Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2540
สตีฟ แวน แอนเดล "จับตาดูแอมเวย์เมืองไทยไว้ให้ดี"             
 


   
search resources

แอมเวย์ (ประเทศไทย), บจก.
สตีฟ แวน แอนเดล




ต้นเดือนพฤศจิกายน 2540 แอมเวย์ ประเทศไทย ได้มีโอกาสต้อนรับการมาเยือนของสตีฟ แวน แอนเดล ประธานกรรมการบริหารของบริษัท แอมเวย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด สหรัฐอเมริกา และบริษัทแอมเวย์ เอเชีย แปซิฟิก จำกัด ซึ่งมาพร้อมกับการประกาศข่าวดีให้ผู้ดำเนินธุรกิจแอมเวย์ในประเทศไทยได้ทราบว่า

ประเทศผู้จำหน่ายแอมเวย์กว่า 40 ประเทศทั่วโลกนั้น ปรากฏว่าภายหลังจากสิ้นปีบัญชีของแอมเวย์ ล่าสุดคือสิ้นเดือนกันยายน 2540 ที่ผ่านมา ได้มีอันดับใหม่สำหรับขนาดของธุรกิจแอมเวย์ในประเทศไทย ที่เลื่อนจากอันดับ 6 มาเป็นอันดับที่ 4 โดยมีมูลค่าตลาดใหญ่รองจากญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี และมีรายได้กว่า 4,800 ล้านบาท ในปีบัญชี 2540

"เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อกับสิ่งที่ผู้จำหน่ายแอมเวย์ไทยทำกับธุรกิจแอมเวย์ของไทย" สตีฟ แวน แอนเดล กล่าว

เหตุการณ์นี้ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นสวนกระแสกับภาวะเศรษฐกิจในเมืองไทย หากแต่ผู้บริหารแอมเวย์กลับแย้งว่า เป็นเรื่องปกติสำหรับธุรกิจแอมเวย์ แล้วแอมเวย์ก็เคยเจอภาวะวิกฤติที่หนักกว่านี้มาแล้วในสมัยที่เกิดรัฐประหารในประเทศโคลัมเบีย

"ในโคลัมเบียยุคที่เกิดรัฐประหาร เมื่อไม่สามารถส่งสินค้าเข้าประเทศได้ตามปกติ เราในฐานะผู้ผลิตต้องช่วยสนับสนุนผู้จำหน่ายในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศใด ในจำนวนผู้จำหน่ายทั้งหมดกว่า 2.5 ล้านคน ครั้งนั้นเราก็พยายามส่งสินค้าเข้าโคลัมเบียไปกับเครื่องบินของหน่วยงานสากลที่เข้าไปให้การช่วยเหลือโคลัมเบีย เทียบกับเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในไทยยังถือว่ารุนแรงกว่ามาก สำหรับตลาดในไทยสิ่งที่เราช่วย ตอนนี้คือพยายามตรึงราคาให้อยู่ในระดับเดิม แม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนตัวไปมาก" ประธานกรรมการ แอมเวย์ กล่าว

สำหรับการเติบโตสวนกระแสของแอมเวย์ ผู้บริหารยังเชื่อว่าเป็นเพราะยิ่งเกิดภาวะวิกฤติต่อเศรษฐกิจเท่าใด ภาคธุรกิจทุกภาคโดยเฉพาะภาคที่เกี่ยวเนื่องกับการตลาดจะเลือกประหยัดต้นทุนเป็นอันดับแรก เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด ซึ่งเข้ากับคอนเซ็ปต์ของธุรกิจแอมเวย์ที่เป็นธุรกิจที่มีการตลาดแบบต้นทุนต่ำ หรือ Low Cost Marketing เพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนลงทุนด้วยโอกาสและเวลานั่นเอง

