|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
MFC สะบัดธงนำ ออกกองทุนใหม่ "โกลบอล สมาร์ทฟันด์"ลงทุนต่างประเทศ เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและความผันผวนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ ณ ปัจจุบัน อันเกิดจากผลทางการเมือง และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยRP/14วันขยับขึ้น การขยายช่องทางลงทุนต่างประเทศเป็นการกระจายความเสี่ยง และด้วยเครือข่ายพันธมิตรของ MFCที่มีหลากหลายจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยบริหารจัดการกองทุน
ปัจจัยเรื่องการเมืองกลายเป็นปัญหาที่สร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้น ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนสูงนักลงทุนเริ่มชะลอการลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจนของการเมือง ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เสน่ห์ของตลาดหุ้นจางลง
ไม่เพียงตลาดหุ้นเท่านั้น ในตลาดตราสารหนี้ ความน่าสนใจในการลงทุนก็เริ่มเสื่อม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย RP/14 วันของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้มีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งหมายถึงผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดตราสารหนี้นั้นเริ่มไม่น่าสนใจอีกต่อไป
ในยามที่ช่องทางการลงทุนทั้งหลายถูกเมฆครึ้มบดบังไร้แสงแห่งความหวัง กองทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศจะกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ เพราะไม่เพียงเพื่อกระจายความเสี่ยงในการลงทุนแต่ยังสร้างโอกาสในการเพิ่มผลตอบแทนให้ผู้ลงทุนด้วย เพราะกล่าวได้ว่าในยามที่ประเทศไทยต้องเผชิญความเสี่ยงที่ไม่แน่นอนทางการเมืองจนส่งผลกระทบต่อการลงทุน แต่ในบางประเทศไม่ได้เป็นเช่นนั้นทำให้ความผันผวนจากการลงทุนมีความเสี่ยงน้อยกว่า
พิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่าด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน บริษัทจึงได้เพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนด้วยการออกกองทุน โกลบอล สมาร์ทฟันด์ (MGS) เพื่อลงทุนในต่างประเทศโดยเน้นลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมประเภทอื่น ๆ เช่น กองทุนที่อิงกับราคาทองคำ น้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการลงทุนในค่าเงินดอลลาร์
หรือกล่าวได้ว่า MGS เน้นลงทุนในอินเด็กซ์ต่าง ๆ ของแต่ละประเภท อย่าง อินเด็กซ์ตลาดน้ำมัน ตลาดทองคำ หรือในอินเด็กซ์ตลาดหุ้นเกิดใหม่อย่างบราซิล เป็นต้น
ซึ่งการลงทุนในค่าเงินดอลลาร์ก็คือการเฮจด์ค่าเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ แต่การจะทำหรือไม่นั้นก็ต้องดูจังหวะที่เหมาะสมด้วยว่าค่าเงินบาทอ่อนหรือแข็ง ถ้าค่าเงินบาทอ่อนดอลลาร์แข็งก็ถือไว้ไม่ต้องทำการเฮจด์ค่าเงิน อีกทั้งกระบวนการทำแต่ละครั้งก็มีต้นทุน ดังนั้นเวลาลงทุนในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ทางMFC ก็ต้องเลือกในจังหวะที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน
พิชิต บอกอีกว่า แม้กองทุนดังกล่าวจะช่วยกระจายความเสี่ยงก็จริง แต่ผู้ที่จะลงทุนในกองทุน MGS จะต้องรับความเสี่ยงในระดับหนึ่งได้ ขณะเดียวกันก็ต้องมีความรู้และเข้าใจในการลงทุนตราสารทุนและตราสารหนี้ด้วยเนื่องจาก MGS จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง
ศุภกร สุนทรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัยและกลยุทธ์/ฝ่ายวิศวกรมการเงิน เล่าถึงรูปแบบการบริหารกองทุน MFC ว่า เป็นแบบTruly active ซึ่งหมายถึงความแม่นยำในเลือกหลักทรัพย์ที่ลงทุน ด้วยประสิทธิภาพของระบบ TERMINUS และพันธมิตรต่างประเทศที่ทำธุรกิจคู่กันมานานจะเป็นสะพานเชื่อมข้อมูลหลักทรัพย์จากทั่วโลกที่ MGS สนใจเข้าไปลงทุน
