Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2540
ประภัสร์ จงสงวน แห่ง รฟม.ผอ.รัฐวิสาหกิจปลอดการเมือง?             
 


   
search resources

องค์การรถไฟฟ้ามหานคร
ประภัสร์ จงสงวน




เมื่อครั้งที่การทางพิเศษมีปัญหาในเรื่องข้อสัญญาเกี่ยวกับโครงการมากมาย นับจากการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 1 จนถึงการสร้างแขวนพระราม 9 ที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน บทบาทเด่นของฝ่ายกฎหมายของการทางพิเศษฯ เด่นชัดขึ้น

และแน่นอนว่า ผู้เป็นตัวจักรที่สำคัญนอกเหนือจากผู้ว่าการแล้ว เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านกฎหมายก็ต้องมีบทบาทเด่นออกมาอย่างเลี่ยงไม่ได้

ชื่อของประภัสร์ จงสงวน ผู้อำนวยการกองนิติการ กลายเป็นแหล่งข้อมูลที่หลายฝ่ายซึ่งเกี่ยวข้องต้องเข้าไปซักถามหาความกระจ่างในแง่มุมของกฎหมายอย่างมาก

ด้วยวัยหนุ่มเพียง 33 ปี ที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการกองนิติการ ความโดดเด่นในความสามารถด้านภาษาเพราะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจาก California State University at Fresno สหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้อำนวยการหนุ่มคนนี้ มีความโดดเด่นในเรื่องหน้าที่การงานอยู่ไม่น้อย

และตอนนี้เขาได้ก้าวขึ้นเป็นผู้อำนวยการองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ด้วยวัยเพียง 42 ปี ซึ่งก็นับได้อีกเช่นกันว่าเป็นผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจที่อายุยังน้อยที่สุดอีกคนหนึ่ง

เมื่อปี 2534 "ผู้จัดการ" เคยเขียนประวัติโดยคร่าวๆ ของประภัสร์ไว้ว่า เป็นบุตรชายของส่งศรี-สุพจน์ จงสงวน ซึ่งรับราชการอยู่กระทรวงการต่างประเทศ มีพี่ชายที่หน้าตาเหมือนราวถอดพิมพ์เดียวกันชื่อ ณัฐศิลป์ จงสงวน ผู้คร่ำหวอดในแวดวงการเงิน และตำแหน่งในขณะนั้นของณัฐศิลป์คือกรรมการผู้จัดการบริษัท มอร์แกน เกรนเฟลล์ ประเทศไทย

ประภัสร์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และได้เดินทางไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา ด้วยความคิดห้าวหาญที่อยากเป็นตำรวจ จึงมุ่งศึกษาด้านอาชญวิทยามาเต็มตัว แต่ไม่ทันได้เข้าทำงานเป็นตำรวจที่เมืองลุงแซมก็ถูกมารดาเรียกตัวกลับมาให้อยู่เมืองไทยแทนที่จะใช้ชีวิตที่เมืองนอก

แต่ชีวิตการเป็นตำรวจไทยคงไม่เหมือนตำรวจเมืองนอก เป้าหมายในอาชีพนี้ที่เมืองไทยก็หมดไปเช่นกันนน ประภัสร์มุ่งเข้าทำงานด้านกฎหมายอย่างเต็มตัวที่สำนักงานทนายความของอุกฤษ มงคลนาวิน เมื่อปี 2523 เป็นงานที่ปรึกษาด้านกฎหมายทั่วไป ในเรื่องเกี่ยวกับสัญญาเช่าจำนองควบคู่กับงานสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าที่บริษัทเทพศรีหริศ สำนักงานทนายความในความดูแลของอุกฤษอีกบริษัทหนึ่ง

เมื่อเกิดคดีที่ผู้รับเหมาก่อสร้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการทางด่วนดินแดง ประภัสร์ได้รู้จักกับจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ซึ่งขณะนั้นเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เข้ามาช่วยงานด้านกฎหมายให้กับการทางพิเศษฯ ก็เลยถูกทาบทามให้มาช่วยงานที่การทางพิเศษฯ ซึ่งเจ้าตัวตัดสินใจรับในเวลาต่อมา เริ่มที่ตำแหน่งนิติกร 7 เมื่อปี 2528

ใครจะรู้ว่าในวันนี้เขาได้กลายเป็นผู้อำนวยการ รฟม. ซึ่งข้ามขั้นผู้บริหารคนอื่นๆ ไปอย่างชนิดไม่เห็นฝุ่น และเป็นการแทนที่ ธีรพงษ์ อรรถจารุสิทธิ์ ซึ่งเคยร่วมงานกันในการทางพิเศษฯ ทั้งที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของประภัสร์มาก่อน

