Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2540
สหชลพืชผลใช้กลยุทธ์ "บุก" ขายทั่วโลก             
 


   
search resources

สหชลพืชผล
สุรัช พัฒนวงศ์ยืนยง




ภาวะอย่างนี้สินค้าเกษตรดูจะเป็นที่พึ่งที่หวังของเกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรได้เป็นอย่างดี เพราะสินค้าใดก็ตามที่ขายในประเทศหรือส่งออกขายต่างประเทศถ้าต้นทุนทางการผลิตไม่พึ่งพิงปัจจัยจากต่างประเทศแล้วย่อมส่งผลดีทั้งสิ้น

สหชลพืชผลอยู่ในข่ายนั้นเพราะทำธุรกิจด้านการเกษตรมาร่วม 20 ปี ช่วง 10 ปีแรกคลุกคลีอยู่กับขิงและแตงกวา ทำจนกระทั่งสามารถผลิตขิงดอง และแตงกวาดอง ขายชาวญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าตำรับเองจนเป็นที่ยอมรับในคุณภาพ

ตัวเลขส่วนแบ่งตลาด 20% ในตลาดผักดองของญี่ปุ่นที่มีมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท หรือ 60% ในตลาดสหรัฐอเมริกา และเกือบทุกร้านและภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยที่ต่างใช้ผลิตภัณฑ์ผักดองของสหชลพืชผลคงเป็นสิ่งที่ยืนยันความสามารถได้

"เรากล้าพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า ไม่ว่าคุณไปทานผักดองที่ไหนๆ ในประเทศไทย ทั้งขิงดอง แตงกวาดอง ล้วนมาจากบริษัทเราทั้งนั้น" สุรัช พัฒนวงศ์ยืนยง กรรมการผู้จัดการ กล่าว

เมื่อธุรกิจผักดองเริ่มอยู่ตัวอย่างสม่ำเสมอประกอบกับการได้คบค้ากับชาวญี่ปุ่น และสังเกตเห็นว่าชาวญี่ปุ่นอายุยืน และพบสาเหตุว่าชาวญี่ปุ่นมีการบริโภคอาหารชนิดหนึ่งที่แตกต่างจากชนชาติอื่นและช่วยให้อายุยืน นั่นคือ หัวบุก

หัวบุก คนไทยเรียก กะบุก หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียก คอนนิยากุ เป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายๆ กับหัวมันสำปะหลัง แต่ก็ไม่เชิงว่าจะอยู่ในตระกูลเดียวกันเสียทีเดียว

พืชดังกล่าวนี้มีสรรพคุณในระบบทางเดินอาหารเพราะเป็นพืชที่มีเส้นใยจึงช่วยระบายได้ดี นอกจากนั้นคุณสมบัติอีกประการคือ สามารถดูดซับน้ำตาลและไขมันส่วนเกินออกจากร่างกายไปได้ ทำให้ไม่เกิดการสะสมของน้ำตาลและไขมันจนทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งเหมาะกับคนที่ต้องการลดปริมาณน้ำตาลในเลือดอย่างโรคเบาหวานหรือต้องการควบคุมน้ำหนัก

ด้วยสรรพคุณของหัวบุกเองและกระแสความนิยมในเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพทำให้บริษัทในเครือสหพัฒนพิบูลอย่างสหชลฯ เล็งเห็นโอกาสที่จะพัฒนาหัวบุกมาเป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นสินค้าสำคัญของบริษัทนอกเหนือจากผักดองที่มีอยู่

หลังจากศึกษาค้นคว้ากันพอสมควร จึงได้รู้ว่าในประเทศไทยเองก็มีแหล่งที่หัวบุกเจริญเติบโตได้เช่นกัน คือที่ แม่ฮ่องสอน และพันธุ์ที่มีในเมืองไทยเป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดเพราะโตเร็ว หัวใหญ่ เส้นใยได้คุณภาพและปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งหมายถึงประโยชน์ในทางธุรกิจด้วยเช่นกัน

10 ปีที่ผ่านมาหัวบุก ถูกนำมาส่งขายในรูปผงบุก ที่ได้จากการนำหัวบุกที่โตเต็มที่ มาอบด้วยวิธีการและอุณหภูมิที่พอเหมาะ จากนั้นก็นำมาบดจนเป็นผงแล้วจึงส่งขาย

หรือมิฉะนั้นก็จะนำผงบุกที่ได้ไปผ่านกรรมวิธีออกมาให้เป็นเส้น หรือเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อนำไปประกอบอาหารได้เลย ตลาดส่วนใหญ่ที่สหชลฯ ส่งไปคือญี่ปุ่นซึ่งก็ได้รับการยอมรับมากพอสมควร

