Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 มีนาคม 2549
เทรนชูไฟติ้งโมเดลสู้ศึกหน้าร้อนตลาดพาณิชย์วูบ-ทุ่ม500ล.ขยายแอร์เล็ก             
 


   
www resources

โฮมเพจ เทรน (ประเทศไทย)

   
search resources

เทรน (ประเทศไทย), บจก.
Marketing
Electric




“แอร์เทรน” ทุ่ม 500 ล้านบาท ย้ายโรงงานใหม่เพื่อขยายกำลังผลิตเพิ่ม 2 แสนยูนิตต่อปี ระบุสถานการณ์การเมืองพ่นพิษ โครงการเมกกะโปรเจกต์สะดุด กระทบตลาดเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์หดตัว เบนเข็มรุกตลาดเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก ทุ่มงบตลาด 60 ล้านบาท ล่าสุดเปิดตัวไฟติ้งโมเดล ทริปเปิ้ล อี สู้ศึกหน้าร้อน สิ้นปีรายได้ 4,000 ล้านบาท โต 10%

นายสุริชัย ภัทรกิจนิรันดร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทรน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศยี่ห้อเทรน เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ทุ่มงบลงทุนเครื่องจักรและโรงงานใหม่ 500 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กและขนาดกลางเพิ่มเป็น 2 แสนยูนิตต่อปี จากเดิมที่ผลิตได้ 1 แสนยูนิตต่อปี โดยโรงงานใหม่แห่งนี้ตั้งอยู่ที่บางนาตราด ขนาดพื้นที่ 20 ไร่ ซึ่งบริษัทฯได้ย้ายจากโรงงานเดิมตั้งอยู่ที่ อำเภอปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่เพียง 12 ไร่

ทั้งนี้คาดว่าโรงงานแห่งใหม่จะแล้วเสร็จในปลายปีนี้ และจะเริ่มต้นผลิตได้ในต้นปีหน้านี้ โดยกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น บริษัทฯจะเน้นตอบสนองความต้องการภายในประเทศสัดส่วน 90% ส่วนที่เหลืออีก 10% จะเน้นส่งออกไปยังประเทศยุโรป ตะวันออกกลาง และประเทศในแถบอินโดจีน โดยคาดว่าปีนี้สัดส่วนรายได้จากการส่งออกจะเพิ่มเป็น 20% ขณะที่ภายในประเทศ 80%

แนวโน้มตลาดเครื่องปรับอากาศคิดเป็นมูลค่า 18,000 ล้านบาท ปีนี้มีอัตราการเติบโต 10% โดยภาวะตลาดเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมมูลค่า 4,000 ล้านบาท ปีนี้มีอัตราการขยายตัวลดลง โดยโตเพียง 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาโต 10% ทั้งนี้เป็นเพราะได้รับผลกระทบการชะลอโครงการเมกกะโปรเจกต์ สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ชัดเจน ขณะที่สภาพตลาดเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กมูลค่า 14,000 ล้านบาท ยังมีอัตราการเติบโต 20% หรือคิดเป็นจำนวน 7 แสนเครื่อง

ดังนั้นนโยบายการตลาดปีนี้ บริษัทฯหันมาให้ความสำคัญการทำตลาดเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กในเชิงรุกมากขึ้น ล่าสุดเปิดตัวไฟติ้งโมเดลเครื่องปรับอากาศรุ่น”ทริปเปิ้ล อี” ลงสู่ตลาด โดยมีจุดขายในเรื่องของเครื่องปรับอากาศราคาประหยัด โดยบริษัทฯได้วางราคาจำหน่ายทริปเปิ้ล อี ไว้ที่ 1.6 หมื่นบาท สำหรับขนาด 9,000 บีทียู และราคา 1.89 หมื่นบาทในขนาด 12,000 บีทียู ซึ่งมีราคาถูกกว่าเครื่องปรับอากาศในระดับบนจีนีโอของบริษัทฯอยู่ประมาณ 15-20%

“ตลาดแอร์ในประเทศยังเติบโตได้ดี เนื่องจากภาวะอากาศร้อน และการแข่งขันของผู้ประกอบการที่แข่งกันในเรื่องของราคา ทำให้แนวโน้มของราคาเครื่องปรับอากาศลดลงเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 10% ทำให้แม้ว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง แต่ก็สามารถซื้อเครื่องปรับอากาศได้ ซึ่งทำให้สามารถขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น อีกทั้งปีนี้มีแนวโน้มว่าคู่แข่งหน้าใหม่จะเข้ามาสู่ตลาดเครื่องปรับอากาศ อาทิ แบรนด์จากจีน เกาหลี และไทย เป็นต้น”

ทั้งนี้บริษัทฯจะใช้งบทำตลาด 60 ล้านบาท แบ่งเป็นการสื่อโฆษณา 60% และกิจกรรมอีก 40% โดยจะใช้แนวทางการสื่อสารการตลาดภายใต้แนวคิด แอร์เทรน เย็นใจไม่ทอดทิ้ง ที่เน้นในเรื่องของบริการหลังการขายที่บริษัททำมาอย่างต่อเนื่องตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา สำหรับการจัดกิจกรรมนำร่องในช่วงเดือนพฤษภาคม บริษัทฯได้อิงกระแสฟุตบอลโลก 2006 ด้วยการทำประชาสัมพันธ์ให้เข้ากับกระแส โดยคาดว่าในช่วงหน้าร้อนนี้ เครื่องปรับอากาศรุ่นทริปเปิ้ล อี จะมียอดขายหมื่นยูนิต

สำหรับผลประกอบการปีนี้ บริษัทฯตั้งเป้ามีอัตราการเติบโต 10% หรือมีรายได้ 4,000 ล้านบาท จากในปีที่ผ่านมามีรายได้ 3,650 ล้านบาท เติบโต 14% เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะมีรายได้เพียง 3,500 ล้านบาท สัดส่วนรายได้แบ่งเป็น เครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก 50% ซึ่งบริษัทมีส่วนแบ่ง 8-9% ส่วนเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมสัดส่วนรายได้ 50% มีส่วนแบ่ง 35% เป็นผู้นำตลาด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us