"TERMINUS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุน เราจะเห็นว่าปกติกองทุนแต่ละประเภทจะมีผู้จัดการกองทุนดูแลอยู่แต่เนื่องจาก MGS เป็นกองทุนที่ลงทุนในหลักทรัพย์หลากหลาย ดังนั้นจึงไม่สามารถให้ผู้จัดการกองทุนคนใดคนหนึ่งดูแลได้ แต่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากผู้จัดการกองทุนในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้วนตลาดทุน ตราสารหนี้ หรือทองคำเป็นต้น"
ศุภกร บอกว่าMGS จะมีทีมเฉพาะด้านเข้ามาช่วยในการดูแล และให้ข้อมูล แต่การตัดสินใจจะลงทุนในหลักทรัพย์ตัวหนึ่งตัวใดนั้นอยู่ที่ ระบบ TERMINUS ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของกองทุน ที่จะทำหน้าที่วิเคราะห์เชิงปริมาณที่แต่ละทีมส่งข้อมูลเข้ามา และระบบดังกล่าวจะประเมินเป็นสถิติเพื่อหาข้อมูลที่เชื่อถือได้มากที่สุดออกมาเป็น 1สัญญาณ
"ระบบนี้ทำให้เรารู้ว่า ณ เวลานี้ควรลงทุนในหลักทรัพย์ตัวไหน และต้องแจกจ่ายกระจายการลงทุนอย่างไร เพื่อสร้างผลตอบแทนออกมาให้ดีที่สุด และด้วยรูปแบบกองทุนที่สามารถจัดสรรการลงทุนในแต่ละหลักทรัพย์ได้ 0-25% ทำให้โอกาสการสร้างผลตอบแทนมีมากขึ้น"
กระนั้นก็ตามไม่เพียงแค่ระบบ TERMINUS ที่นำมาช่วยในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ แต่พันธมิตรในต่างประเทศก็เป็นเครือข่ายสำคัญที่ทำให้ MFCได้รับข้อมูลข่าวสารจากทั่วประเทศก่อนตัดสินใจลงทุน
ศุภกร เล่าว่า พันธมิตรต่างประเทศที่MFCร่วมงานมีหลายหน่วยงาน ซึ่งเป็นการทำงานแบบบริหารร่วมกันหรือให้คำปรึกษา ทำให้MFC เห็นว่าผลจากการที่เคยทำงานร่วมกันนั้นเป็นโอกาสของบริษัท ดังนั้นไม่ว่ากองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ Foreign Investment Funds (FIF) หรือกองทุนที่มีทุนมาจากต่างประเทศ (Country Fund) ที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการMFC ล้วนแล้วแต่สร้างประสบการณ์ให้บริษัทในการบริหารกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ
สำหรับMFC เคยออกกองทุนFIF มาแล้ว 3 กองทุน คือ MFC Global Equity Fund (MGE) MFC Global Opportunity Bond Fund (MGB) MFC Global Alpha Fund (MGA)และล่าสุด MFC Global Smart Fund- MGS เป็นกองทุนที่ 4 เป็นกองทุนเปิดที่มีมูลค่า 600 ล้านบาท เริ่มขายในวันที่ 13-28 มีนาคมนี้
ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2548 กองทุน FIF ที่ลงทุนต่างประเทศมีอยู่ทั้งสิ้น 33 กองทุน จาก 15 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน โดยรวมเม็ดเงินสุทธิของ 33 กองทุนรวมFIFอยู่ที่ 8,350,884,467 บาท มูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) 31,662 ล้านบาท
ศุภกร วิเคราะห์ว่า ในอนาคต กองทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้น และเป็นทิศทางที่ บลจ.หลายแห่งเริ่มศึกษาและให้ความสนใจ ไม่ใช่เพราะเพื่อเพิ่มทางเลือกและกระจายความเสี่ยงให้ผู้ลงทุนเท่านั้น แต่เป็นสัญญาณว่าธุรกิจจัดการกองทุนกำลังพัฒนาไปข้างหน้า การสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการแข่งขันที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเสรีภาคบริการ
ยามนี่นักลงทุนที่มีทุนหนาอาจคลายความกังวลเพราะมีทางเลือกการลงทุนเพิ่มขึ้น เพราะในยามนี้บรรยากาศของประเทศไทยไม่เอื้อต่อการลงทุนยิ่งนัก และนั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ MFC ไม่พลาดที่จะมองวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการออกกองทุนเพื่อไปลงทุนต่างประเทศ
|
|
 |
|
|