Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2540
"โอเรียนทอล พริ้นเซส" อีกทางเลือกหนึ่งของคนภูธร             
โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
search resources

โอเรียนทอล พริ้นเซส
อดิศรา วัลลศิริ
Cosmetics




โอเรียนทอล พริ้นเซส ฉลองครบรอบ 7 ปี เปิดขายแฟรนไชส์ขยายสาขาสู่ต่างจังหวัด สร้างฐานสมาชิกเพิ่มขึ้นกว่า 50,000 ภายในปี'41 พร้อมเน้นไดเร็กต์มาร์เก็ตติ้ง เพื่อรักษามาร์เก็ตแชร์ไว้

"กลับไปตายรัง" คำกล่าวนี้ดูเหมือนจะใช้ได้ดีกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน จากเดิมที่แรงงานจากทั่วทุกสารทิศของประเทศไทยต่างหลั่งไหลเข้ามาแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันในเมืองกรุง แต่วันนี้ทุกสิ่งทุกอย่างกำลังจะกลับเข้าสู่สามัญ คนจำนวนมากที่แห่แหนกันเข้ามาทำงานในเมืองหลวงต่างก็ประสบชะตากรรม "ถูกลอยแพ" ร่วมกัน

อย่างไรก็ดี วิกฤติการณ์ในครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่คนเหล่านี้จะกลับไปสร้างอาชีพยังถิ่นฐานเดิมของตน การเป็นเจ้าของกิจการ "โอเรียนทอล พริ้นเซส" จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่อกหักจากเมืองกรุง

โอเรียนทอล พริ้นเซส เป็นผลิตภัณฑ์ประทินความงามที่ผลิตจากสารสกัดจากธรรมชาติล้วนๆ ที่ดูแลผิวพรรณตั้งแต่หัวจรดเท้า โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 4 หมวดด้วยกันคือ หมวดดูแลเส้นผม (hair care) หมวดดูแลผิวกาย (body care) หมวดดูแลผิวหน้า (facial care) และหมวดสินค้าอื่นๆ (life style)

โอเรียนทอล พริ้นเซส เป็นธุรกิจที่ดำเนินการในรูปแบบของ Retail Business ที่แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ รูปแบบ shop หรือ corner ในห้างสรรพสินค้า และ stand alone shop ตามย่านธุรกิจต่างๆ

ปัจจุบันโอเรียนทอลฯ มีจุดขายทั้งสิ้น 51 สาขาทั่วประเทศ และยังมีจุดขายในต่างประเทศอีกกว่า 10 ประเทศ ซึ่งสาขาทั้งหมดเหล่านั้นทางโอเรียนทอลฯ เป็นผู้ดูแลและดำเนินการเองทั้งสิ้น

ปี'40 เป็นปีที่ดอเรียทอลฯ ดำเนินธุรกิจมาครบ 7 ปี และกำลังจะก้าวเข้าสู่ปีที่ 8 ซึ่งในปี'41 ที่จะถึงนี้ ทางบริษัทโอ.พี.เนชัลรัล โปรดักส์ บริษัทในเครือเอสเอสยูพีกรุ๊ป ในฐานะผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ภายใต้ชื่อ "โอเรียนทอล พริ้นเซส" ได้มีนโยบายที่จะขยายสาขาไปสู่ต่างจังหวัดในรูปแบบของการขาย franchise