ดังนั้นทำให้เห็นได้ว่า ทำไมธุรกิจแอมเวย์ไทยจึงมีการเติบโตสวนกระแสตลาดได้ จากยอดรายได้ในปี 2539 ที่แอมเวย์ไทยมีรายได้ 4,200 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกธุรกิจที่การเติบโตสูงขึ้นในปีต่อๆ ไป ดูได้จากตัวอย่างของยอดผู้จำหน่ายแอมเวย์ในไทยซึ่งปรีชา ประกอบกิจ ผู้จัดการทั่วไป บริษัทแอมเวย์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่ามีถึงกว่า 20,000 คนต่อเดือนในช่วงนี้

หรือแม้แต่การที่เราจะเห็นธุรกิจขายตรงอื่นๆ เกิดมากขึ้นในตลาด เช่น ธุรกิจขายตรงอื่นๆ เกิดมากขึ้นในตลาด เช่น ธุรกิจขายตรงสินค้านำเข้าประเภทเทคโนโลยีจากต่างประเทศ อาทิ เครื่องกรองน้ำ เครื่องฟอกอากาศ เป็นต้น จากเดิมที่ไม่เคยทำการตลาดในลักษณะนี้ ธุรกิจคอสเวย์ ระบบขายตรงจากมาเลเซียที่อยู่ระหว่างหาจังหวะเปิดตัวที่เหมาะสม ธุรกิจขายตรงของบริษัทลุกซ์ รอยัล ประเทศไทย จำกัด ในเครืออีเลคโทรลักซ์ ที่เสริมตลาดด้วยการเปิดโรงเรียนขายตรงแห่งแรกในเมืองไทยไปพร้อมกันด้วย

นอกเหนือจากยุทธวิธีแบบการตลาดต้นทุนต่ำ ซึ่งอาจจะให้บ้านเราเป็นฐานปฏิบัติงานที่ทำให้แอมเวย์ได้แล้วผู้บริหารของแอมเวย์ยังกล่าวว่า แอมเวย์ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปในประเทศไทย เพราะสินค้าของแอมเวย์เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ที่แยกหน้าที่ระหว่างผู้ผลิตและผู้ทำตลาดชัดเจน เพราะแนวโน้มในอนาคตจะหมดยุคของผู้ผลิต การคงอยู่ขึ้นอยู่กับการตลาดเป็นสำคัญ และเป็นระบบเครือข่ายหรือที่เรียกว่า NDM (Network Distribution Marketing)

NDM ถือเป็นรูปแบบการตลาดของธุรกิจขายตรงในอเมริกา ที่ก้าวหน้ากว่าไทยไปแล้วหนึ่งขั้น คือธุรกิจขายตรงไทยจะยังคงอยู่ที่การตลาดขายตรงแบบหลายชั้นหรือ MLM (Multi-Level Marketing) ที่บางครั้งถูกพัฒนาไปเป็นระบบลูกโซ่แบบไม่ถูกต้อง

"การทำธุรกิจแอมเวย์ในอเมริกา ลูกค้าของผู้จำหน่ายแต่ละคน สามารถเอาเลขอ้างอิงประจำตัวของผู้จำหน่ายไปสั่งซื้อสินค้าจากคลังสินค้าแอมเวย์ได้โดยโอนเงินให้บริษัทโดยตรง แล้วบริษัทจะส่งสินค้าให้ลูกค้านั้นถึงบ้าน ในขณะที่เมืองไทยการสั่งซื้อสินค้าแอมเวย์ยังต้องมีผู้จำหน่ายเป็นตัวกลาง แต่ต่อไประบบในไทยก็คงจะพัฒนาไปด้วยเช่นกัน" ผู้บริหารของแอมเวย์ กล่าว

เมื่อถึงขั้นที่แอมเวย์ไทยมีความพร้อมในทุกๆ ด้านเช่นเดียวกับแอมเวย์ในอเมริกาแล้วนั้น สตีฟ แวน แอนเดล กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องจับตาแอมเวย์ไทยไว้ให้ดี เพราะเป็นไปได้ว่าแอมเวย์ไทยอาจจะใหญ่ขึ้นแซงหน้าแอมเวย์ญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดแอมเวย์ที่ใหญ่ที่สุดจากทุกประเทศก็เป็นได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us