธนาคารเติบโตทางยอดเงินฝากมากเกิดจากนโยบาย "การเมืองนำธุรกิจ" เริ่มจากปี 2518 สมัยที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี

ผลคือธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การเติบโตด้านเงินฝากมากเกินไปกลายเป็นปัญหาเงินล้นแบงก์ โดยที่ปล่อยกู้ไม่ได้เนื่องจากขนาดเงินกองทุนมีจำกัด ธะนิตภายใต้การสนับสนุนของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ จึงเสนอให้มีการเพิ่มทุนธนาคารจาก 200 ล้านบาทเป็น 400 ล้านบาท

ตระกูลอินทรฑูต นำโดยนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ (สามีของอินทิรา) จึงต้องลุกขึ้นมาต่อต้านธะนิต อย่างรุนแรงการต่อสู้นี้ดำเนินต่อเนื่องอย่างยาวนานนับตั้งแต่ปี 2525 จนกระทั่งปี 2529 หลังความเพียรพยายาม ชี้แจงให้ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ได้เข้าใจ และยอมรับวันที่ 28 มีนาคม 2529 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การก็ได้ลงมติปลดธะนิต พิศาลบุตร เพื่อนรักของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ออกจากตำแหน่งโดยธะนิตไม่ได้รับคำบอกกล่าวล่วงหน้าจากเพื่อนรักของเขาเลย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ครั้งล่าสุดนี้ ก็คือวงล้อของประวัติศาสตร์หมุนกลับมาบดขยี้ผู้ที่อยู่บนเวทีแห่งนี้อีกครั้งนั่นเอง เพียงแต่ผู้ที่เคยขับเคลื่อนเพื่อผู้บดขยี้ต้องกลับมารับบทตรงข้ามแล้วในวันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us