Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540
"GREYHOUND CAF E" คาเฟ่สำหรับนักเดินทาง"             
โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
search resources

Greyhound
ต่อสิทธิ์ สฤษฎิ์วงษ์
Food and Beverage




กลุ่มหุ้นส่วนธุรกิจเสื้อผ้า GREYHOUND ขยายธุรกิจเข้าสู่ FOOD & BEVERAGE เปิดร้านอาหารสไตล์ยุโรป "GREYHOUND CAF E" สาขาแรกที่ ดิ เอ็มโพเรี่ยม สวนกระแสเศรษฐกิจซบเซา

"OF PICTURES, PLACES, STORIES AND GOOD TASTING RECIPES." สโลแกนตัวหนังสือสีขาวบนพื้นกระดานดำเชิญชวนให้พลิกดูด้านในซึ่งเต็มไปด้วยเมนูอาหารหลากหลายชนิด แต่ละชนิดมีสรรพคุณที่บรรยายเป็นภาษาไทยประกอบไว้ด้วย อาทิ เมนูหมายเลข 29 "THAI STYLE COOKED VEGETABLE SALAD WITH FISH AND SHRIMP CURRY PASTE DRESSING" (ข้าวสวย สลัดน้ำพริกปลาทู แกงจืด และไข่เค็มไชยาทอด) ปลาทูแกะก้าง ผักแนมลวก คลุกกับน้ำพริกกะปิราดด้วยหัวกะทิสด ตำรับคุณยายที่มีลูกหลานขี้เกียจ เสิร์ฟมาเป็นถาดพร้อมกับแกงจืดและไข่เค็มไชยาทอด…ความแปลกใหม่แนวสร้างสรรค์เช่นนี้มีให้ลิ้มลองกันได้ที่ GREYHOUND CAF E ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม

GREYHOUND CAF E หรือคาเฟ่สำหรับนักเดินทาง เป็นธุรกิจใหม่ของกลุ่มหุ้นส่วนร้านเสื้อผ้า GREYHOUND ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในหมู่วัยรุ่นผู้นิยมเสื้อผ้าสไตล์ยุโรป มนต์เทพ คลังสมบูรณ์ หนึ่งในหุ้นส่วนของ GREYHOUND ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของธุรกิจกลุ่มนี้ว่า

"ร้านเสื้อผ้า GREYHOUND เริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี 1980 จากการรวมตัวกันของกลุ่มเพื่อนประมาณ 10 กว่าคนที่สนิทสนมกันมาตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ ซึ่งปัจจุบันต่างก็เติบโตในหน้าที่การงานที่แตกต่างกันไป คนหนึ่งเป็นครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ในวงการโฆษณา คนหนึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโฆษณา อีกคนเป็นพีอาร์ไดเร็กเตอร์ เป็นผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา เป็นดีไซเนอร์ออกแบบเสื้อผ้า เป็นโปรดิวเซอร์ (แต่ละคนขอสงวนนามไว้ เพราะกลัวเจ้านายจากงานประจำจะเล่นงานเอา)"

อย่างไรก็ดี พวกเขาและเธอก็สามารถคบกันอย่างเหนียวแน่นมาร่วม 20-30 ปี เนื่องจากทุกคนมีความเหมือนกันในเรื่องของรสนิยม และความชอบในการท่องเที่ยว ในการกิน รวมทั้งเรื่องของเสื้อผ้าและแฟชั่นที่เหมือนกัน โดยเฉพาะการที่แต่ละคนเป็นนักชอปปิ้งตัวยง จึงทำให้พวกเขามานั่งคิดกันว่า น่าจะทำเสื้อผ้าขายเองสนุกกว่า ประจวบเหมาะกับที่ทางสยามเซ็นเตอร์เขามีที่ว่างพอดี ร้านเสื้อผ้า GREYHOUND จึงได้เปิดที่นั่นเป็นสาขาแรกเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยเริ่มจากเสื้อผ้าผู้ชายก่อน จนกระทั่งประมาณ 5-6 ปีหลังนี้เริ่มสังเกตเห็นว่า เสื้อผ้าผู้ชายที่ขายอยู่ก็มีลูกค้าเป็นผู้หญิงเหมือนกัน จึงคิดทำเสื้อผ้าผู้หญิงขึ้น

คอนเซปต์เสื้อผ้าของเกรย์ฮาวด์จะเน้นความเรียบง่าย ผสมกลิ่นอายของแฟชั่นบ้างพอประมาณ และมีดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ เน้นกลุ่มลูกค้าที่มีศิลปะอยู่ในหัวใจ โดยแบ่งการดีไซน์ออกเป็น 3 สไตล์คือ สำหรับคนทำงานสำหรับใส่ในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ไม่แฟชั่นมากนัก และประเภทแฟชั่นหลุดโลก เหมาะสำหรับพวกที่ ART มาก ๆ