"หลังจากที่เราดำเนินการมาเป็นเวลา 7 ปี การดำเนินงานทุกอย่างของเราก็เป็นระบบมากขึ้น นับตั้งแต่การเซ็ตระบบคอมพิวเตอร์ การจัดระบบการสั่งสินค้า การจัดระบบสต็อกสินค้า รวมทั้งระบบการสั่งสินค้าเพื่อให้โรงงานผลิต ดังนั้นเมื่อการทำงานของเราเป็นระบบแล้วเราจึงเริ่มรุกเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ซึ่งเราจะเน้นขายเฉพาะในต่างจังหวัดเท่านั้นส่วนร้านในกรุงเทพฯ เรายังคงเป็นผู้ดำเนินการเอง" อดิศรา วัลลศิริ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดในส่วนผลิตภัณฑ์โอเรียนทอล พริ้นเซส ของโอ.พี.เนชัลรัล โปรดักส์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่สนใจเป็นเจ้าของกิจการ "โอเรียนทอล พริ้นเซส" ต้องเป็นบุคคลในท้องถิ่นนั้นๆ เนื่องจากจะเป็นผู้ที่รู้จักความต้องการของตลาดนั้นๆ ดี และควรมีพื้นที่ที่อยู่ในทำเลที่ดีที่เป็นของตัวเอง เพื่อประหยัดเงินลงทุนในส่วนของการเช่าพื้นที่

ซึ่งหากต้องการเปิดร้านเป็นลักษณะ stand alone shop ก็ต้องเป็นตึกแถวย่านใจกลางเมืองที่มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 4 x 12 ตารางเมตร หรืออาจจะไปเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า เพื่อเปิดเป็น shop หรือ corner โดยมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 20 ตารางเมตร

ส่วนเงินลงทุนเบื้องต้นนั้น ทางบริษัทฯ ได้กำหนดไว้ที่ประมาณ 1.5 ล้านบาท ซึ่งจะครอบคลุมค่าตกแต่งร้านภายใน ค่าที่ปรึกษาทางการตลาด และค่าสินค้าในล็อตแรกเท่านั้น และอดิศราได้กล่าวว่า เงินลงทุนจำนวน 1.5 ล้านบาทนี้ถือว่าน้อยมากสำหรับการทำธุรกิจประเภทนี้ และเป็นราคาที่ทางบริษัทให้ข้อเสนอพิเศษที่จะยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี และไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ในช่วงแรกนี้ด้วย

เงินลงทุน 1.5 ล้านบาทนี้จะแบ่งเป็นค่าตกแต่งร้านภายในประมาณ 600,000-700,000 บาท (กรณีที่มีสถานที่พร้อมอยู่แล้ว และไม่รวมค่าเช่าที่) ค่าที่ปรึกษาทางการตลาดประมาณ 50,000 บาทในปีแรก และ 40,000 บาทในปีต่อๆ ไป (อายุสัญญา 5 ปี) ส่วนที่เหลือก็จะเป็นค่าสินค้าในขั้นต้น ซึ่งจะต้องมีให้เต็มร้านในช่วงเปิดร้านอีกประมาณ 700,000 บาท

เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกันของร้านโอเรียนทอลฯ ทุกสาขา ทางบริษัทแม่จึงกำหนดให้ทุกสาขาปฏิบัติตามระเบียบเช่นเดียวกัน นับตั้งแต่การตกแต่งร้านต้องเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด การทำโปรโมชั่นในช่วงต่างๆ ก็ต้องทำพร้อมกัน รวมไปถึงจำนวนพนักงานและการสต็อกสินค้าซึ่งทางบริษัทแม่ได้กำหนดส่วนของ fixed stock ไว้ต้องไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ขณะเดียวกันก็ให้สิทธิในแต่ละสาขาในการสั่งสินค้าชนิดที่เป็นที่นิยมของตลาดนั้นๆ ได้ด้วย โดยที่ไม่ต้องไปแบกรับภาระสินค้าคงเหลือที่ไม่เป็นที่นิยมของตลาดนั้นไว้

