|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ไทยนครินทร์ ปรับเป้าปีนี้โตเกิน 20% หลังสองไตรมาสที่ผ่านมาโตเกิน 20% และไตรมาส 3 ที่ผ่านครึ่งทางก็อยู่ในทิศทางเดียวกัน ผลจากการเปิดศูนย์โรคหัวใจให้บริการครบวงจร ทำให้มีผู้ป่วยรักษาเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาหุ้นยืนเหนือราคาจองนับจากเข้ามาเทรดในตลาด เชื่อนักลงทุนตอบรับดีและราคา IPO มีส่วนลดเกือบ 30%
ราคาหุ้น TNH ของบริษัท โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จำกัด(มหาชน) นับจากที่เข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai เมื่อปลายปี 48 พบว่าราคาแม้จะเหนือราคาจองที่ 1.75 บาท นั้นแต่ก็ยังไม่อาจขึ้นไปยืนเหนือราคา 2 บาทได้ อาจเพราะความผันผวนของตลาด แต่เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ ปีนี้กลับพบว่าราคาหุ้น TNH สามารถขึ้น ไปยืนเหนือราคา 2 บาทได้จนกระทั่งปัจจุบัน ขณะที่เปอร์เซ็นต์บวกของราคาหุ้นนั้นกลับมีมากน้อยต่างกัน บางวันบวกเกิน 3% แต่บางวันก็บวกไม่ถึง 1% ขณะที่อาจมีติดลบบ้างแต่ก็ยังเห็นว่าราคาหุ้นค่อย ๆ บวกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
นางอำไพ พยัคคง รักษาการผู้อำนวยการบริหาร บริษัท โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จำกัด(มหาชน) (TNH) กล่าวว่าการที่ราคาหุ้นยืนเหนือราคาจองได้มาตลอดนับจากวันที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai นับว่าเป็นสิ่งที่ดีและแสดงให้เห็นการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน ซึ่งราคาหุ้นที่ขาย IPO นั้นเป็นราคาที่มีส่วนลดให้กับนักลงทุนผู้จองซื้อหุ้น 20-30% ดังนั้น การที่ราคาหุ้นปรับขึ้นมาเหนือ 2 บาท ถือเป็นสิ่งที่ดีต่อบริษัท
ขณะเดียวกันยังพบว่าผู้ป่วยที่เข้ามารักษาที่โรงพยาบาลไทยนครินทร์ก็เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นบริษัทจึงปรับเป้าหมายการเติบโตมื่อปลายปี 48 ช่วงที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai จากเดิมที่ตั้งเป้ารายได้ที่ 12% เป็น 15-20% แต่เมื่อผ่านสองไตรมาสแรกผู้บริหารค่อนข้างมั่นใจว่าน่าจะได้เหนือระดับ 20% เนื่องจากผลการดำเนินงานทั้งสองไตรมาสปีนี้พบว่าโตเกินกว่า 20% ทั้งสองไตรมาส
“ และไตรมาส 3 ที่ผ่านมาแล้วเดือนกว่านี้เรามองเห็นแนวโน้มแล้วว่า เราน่าจะทำได้ที่ระดับเดียวกันคือ 20% ซึ่งโตจากงวดเดียวกันของปีก่อนเหมือนสองไตรมาสที่ผ่านมาด้วย ” นางอำไพกล่าว
นางอำไพกล่าวว่า การที่ผลงานของบริษัทเติบโตเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ อาจเพราะการเปิดศูนย์โรคหัวใจ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่บริษัทก่อสร้างและดำเนินการเมื่อปี 48 ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ประกอบกับศูนย์กระดูกและข้อก็เปิดอย่างเป็นสัดส่วน ทำให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น และผู้ป่วยก็เข้ารักษาที่โรงพยาบาลด้วย เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนี้มีการรักษาแบบเฉพาะทางมากขึ้น
โดยปีนี้ TNH ยังเดินหน้าที่จะเปิดบริการในงานส่วนอื่นเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งปัจจุบันบริษัทยังมีแผนที่จะเปิดคลินิคบริการเพิ่มด้วยเพื่อความหลากหลายและรองรับความต้องการของผู้ป่วย โดยจะใช้เงินทุนหมุนเวียนจากการดำเนินงาน
ปัจจุบัน TNH มีเงินกู้ประมาณ 150 ล้านบาท แต่เป็นการกู้ยืมจากบริษัทในเครือ และอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 5% ซึ่งต่ำกว่าในตลาด และหลังจากที่บริษัทเพิ่มทุนเพื่อนำเงินไปใช้ในการชำระหนี้เงินกู้ ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E RATIO) ของบริษัทลดลงจาก 2.3 เท่าเหลือเพียง 1.2 เท่า บวกกับที่บริษัทมีรายได้ที่เติบโตต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม แม้มั่นใจว่าเป้าหมายของการเติบโตของรายได้จะต่อเนื่อง แต่ผลงานไตรมาส 2 ที่ TNH แจ้งเมื่อต้นเดือนมีนาคมปีนี้สิ้นสุด 31 มกราคม 49 ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 7.72 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 8.05 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้นยังเท่าเดิมที่ 5 สตางค์ ขณะที่งวด 6 เดือนมีกำไรสุทธิ 19.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 11.99 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มจาก 8 สตางค์เป็น 12 สตางค์ต่อหุ้น เมื่อเปรียบเทียบจะเห็นว่ากำไรในไตรมาส 2 ปีนี้ลดลง 1.09 % ขณะที่งวดครึ่งปีกลับเพิ่มขึ้นถึง 61.73%
ทั้งนี้ เมื่อไตรมาสแรกพบว่า บริษัทมีรายได้รวม 169.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.04 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 1 ปี 2548 บริษัทมีรายได้รวม 142.56 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการประกอบกิจการโรงพยาบาล 166.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.61 ล้านบาท ส่งผลให้ไตรมาสดังกล่าวบริษัทมีกำไรสุทธิ 11.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.72 ล้านบาท หรือเท่ากับ 195.44% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2548 ซึ่งบริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากับ 3.95 ล้านบาท เนื่องจากการเปิดศูนย์หัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการปรับปรุงพื้นที่ของโรงพยาบาล ซึ่งทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และส่งผลให้รายได้จากการประกอบกิจการโรงพยาบาลเฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้น ขณะที่การบริหารต้นทุนมีประสิทธิภาพส่งผลให้ต้นทุนการให้บริการลดลง
|
|
 |
|
|