Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 มีนาคม 2549
สศค. ระบุการลงทุนเริ่มชะลอ หลังตัวเลขนำเข้าสินค้าทุนลดลง             
 


   
www resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
Economics
นริศ ชัยสูตร




สศค.เชื่อการส่งออกจะเป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 49 ระบุเมกะโปรเจกต์จะช่วยได้หากปัญหาการเมืองไม่ยืดเยื้อ ขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาคเดือนมกราคมเริ่มชี้ให้เห็นว่าการลงทุนเริ่มลดลงแล้ว จากตัวเลขนำเข้าสินค้าทุนลดลง ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการจ้างงานต้องลดลงไปด้วยในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า แต่ปลอบใจจะเป็นผลดีต่อดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้

นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า หากพิจารณาจากสถานการณ์ของประเทศในปัจจุบัน หากยังไม่เปลี่ยนแปลงจากนี้ไป ปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนเติบโตต่อไปได้มีเพียงปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศคือ การส่งออก เพราะการจะหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ หรือเมกะโปรเจกต์คงจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากการดำเนินโครงการดังกล่าวจะต้องล่าช้าออกไป อย่างไรก็ตาม หากปัญหาการเมืองสามารถยุติได้เร็วและเกิดมีการลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ช่วงครึ่งแรกในปีนี้แล้ว จะทำให้เศรษฐกิจไทยอาจจะมีตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพิ่มเติมนอกจากการส่งออกได้ ซึ่งในส่วนของ สศค. ได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยการค้าระหว่างประเทศมากกว่าปัจจัยอื่น

นายนริศ กล่าวว่า สศค. ร่วมกับสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) จัดทำเครื่องมือในการติดตามบริหารจัดการเครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาครายเดือนขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้พบว่า ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศขยายตัวในทิศทางที่ชะลอลงในด้านปริมาณมากกว่าราคา และยังพบว่า การนำเข้าที่ลดลงเกิดขึ้นเป็นสินค้าในกลุ่มวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปและสินค้าทุนเป็นสำคัญ ภาพดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนภาคเอกชนเริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม การลดลงของการนำเข้าสินค้าจะส่งผลบวกต่อดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยให้ขาดดุลน้อยลง แต่ก็เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการลงทุนในประเทศเริ่มชะลอตัวลงตามไปด้วย และถ้าหากสถานการณ์นี้ยังคงมีต่อเนื่องไป จะส่งผลให้การผลิตและการจ้างงานต้องลดลงไปด้วยในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า

สำหรับผลวิเคราะห์การส่งออก การนำเข้า และดุลการค้าในปี 2549 พบว่า ด้านการส่งออก จากที่คาดว่าตลอดปี 2549 จะมีมูลค่าส่งออกสินค้าตามระบบกรมศุลกากร จะขยายตัวร้อยละ 9.5-10.5 ต่อปี ซึ่งในเดือนมกราคม เดิม สศค. คาดว่ามูลค่าส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 17.2 ต่อปี แต่ตัวเลขจริงของกรมศุลกากรออกมาพบว่า ขยายตัวเพียงร้อยละ 13.6 ต่อปี เป็นการขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย ขณะที่การนำเข้าตลอดปี 2549 คาดว่ามูลค่านำเข้าสินค้าตามระบบศุลกากรจะขยายตัวร้อยละ 8.5-9.5 ต่อปี แต่ข้อมูลในเดือนมกราคม 2549 จากที่ สศค. คาดว่ามูลค่าการนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 10.9 ต่อปี ตัวเลขจริงของกรมศุลกากรขยายตัวเพียงร้อยละ 2 ต่อปี ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก เนื่องจากมูลค่านำเข้าน้ำมันดิบ เหล็ก และทองคำลดลงมาก ประกอบกับสินค้าทุนขยายตัวในทิศทางที่ชะลอลงและสินค้าวัตถุดิบก็นำเข้าน้อยลง ด้านดุลการค้าเดิม สศค. คาดว่า ในเดือนมกราคม 2549 ดุลการค้าจะขาดดุล 985 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ข้อมูลจริงปรากฏว่า ขาดดุลเพียง 442 ล้านดอลลาร์สหรัฐ น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจมหภาคที่ สศค. คาดว่า ปี 2549 ไทยจะขาดดุล 8,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนมกราคม 2549 จะเห็นว่าดุลการค้าในปี 2549 อาจจะขาดดุลน้อยกว่าที่ สศค.คาดการณ์ไว้

“อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ด้วยว่าจะมีทิศทางอย่างไร ซึ่งเดือนกุมภาพันธ์ สศค. คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 12 ต่อปี และมูลค่านำเข้าสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 13 ต่อปี ดุลการค้าจะขาดดุลประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากข้อมูลจริงที่จะออกในปลายเดือนมีนาคมนี้ ดุลการค้าขาดดุลน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ จะส่งผลให้ตลอดทั้งปี 2549 ไทยอาจจะขาดดุลน้อยกว่าที่ สศค.คาดการณ์ไว้” ผู้อำนวยการ สศค. กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us