"อย่าลืมว่าบริษัทของเราไม่ได้ดำเนินธุรกิจ franchise 100% ร้านในกรุงเทพฯ ยังเป็นของเราเองและถือเป็นที่มาของรายได้หลักด้วย ดังนั้นถ้าเราไม่คุมมาตรฐานในต่างจังหวัดให้เป็นมาตรฐานเดียวกับในกรุงเทพฯ แล้ว ในอนาคตอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของเราได้ นโยบายของเราคือ ต้องการสร้างภาพลักษณ์ของเราได้ นโยบายของเราคือ ต้องการสร้างภาพลักษณ์ของเราไปพร้อมๆ กับการเติบโตของบริษัท" นักการตลาดสาวกล่าว

สำหรับเป้าการขาย franchise ในปี'41 ที่จะถึงนี้ ทางบริษัทคาดว่าจะสามารถอนุมัติได้ 5 ราย แต่เนื่องจากประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ จึงทำให้ผู้ที่มาติดต่อชะลอโครงการไปก่อน อย่างไรก็ดี ภายในต้นปีหน้านี้โอเรียนทอลฯ จะประเดิมศักราชใหม่ด้วยการเปิดตัวสาขาใหม่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งถือเป็น franchise รายแรกของบริษัทด้วย

"ปีหน้าเราจะพยายามเปิดให้ได้ 5 ราย ทั้งนี้ต้องดูศักยภาพความเป็นไปได้ก่อน เพราะเราเชื่อว่าผลกระทบจากเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ ได้ส่งผลไปยังต่างจังหวัดด้วย แต่เราก็ยังมีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจของเรายังสามารถเติบโตได้อย่างดี เนื่องจากว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อยอดขายของเราที่ลดลง แต่ก็ไม่ได้ลดลงอย่างน่าใจหายชนิดที่จะกระทบกระเทือนต่อบริษัท เราไม่ขาดทุนเพียงแต่กำไรเราลดลงจากการที่ต้นทุนสินค้าเราเพิ่มขึ้นเท่านั้น" อดิสราชี้แจงและกล่าวถึงสัดส่วนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์โอเรียนทอลว่า 30% เป็นวัตถุดิบที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และ 70% เป็นวัตถุดิบที่ได้จากภายในประเทศ ส่วนบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นของที่สามารถผลิตได้ในประเทศทั้งสิ้น 100%

"เราพยายามจะใช้ของภายในประเทศให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าเป็นวัตถุดิบหลักที่มีความจำเป็นจริงๆ อย่างเช่น หัวน้ำหอม ที่เราจำเป็นต้องนำเข้าจากฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความชำนาญด้านน้ำหอมอย่างแท้จริง เราจะดูว่าประเทศไหนมีความชำนาญในด้านไหน เราก็จะนำเข้ามาจากประเทศนั้น ส่วนวัตถุดิบที่เป็น base เราก็สามารถผลิตได้เองจึงทำให้เราไม่ต้องแบกภาระต้นทุนสูงนี้มากนัก"

"โอเรียนทอล พริ้นเซส" สร้างชื่อไทยในต่างแดน

ทางบริษัทฯ มีนโยบายออกไปตั้งจุดขายโอเรียนทอลฯ ในต่างประเทศตั้งแต่ 3 ปีที่แล้วจวบจนปัจจุบัน โอเรียนทอลฯ มีสาขาอยู่ในต่างประเทศกว่า 10 ประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน เยอรมนี เกาหลี และโปรตุเกส เป็นต้น และกำลังจะเปิดสาขาล่าสุดที่รัฐโอมาน ตะวันออกกลาง

ส่วนการลงทุนที่จีนนั้นอดิศราได้ชี้แจงว่า "การลงทุนที่จีนเป็นการร่วมทุนระหว่างเอสเอสยูพีกรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเรา กับเจียไต๋ของกลุ่มซีพี ในสัดส่วน 50 : 50 โดยมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เพื่อตั้งโรงงานผลิตเครื่องสำอางที่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งขณะนี้ก็ได้ทำการผลิตและจำหน่ายแล้วภายใต้ยี่ห้อ La Fontain เป็นการจำหน่ายในลักษณะของไดเร็กต์เซลส์ และในปีหน้านี้เราก็มีแผนที่จะผลิตและจำหน่ายสินค้าของโอเรียนทอลฯ ที่นั่นในรูปแบบของ shop และ corner ตามมาตรฐานของเราสิ่งที่เราคำนึงถึงในการส่งสินค้าของเราไปจำหน่ายในต่างประเทศก็คือ ต้องใช้ชื่อของ 'โอเรียนทอล พริ้นเซส' และต้องมีคำว่า made in Thailand ด้วย"