ความโดดเด่นของประภัสร์ หากอยู่เพียงแค่ผู้อำนวยการฝ่ายนิติการคงไม่มีอะไรมากไปกว่าการทำงานไปตามหน้าที่รับผิดชอบธรรมดาเพราะการทางพิเศษฯ มีงานด้านกฎหมายอยู่เป็นจำนวนมากที่ต้องดูแล

โดยเฉพาะการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการทางด่วน สัญญาเงินกู้กับกองทุนการเงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโพ้นทะเล หรือ โออีซีเอฟ ซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่รู้ภาษาต่างประเทศเป็นอย่างดี กับโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน เมื่อครั้งที่การทางพิเศษฯ เป็นผู้คุมโครงการเอง

ซึ่งโครงการรถไฟฟ้านี้ธีรพงษ์และประภัสร์เข้าร่วมงานกันอย่างเต็มที่ จนทำให้ฝ่ายไทยสามารถบอกเลิกสัญญากับกลุ่มลาวาลินได้โดยไม่ทำให้การทางพิเศษฯ ได้รับผลกระทบ

แต่เมื่อดครงการทางด่วนขั้นที่ 2 เกิดขึ้น ความยุ่งยากของสัญญาการร่วมทุนระหว่าง กูมาไก กูมิ และการทางพิเศษฯ ก็ผลักดันให้คนหนุ่มอย่างประภัสร์ต้องออกมาแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ และดูเหมือนว่าเขาจะได้รับความไว้วางใจอย่างมากจาก สุขวิช รังสิตพล ที่เป็นผู้อำนวยการการทางพิเศษฯ ขณะนั้น

เพราะการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายจากประภัสร์นี่เองที่ทำให้สุขวิชกล้าตัดเชือก กูมาไก กูมิ จนทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นต้องบินกลับประเทศไป โดยขายหุ้นให้กับบริษัท ช.การช่าง จำกัด ทั้งหมด โดยฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการทางพิเศษฯ ไม่ได้เลย

ผลงานของประภัสร์ทำให้ได้มีโอกาสเข้าไปนั่งเป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษาของรองนายกรัฐมนตรี โดยการทำเรื่องขอยืมตัวจากการทางพิเศษฯ เมื่อสุขวิชขึ้นรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสมัยแรกในรัฐบาลของชวน หลีกภัย

แม้จะมีการปรับเปลี่ยนในรัฐบาลบ่อยครั้ง แต่หน้าที่ของประภัสร์ก็ไม่ชะงักไปเสียทีเดียว มีการปรับตำแหน่งให้จนได้ถึงตำแหน่งรองผู้ว่าการฝ่ายกฎหมายและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน

และเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2540 ประภัสร์ก็ได้รับงานใหญ่อีกครั้ง โดยขึ้นเป็นผู้อำนวยการ รฟม. รับผิดชอบงานโครงการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินส่วนเหนือ และส่วนใต้ จากสถานีรถไฟบางซื่อถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง ตามแนวถนนรัชดาภิเษก และพระราม 4

จากหน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นสมัยของรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เพราะปัญหาการยกเลิกดครงการรถไฟฟ้าลาวาลินของการทางพิเศษฯ ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้มีรัฐวิสาหกิจที่ดูแลงานโครงการใหญ่ ลงทุนสูง ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง มีธีระพงษ์ อรรถจารุสิทธิ์ ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้อำนวยกาองค์การฯ คนแรก มีประภัสร์เป็นคนที่ 2

การเสนอชื่อเข้าครม.ที่ผ่านมา โดยสมัคร สุนทรเวช ผู้รับผิดชอบดูแลด้านการแก้ไขปัญหาจราจร และโครงการขนส่งขนาดใหญ่ เพราะส่วนหนึ่งไม่พอใจการทำงานของธีระพงษ์ จนย้ายคนเก่าไปนั่งเป็นที่ปรึกษา

ด้วยความสามารถของคนหนุ่ม (กว่า) ผู้บริหารคนอื่นใน รฟม. กับงานขนาดใหญ่เกี่ยวกับร่างสัญญา และการเจรจาต่อรองกับหน่วยงานต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน จึงไม่ใช่ข้อเกี่ยงงอนอะไรที่คนหนุ่มวัยต้น 40 อย่างประภัสร์ จะรับงานใหญ่ขนาดนี้

เพียงแต่การทำงานที่ รฟม. ถึงตอนนี้จะยังยืนยันเจตนารมณ์เดิมเรื่องหน่วยงานปลอดการเมืองได้หรือไม่เท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us