Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 มีนาคม 2549
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปี'49 :ยังเติบโตต่อเนื่อง...ยุคกำลังซื้อแผ่ว             
 


   
search resources

Instant Food and Noodle
Marketing




ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยในปี 2549 คาดว่ามูลค่าจะเติบโตร้อยละ 10 จากปัจจุบันที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยได้รับปัจจัยหนุนสำคัญจากกำลังซื้อของประชาชาชนที่ถูกกระทบจากปัญหาค่าครองชีพภายหลังจากราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ประชาชนระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย ส่งผลให้ความต้องการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีราคาไม่สูงมากนักมีเพิ่มขึ้น

ประกอบกับในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2549 จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศเยอรมนีและมีการถ่ายทอดสดมายังประเทศไทยในช่วงเวลาดึกของไทยเริ่มคู่แรกเวลาประมาณ 3 ทุ่ม และคู่สุดท้ายเวลาตีสาม ส่งผลให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซึ่งเป็นอาหารที่สะดวกในการปรุงเข้ามาตอบสนองความต้องการของผู้ที่ติดตามชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ผลจากการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างผู้ประกอบการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 3 รายใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งในตลาดถึงกว่าร้อยละ 90 ประกอบกับปัจจัยทางด้านต้นทุนการผลิตและต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นปัจจัยกดดันของธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่สำคัญ

ทั้งนี้ในช่วงที่กำลังซื้อของประชาชนปรับลดลงความต้องการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีราคาไม่สูงนักจึงมีเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็มักจะเป็นสินค้าลำดับต้นๆที่ประชาชนจะจัดส่งไปบริจาคให้กับผู้ประสบภัยต่างๆทั้งอุทกภัย วาตภัย และอัคคีภัยในพื้นที่ต่างๆ ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

ดังจะเห็นได้จากปริมาณการจำหน่ายจาก 93,997.2 ตันในปี 2546 เพิ่มขึ้นมาเป็น 105,313.72 ตันในปี 25471 ส่วนในปี 2548 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าปริมาณการจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะมีประมาณ 111,000 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลงอันเป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ประกอบกับในปี 2548 มีปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของไทยทั้งภาคเหนือและภาคใต้ ความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของผู้ประสบภัยจึงมีค่อนข้างมาก

สถานการณ์ของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปี 2549 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าปริมาณการจำหน่ายในประเทศจะมีประมาณ 117,000-118,000 ตันเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 5.0-6.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้

ภาวะกำลังซื้อของประชาชน แม้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2549 จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.0-5.0 เทียบกับปี 2548 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 4.5 แต่เมื่อพิจารณาทางด้านกำลังซื้อของประชาชนที่ถูกกดดันจากปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามปัจจัยของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยทำให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าผ่อนบ้านและผ่อนรถเพิ่มขึ้น แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปราคาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่นๆอาทิ ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว ซึ่งได้ปรับราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 5 บาทจากราคา 25-30 บาทเป็น 30-35 บาท ในขณะที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่จำหน่ายทั่วไปส่วนใหญ่ยังคงมีราคาประมาณ 5 บาทต่อซอง

การเพิ่มช่องทางจำหน่ายของผู้ประกอบการ ปัจจุบันนอกเหนือจากร้านชำ ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นช่องทางจัดจำหน่ายดั้งเดิมแล้วผู้ประกอบการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังมีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้ามากขึ้น อาทิ การติดตั้งตู้จำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งการดัดแปลงรถยนต์เป็นร้านจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ปรุงเสร็จพร้อมรับประทานตามแหล่งชุมชนต่างๆอาทิ สถานศึกษา อาคารสำนักงาน เป็นต้น

การแข่งขันฟุตบอลโลกในช่วง 1 เดือนระหว่างวันที่ 9 มิถุนายนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2549 จะมีมหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศเยอรมนีเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้ตารางการแข่งขันจะอยู่ตรงกับช่วงกลางคืนของประเทศไทยคือคู่แรกเวลาประมาณ 21.00 น. คู่ที่สองเวลา 24.00 น. และคู่สุดท้ายเวลา 03.00 น.

ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ผู้ที่สนใจติดตามชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยเพิ่มอาหารมื้อดึกจากมื้อปกติอาทิ อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ฟาสต์ฟูดส์ ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมพร้อมดื่ม และน้ำอัดลม เป็นต้น โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั้นจะค่อนข้างได้รับความนิยม

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่มีหลายๆปัจจัยที่เอื้อต่อการขยายตัวของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปี 2549 แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่แฝงอยู่ซึ่งผู้ประกอบการต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีดังนี้

ต้นทุนการผลิตเพิ่มเป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี 2549 ผู้ประกอบการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังคงต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งค่าจ้างแรงงาน ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่ง ไฟฟ้าและพลังงานต่อเนื่องจากปี 2548 ในขณะที่การปรับราคาจำหน่ายให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทำได้ลำบากเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง

สินค้าทดแทน ปัจจุบันเป็นที่น่าสังเกตว่าอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งกำลังได้รับความนิยมแพร่หลายเพิ่มขึ้นในขณะที่ราคาจำหน่ายก็ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับการไปทานตามร้านอาหารทั่วๆไป ทำให้อาหารสำเร็จรูปแช่แข็งเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อระดับปานกลางถึงสูง ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบชามหรือถ้วยที่มีราคาไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ปัจจุบันตามร้านค้าสะดวกซื้อต่างๆรวมทั้งอาคารสำนักงานต่างๆจะมีไมโครเวฟไว้บริการอุ่นอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งไว้ให้ ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น

การแข่งขันรุนแรง ปัจจุบันบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันน้อยราย ทั้งนี้เนื่องจากผู้ประกอบการ 3 รายใหญ่มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันสูงถึงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งแต่ละรายต่างก็มีชื่อเสียงและรสชาติของสินค้ารวมทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้งบประมาณจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเป็นจำนวนทำให้การแข่งขันของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทวีความรุนแรงมากขึ้น และเป็นปัจจัยกดดันให้ผู้ผลิตแต่ละรายมีต้นทุนการขายที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดทั้งการพัฒนาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสชาติใหม่ๆที่เน้นทางด้านสุขภาพ รวมไปถึงการส่งเสริมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบชามและแบบถ้วยซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการทดแทน

ผู้ประกอบการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเองก็ควรมีการเร่งผลักดันตลาดส่งออกซึ่งมีแนวโน้มเติบโตสูง ดังจะเห็นได้จากปริมาณการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากปริมาณ 13,696 ตันในปี 2544 เพิ่มขึ้นมาเป็น 16,486 ตัน 17,093 ตันและ 18,175 ตันในช่วงปี 2545-2547 ตามลำดับ2 สำหรับในปี 2548 ที่ผ่านมาปริมาณการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะมีประมาณ 21,000 ตัน

ส่วนปี 2549 คาดว่าปริมาณการส่งออกจะมีทั้งสิ้นประมาณ 23,000 ตัน3 โดยตลาดต่างประเทศที่น่าสนใจได้แก่ ตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกลุ่มคนชาวเอเชียเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และตลาดในเอเชีย อาทิ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน รวมทั้งตลาดประเทศในแถบอินโดจีน คือเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า ซึ่งประเทศเหล่านี้มีกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นมาเป็นลำดับ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง ช่วยเพิ่มความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้มากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us