เน้นไดเร็กต์มาร์เก็ตติ้ง เจาะกลุ่มลูกค้าประจำ

จากคอนเซ็ปต์ที่ไม่เหมือนใคร ทำให้ผลิตภัณฑ์ของโอเรียนทอลฯ ได้รับการตอบรับจากตลาดค่อนข้างดี แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่เริ่มมีผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันที่เป็นแบรนด์จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในไทยมากขึ้น อาทิ บอดี้ชอป เรดเอิร์ธ รวมทั้งผผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบจำนวนมากก็ไม่ได้ส่งผลกระทบให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของโอเรียนทอลฯ ลดลง ซึ่งปัจจุบันโอเรียนทอลฯ มีส่วนแบ่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สารสกัดจากธรรมชาติประมาณ 60% และมียอดขายเฉลี่ยต่อปีประมาณ 400 ล้านบาท โดยในสิ้นปีนี้ทางบริษัทฯ คาดว่ายอดขายของโอเรียนทอลฯ จะเติบโตขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 17% หรือคิดเป็นยอดขายรวมประมาณ 360 ล้านบาท จากเดิมที่ได้ประมาณการไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วคาดว่าจะโตขึ้นประมาณ 30% แต่มาเจอพิษเศรษฐกิจทำให้ต้องลดเป้าลงมา แต่อย่างไรก็ตามยอดขายก็ยังคงเติบโตกว่าปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 300 ล้านบาท

"สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต เราคิดว่าถ้ารัฐบาลยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจน ปีหน้าอาจจะหนักกว่าปีนี้ แต่เราก็ได้วางแผนการตลาดชนิดเข้ม เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และเราเชื่อว่ายอดขายของเราจะไม่ตกลงมากนัก เนื่องจากเราได้มีการขยายจุดขายไปยังต่างจังหวัด และเราเชื่อว่าลูกค้าที่ต้องการสินค้าเรายังมีอยู่อีกมาก" อดิศรากล่าวและเล่าถึงแผนการตลาดของโอเรียนทอลฯ ในปลายปีนี้ตลอดจนปีหน้าด้วยว่า

ในช่วงปลายปีสินค้าของโอเรียนทอลฯ จะขายดีมากเนื่องจากคนนิยมซื้อเป็นชุดของขวัญสำหรับปีใหม่ แต่ในปีนี้ทางบริษัทฯ ได้มีการรับมือกับกำลังซื้อที่จะลดลงของลูกค้าจึงได้คิดแคมเปญ "ชุดของขวัญขนาดเล็ก" คือ จ่ายเงินน้อยแต่ได้ของใหญ่และดูดีได้ในราคาที่ไม่แพงและยิ่งไปกว่านั้นยังได้มีการสมนาคุณเป็นของขวัญชิ้นพิเศษจากโอเรียนทอลฯ ทันทีที่ซื้อชุดของขวัญจากทางร้าน ซึ่งของขวัญชิ้นพิเศษนี้ลูกค้าสามารถนำไปให้คนต่อไปได้

"จากเดิมที่เราต้องการจะให้ของขวัญคน 20 คน เราก็ต้องจ่ายเงิน 20 ครั้ง แต่ที่โอเรียนทอลฯ คุณจะจ่ายเพียงแค่ 10 ครั้งก็สามารถให้ของขวัญคนได้ถึง 20 คน ถือเป็นการประหยัดอย่างมาก" นักการตลาดสาวกล่าว

