Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 มีนาคม 2549
ฟาร์อีสท์ฯทุ่มเงินถือหุ้นใหญ่ THECO พร้อมเปิดทางกลุ่มพันธมิตรใหม่ร่วมธุรกิจ             
 


   
search resources

Investment
ฟาร์อีสท์ แอสเซสท์ คอร์ปอเรชั่น, บมจ.




ฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ คอร์เปอร์เรชั่น เตรียมเข้าถือหุ้นใหญ่บริษัท ไทยฮีทเอ็กซ์เช้นจ์ โดยเข้าซื้อในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท เตรียมชำระเงินภายในวันนี้ รวมถึงกลุ่มผู้ถือหุ้นรายบุคคลที่เข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ระบุวัตถุประสงค์หวังกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้น หลังจากกลับเข้ามาเทรดในหมวดปกติ

แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมาได้มีกระแสว่าบริษัทฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ คอร์ปอเรชั่นจะเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ไทยฮีทเอ็กซ์เช้นจ์ จำกัด (มหาชน) หรือ THECO ซึ่งจะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยจะเข้ามาซื้อหุ้นในราคาพาร์ คือหุ้นละ 1 บาท และได้กำหนดที่จะชำระเงินภายในวันนี้ (15 มี.ค.)

ทั้งนี้นอกจากบริษัทฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ คอร์ปอเรชั่น ที่เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แล้ว ทางผู้บริหารของบริษัทไทยฮีทเอ็กซ์เช้นจ์ ยังได้ดึงกลุ่มผู้ลงทุนรายบุคคลให้เข้ามาถือหุ้น เพื่อเป็นพันธมิตรทางธุรกิจอีกด้วย อย่างไรก็ตามรายชื่อกลุ่มนักลงทุนที่เข้ามาถือหุ้นนั้น ได้มีกระแสข่าวว่าเป็นนอมินีที่เข้ามาถือหุ้นแทน ซึ่งไม่ใช่เป็นกลุ่มนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนอย่างแท้จริง

"การที่ราคาหุ้นบริษัทไทยฮีทเอ็กช์เช้นจ์ปรับตัวสูงขึ้นวานนี้ ถือเป็นการเข้ามาไล่ราคาหุ้น ก่อนที่จะมีการประกาศชื่อพันธมิตรที่จะเข้ามาถือหุ้นในวันนี้อย่างเป็นทางการ" แหล่งข่าวกล่าว

ก่อนหน้านี้ บริษัท ฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัทที่อยู่ในหมวดที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการหรือรีแฮปโก้ ซึ่งประกอบด้วยหุ้นบริษัทโรงพิมพ์ตะวันออก หรือ EPCO ในสัดส่วน 12.30% และเข้าไปถือหุ้นในบริษัท ไทยเอนจิน เมนูแฟ็คเจอริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ TEM ซึ่งถืออยู่ประมาณ 14% และยังได้เข้าไปลงทุนในบริษัทไทยยูนิคคอยล์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUCC ซึ่งถือหุ้นประมาณ 14% เช่นกัน

แหล่งข่าวกล่าวว่า การที่บริษัทฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ คอร์ปอเรชั่นนั้นมีนโยบายการลงทุนที่จะลงทุนในหมวดรีแฮปโก้ และประเมินว่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดี เนื่องจากบริษัทได้มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว และทำให้มีฐานะการเงินที่มั่นคง ซึ่งบริษัทฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ฯ ได้ประเมินว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับ 100% เมื่อหุ้นสามารถกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว โดยหุ้นบริษัทไทยฮีทเอ็กเช้นจ์ ก็เตรียมที่จะย้ายออกจากกลุ่มรีแฮปโก้ กลับมาซื้อขายในหมวดยานยนต์ภายในเดือนมีนาคม หรืออย่างช้าภายในเดือนเมษายนนี้

นอกจากนี้ บริษัทฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ฯก็ยังมีแผนที่จะเข้าไปถือหุ้นในบริษัทที่อยู่ในหมวดรีแฮปโก้ต่อไปอีก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาหาข้อมูลในบริษัทต่างๆ

สำหรับราคาหุ้นบริษัทไทยฮีทเอ็กเช้นจ์ วานนี้ (14 มี.ค.) ปิดที่ระดับ 2.14 บาทเพิ่มขึ้น 0.14 บาทหรือ 7% มูลค่าการซื้อขาย 320.16 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งไม่เห็นด้วยกับคำคัดค้านของบริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็น เอฟ เอส จำกัด ที่ยื่นคัดค้านว่า การจ่ายชำระหนี้ตามแผนใหม่ จะได้รับชำระน้อยกว่าการบังคับคดี และได้มีคำสั่งเห็นชอบกับการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท ไทยฮีทเอ็กซ์เช้นจ์ จำกัด (มหาชน)

สำหรับสาระสำคัญของแผนฟื้นฟูกิจการที่ผ่านความเห็นชอบจากศาลล้มละลายกลาง ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นแรก บริษัท สามารถหาเงินทุนเพิ่มเติม โดยการ Refinance หรือหาผู้ร่วมทุนเพื่อเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกไม่เกิน 814,042,600 หุ้น โดยการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงหรือ การจัดสรรหุ้นหรือWarrant ให้แก่ผู้ถือหุ้น เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้

โดยเงื่อนไขการชำระหนี้ คือ กลุ่มแรก เจ้าหนี้มีประกัน ชำระก่อนกำหนด ร้อยละ 80 ของเงินต้น ณ ปัจจุบัน มียอดหนี้คงค้าง 220,888,669.25 บาท กลุ่มที่ 2. เจ้าหนี้ไม่มีประกัน ชำระก่อนกำหนด ร้อยละ 20 ของเงินต้น ปัจจุบัน มียอดหนี้คงค้าง 15,178,919.73 บาท และกลุ่มสุดท้าย เจ้าหนี้แรงงาน ชำระก่อนกำหนดเต็มจำนวนของเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยคงค้างจนถึงวันที่มีการชำระหนี้ทั้งหมด ปัจจุบันมียอดหนี้คงค้าง 46,310,099.19 บาท รวมมูลหนี้ทั้งสิ้น 282,377,688.17 ล้านบาท

ประเด็นที่สอง กรณีบริษัทสามารถทำการ Refinance หรือหาผู้ร่วมทุนได้ บริษัทขอยกเลิกการเพิ่มทุนจากแผนเดิมในส่วนของการแปลงหนี้เป็นทุน คือ เจ้าหนี้มีประกัน จำนวน 225,922,878 บาท แปลงเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 225,922,878 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (ราคาพาร์) หุ้นละ 1 บาท เจ้าหนี้ไม่มีประกัน 15,178,921 บาท แปลงเป็นหุ้นสามัญ 15,178,921 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท และเจ้าหนี้แรงงาน 46,585,695 บาท เป็นหุ้นสามัญ 46,585,695 หุ้น ราคาพาร์ 1 บาท

ประเด็นสุดท้าย บริษัทมีระยะเวลาในการหาเงินทุนภายใน 3 เดือน หลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบการแก้ไขแผน หากพ้นระยะเวลาดังกล่าว บริษัทยังไม่สามารถหาเงินทุนชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ บริษัทยังคงยึดแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิมที่ผ่านความเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2548   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us