|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ไทยเรยอน เซ็นสัญญาสัมปทานกับรัฐบาลลาว เพื่อดำเนินธุรกิจปลูกป่ายูคาลิปตัส และก่อสร้างโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ คาดใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้นกว่า 1.5 พันล้านบาท
นางมยุรี ณ รังศิลป์ เลขานุการบริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) หรือ TR แจ้งความคืบหน้าโครงการร่วมลงทุนในประเทศลาว ว่า เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2549 บริษัทได้ลงนามในสัญญาสัมปทานกับรัฐบาลประเทศลาว โดยตัวแทนจากคณะกรรมการวางแผนและการลงทุน (ซีพีไอ) เป็นผู้ร่วมลงนาม สาระสำคัญของสัญญาดังกล่าว 2 ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2548 ได้อนุมัติให้ TR ลงทุนในบริษัท เบอร์ล่า ลาว พัลพ์ และแพลทเทชั่น จำกัด ประเทศลาว มูลค่า 7.5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 310 บาท เพื่อดำเนินกิจการปลูกป่าต้นยูคาลิปตัส แล้วนำผลผลิตที่ได้มาผลิตเป็นเยื่อกระดาษ
สำหรับรายละเอียดของสาระสำคัญในสัญญาฉบับดังกล่าว ประเด็นแรก บริษัทและบริษัทในเครือเบอร์ล่าจากประเทศอินโดนีเซียและอินเดีย ร่วมลงนามในกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินจำนวน 50,400 เฮกเตอร์ (ประมาณ 315,000 ไร่) เป็นเวลา 75 ปี เพื่อพัฒนาและดำเนินการปลูกป่าจำนวน 3 แห่ง และสร้างโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ
ประเด็นที่สอง โครงการร่วมลงทุนแบ่งออกเป็น 2 เฟส คือ เฟสแรก ปลูกป่าในเฟสนี้ใช้เวลาประมาณ 7 ปี มูลค่าการลงทุน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการลงทุนโดยผู้ถือหุ้น 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยบริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 30 คิดเป็น 7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 310 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นการกู้ยืมอีก 25 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนเฟสที่ 2 โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ การลงทุนในเฟสที่ 2 จะขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของเฟสที่ 1 ว่าผลผลิตจากการปลูกป่ามีพัฒนาการที่ดีเพียงใด บริษัทจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตเยื่อกระดาษในปีที่ 6 ซึ่งโรงงานดังกล่าวมีกำลังการผลิต 200,000 ตันต่อปี โดยผลผลิตที่ได้จะนำใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นใยเรยอนต่อไป ผู้ใช้เยื่อกระดาษส่วนใหญ่คือผู้ถือหุ้น
สำหรับเงินลงทุนในเฟส 2 นี้ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการลงทุนโดยผู้ถือหุ้น 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเงินกู้ยืมอีก 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยบริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้น 30% คิดเป็นเงินลงทุนในเฟส 2 ประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินประมาณ 1,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ การลงทุนในเฟสที่ 2 จะต้องได้รับการอนุมัติและความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ผู้ถือหุ้น ตามข้อบังคับของบริษัทและตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ของข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อ 31 สิงหาคม 49 มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 60 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 เรื่องการเปลี่ยนแปลงนโยบายจ่ายเงินปันผล โดย คณะกรรมการได้มีมติให้แก้ไขข้อความนโยบายเงินปันผลดังนี้ การจ่ายเงินปันผลจะตัดจ่ายจากกำไรที่เป็นเงินสด หลังจากพิจารณาสำรองเงินเพื่อการดำเนินกิจการและการลงทุนตามความเหมาะสม
ข้อความดังกล่าวได้เปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี 2548 ซึ่งจัดส่งให้ผู้ถือหุ้น และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ซึ่งได้จัดส่งให้หน่วยงานกำกับดูแลคือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ กลต. ตลอดจนได้จัดส่งข้อมูลทางออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อทราบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548ที่ผ่านมา
ขณะที่ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกสิ้นสุด 31 ธันวาคม 49 พบว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 231.42 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 441.22 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิต่อหุ้น 11.48 ล้านบาท ส่วนงวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 21.89 ล้านบาท เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้น(พาร์) จาก 10 บาทเหลือ 1 บาทเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้
|
|
 |
|
|