นอกจากนั้นเธอยังเผยถึงแผนการตลาดนับตั้งแต่ตอนนี้จนถึงปีหน้าด้วยว่า จากงบประมาณที่จำกัด ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลเกิน 100% ต่อไปนี้แผนการตลาดของโอเรียนทอลฯ จะเน้นที่การทำไดเร็กต์มาร์เก็ตติ้งให้มากขึ้น เนื่องจากโอเรียนทอลฯ มีจุดแข็งในเรื่องของฐานลูกค้าที่เป็นสมาชิกกว่า 100,000 รายทั่วประเทศ

"ปัจจุบันเรามีฐานลูกค้าสมาชิกกว่า 100,000 ราย และในปลายปีหน้าเราคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 ราย จากการที่เราขยายสาขาสู่ต่างจังหวัดใหม่มากขึ้น ฐานลูกค้าเราก็จะใหญ่ขึ้นและเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราจริงๆ แผนการตลาดของเราจึงต้องเน้นกลุ่ม royal customer เหล่านี้ โดยใช้วิธีไดเร็กต์มาร์เก็ตติ้ง เพื่อเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากขึ้นและเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่กลุ่มลูกค้าประจำของเราก่อน"

ทั้งนี้ในส่วนของผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยเน้นคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น นอกจากที่โอเรียนทอลฯ เท่านั้น นอกจากที่โอเรียนทอลฯ เท่านั้น ขณะเดียวกันหากสินค้าของโอเรียนทอลฯ เหมือนกับสินค้าที่วางอยู่ในท้องตลาด แต่คุณภาพของสินค้าจากโอเรียนทอลฯ จะต้องดีกว่า ซึ่งอดิศรารับประกันว่า โอเรียนทอลฯ เป็นสินค้าที่คุ้มค่าแก่ราคาและคุณภาพที่ใช้แล้วไม่แพ้และระคายเคืองโดยในปัจจุบันโอเรียนทอลฯ มีสินค้ามากกว่า 500 SKU

ยิ่งไปกว่านั้นทางบริษัทฯ ระลึกอยู่เสมอว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ควรจะมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อการสูญเสียของสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการจัดโครงการเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้น ได้แก่ โครงการ recycle ซึ่งทางบริษัทฯ จะรับคืนบรรจุภัณฑ์ของโอเรียนทอลฯ ที่ใช้แล้วนำกลับมาแปรสภาพเป็นเครื่องใช้อื่น เพื่อจำหน่ายและนำรายได้มอบแก่กองทุนเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

โครงการ refill เป็นการจัดบริการเติมเนื้อสินค้าลงในบรรจุภัณฑ์เปล่า เพื่อลดความสิ้นเปลืองของทรัพยากรและลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของซากขยะทับถม

โครงการ reuse รณรงค์ให้หยุดการใช้ถุงพลาสติกที่ยากต่อการย่อยสลายและทำลายพร้อมจัดทำถุงผ้าที่ผลิตจากเส้นใยที่ไม่ผ่านการฟอกย้อมมาใช้แทน

โครงการ reduce เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยลดบรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นบางประเภทออก

"โอเรียนทอล พริ้นเซส เป็นผลิตภัณฑ์ประทินความงามที่พิถีพิถันในทุกขั้นตอนการผลิตภายใต้กระบวนการที่ทันสมัย นับตั้งแต่การเลือกชนิดของพันธุ์ไม้ที่ผ่านการควบคุมคุณภาพและตรวจสอบอย่างใกล้ชิดจากนักชีวเคมีผู้เชี่ยวชาญ ทำให้มั่นใจว่าสินค้าของเราจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการใช้และสภาพแวดล้อมของโลก ซึ่งเราก็ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลกให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ผลิตขึ้นโดยฝีมือคนไทยอย่างแท้จริง" อดิศรากล่าวอย่างภูมิใจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us