ถึงยุคเร่ง "บุก" ขาย ทั้งในและต่างประเทศ

20 ปีของสหชลญ เน้นผลิตขายและค้นคว้าควบคู่กันไป หมดงบประมาณไปเฉพาะกับการวิจัยไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท แต่ผลที่ได้มาก็ถือว่าคุ้มเกินคาด และจากการวิจัยพัฒนานี้เองทำให้สหชลฯ เล็งเห็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากหัวบุกให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อผลทางธุรกิจ

จากเดิมขายในรูปผงบุก บุกเส้น บุกก้อน ก็พัฒนามาเป็นอาหารสำเร็จรูปภายใต้ชื่อ คอนยัคกี้ (Konyakky) ซึ่งระยะแรกเป็นผลิตภัณฑ์ผงชงดื่มบรรจุซอง 4 กลิ่นผลไม้ ได้แก่ ส้ม มะนาว สตรอเบอร์รี่ และสับปะรด เพื่อทำให้บริโภคได้ง่ายขึ้น หรือออกมาในรูปบรรจุแคปซูล ทดลองตลาดมา 2 ปีแล้วเห็นว่าคงไปได้ โดยขายตามเคาน์เตอร์ขายยากว่าหนึ่งพันแห่งเพราะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และกำลังขยายไปสู่ศูนย์ลดน้ำหนัก โรงพยาบาล ซูเปอร์มาร์เก็ต และการจำหน่ายตรง

และในอนาคตอันใกล้คือในปี 2541 บริษัทได้พัฒนาผลิตภัณฑ์อีกหลายชนิด อาทิ ไส้กรอก เนื้อ หรือหมู สำหรับทำแฮมเบอร์เกอร์ ลูกชิ้น เยลลี่ คุกกี้ พัฟ ฯลฯ ที่มีส่วนผสมของผงบุกลงไปด้วย เป็นการเพิ่มเส้นใยให้กับอาหารเหล่านี้และคาดว่าจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ลูกค้าได้รู้จักและเห็นประโยชน์ของบุกมากขึ้นไปด้วย

สำหรับตลาดส่งออกนั้นสหชลฯ ส่งออกผลิตภัณฑ์ผักดองและบุกไปแล้วไม่ต่ำกว่า 15 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมนี เบลเยียม ฯลฯ และจดทะเบียนลิขสิทธิ์ใน 30 ประเทศทั่วโลก

โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากบุกกำลังเป็นที่สนใจ และต้องการจากต่างประเทศค่อนข้างสูง ประกอบกับค่าเงินบาทบาทที่อ่อนตัว ทำให้แนวโน้มตลาดในต่างประเทศของบุกมีโอกาสโตได้อีกมากเพราะยอดขายโตปีละ 25% บ้าง 50% บ้างแม้ว่าจะขายแพ้จีนก็ตามเพราะเขามีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า

"ตอนนี้เราแข่งขันกับจีนแดงได้มากขึ้น เพราะการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวนี้ทำให้ลดช่องว่างราคาสินค้าของเราให้สูงกว่าจีนเพียง 5% จากเดิมที่เคยสูงกว่าถึง 40%" สุรัช กล่าว

เมื่อราคาห่างกันไม่มาก ในขณะเดียวกันคุณภาพเราดีกว่าจีนมาก เพราะคุณภาพบุกของไทยเทียบเท่าระดับเดียวกับญี่ปุ่น แต่ราคาเมื่อเทียบกับญี่ปุ่นต่ำกว่า ย่อมเป็นแนวโน้มที่ดีต่อสินค้าไทย สุรัชจึงคาดว่าภายใน 5 ปี จะสามารถกระจายตลาดออกไปได้ทั่วโลกครบทุกพื้นที่สำคัญๆ ทั้งหมด

จากสถานการณ์ที่เอื้อต่อสหชลฯ ทำให้สุรัชค่อนข้างมั่นใจว่า ในด้านยอดขายของบริษัทที่ประมาณ 400 ล้านบาทในปี 39 นั้น จะสามารถเพิ่มขึ้นเป็น 500 ล้านบาทในปีนี้ได้ไม่ยากนัก และยังคงโตไปเรื่อยๆ เพราะบริษัทส่งออกถึง 90%

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ชี้ชัดว่าในขณะนี้สินค้าเกษตรเป็นพระเอกอย่างแท้จริง และโดยพื้นฐานของประเทศที่คนส่วนใหญ่ยังคุ้นเคยและเกี่ยวข้องกับการเกษตร การทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการเกษตรยังถือเป็นธุรกิจที่มั่นคงแม้จะไม่โตหวือหวาน่าตื่นเต้นแต่ก็ไปได้เรื่อยๆ และไม่ตายง่ายๆ เหมือนธุรกิจที่โตตามแฟชั่นทั้งหลาย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us