ผู้ที่รับหน้าที่คุมคอนเซปต์และภาพลักษณ์ทั้งหมดของเกรย์ฮาวด์เสื้อผ้าก็คือ ภาณุ อิงควัติ ครีเอทีฟชื่อดัง ซึ่งดีไซน์ส่วนใหญ่จะอิงกับแฟชั่นยุโรป โดยเฉพาะแฟชั่นจากอิตาลีเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน

ปัจจุบันเกรย์ฮาวด์เสื้อผ้าได้ขยายวาขาไปที่ห้างสรรพสินค้าเซน อิเซตัน เซ็นทรัลซิตี้บางนา เซ็นทรัลชิดลมและล่าสุดที่ดิ เอ็มโพเรี่ยม นอกจากนั้นยังมีลูกค้าในต่างจังหวัด เช่น พัทยา เชียงใหม่และหาดใหญ่ ที่มาซื้อเสื้อผ้าจาก GREYHOUND ไปขาย โดยยังคงชื่อและเอกลักษณ์ของ GREYHOUND ไว้ครบถ้วน

และหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจเสื้อผ้า ชาวแก๊งเกรย์ฮาวด์ก็ไม่ได้หยุดตัวเองแค่เสื้อผ้าเท่านั้น พวกเขาได้หยิบเอาความจำเป็นจากการนัดพบ เพื่อพบปะพูดคุย ปรึกษาธุรกิจและลงเอยกันที่การรับประทานอาหารร่วมกันเกือบทุกเย็นมาเป็นแรงผลักสำคัญที่ทำให้เกิด "GREYHOUND CAF E" ขึ้นมาในวันนี้ "ขี้เกียจหาร้านกินข้าว ทำเองดีกว่า จะได้เป็นที่นัดพบของพวกเราเอง"

จากนั้นพวกเขาก็ได้รวบรวมสมัครพรรคพวก ซึ่งมีทั้งที่เป็นหุ้นส่วนเดิมจากร้านเสื้อผ้าและหุ้นส่วนใหม่ประมาณ 10 กว่าคนมาลงขันกันประมาณ 5 ล้านบาท และแต่ละคนได้พกพาเอาประสบการณ์จากการไปท่องเที่ยวในแทบจะทุกมุมของโลก โดยเฉพาะแถบยุโรป ซึ่งเป็นสถานที่ที่พวกเขาประทับใจมาก ทั้งบรรยากาศและที่สำคัญคือ รสชาติของอาหารที่น่าจดจำจนอยากมาถ่ายทอดให้คนที่ไม่เคยไปได้ลิ้มลองดูบ้าง

พวกเขาจะไม่เรียกตัวเองว่านักท่องเที่ยว (TOURIST) แต่พวกเขาจะเรียกตัวเองว่า นักเดินทาง (TRAVELER) ที่สามารถพบเห็นอะไรได้มากกว่าการเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินกันเป็นกลุ่ม ๆ ตามไกด์นำทาง

"พวกเราจะไปเที่ยวกันทุกปีและการไปแต่ละครั้งเราก็พยายามที่จะซอกแซกหาที่ใหม่ ๆ ที่มีบรรยากาศดี ๆ แปลก ๆ ใหม่ ๆ อาหารอร่อย หรือไม่ก็ไปซ้ำในที่เดิม ๆ และจดจำเอารสชาติอาหารกลับมาลองทำกินเองที่บ้าน ซึ่งเราไม่ได้จำกัดที่อาหารฝรั่งอย่างเดียว อาหารไทยเราก็ชอบ อย่างเช่น ที่สมุยจะมีกระต๊อบขายอาหารปักษ์ใต้อยู่ร้านหนึ่ง ทุกครั้งที่เราไปเราก็ต้องไปกินร้านนี้ พวกเราจะไม่เน้นร้านที่หรูหราสวยงาม แต่เราจะเน้นรสชาติอาหารและบรรยากาศเป็นหลัก"

และแล้วสิ่งที่พวกเขาประทับใจและจดจำมาจากทุกมุมของโลกก็ได้ถูกนำมาถ่ายทอดที่ "GREYHOUND CAF E" ร้านอาหารที่พวกเขาตัดสินใจที่จะใช้ชื่อเดียวกับร้านเสื้อผ้า เนื่องจากเป็นชื่อที่คนรู้จักและตอบรับกันดีในกลุ่มลูกค้าของ GREYHOUND

จากคอนเซปต์ของ "คาเฟ่" ในต่างประเทศที่หมายถึงสถานที่ที่มีคนเดินผ่านไปผ่านมาและสามารถแวะมานั่งพักพร้อม ๆ กับดื่มชา กาแฟ หรือทานขนมลองท้องได้ ดังนั้น GREYHOUND CAF E จึงเป็นร้านที่นั่งสบาย ๆ ไม่หรูหรา ไม่เสียงดัง เหมาะที่จะมานั่งพักสมอง หรือปรึกษางานด้วยบรรยากาศที่ผ่อนคลาย อาหารในร้านก็จะมีทั้งอาหารยุโรปและอาหารไทย

ร้านนี้ขนาดพื้นที่กว่า 200 ตร. ม. มีความจุประมาณ 25 โต๊ะ ถูกแต่งตามสไตล์ยุโรป ให้บรรยากาศโปร่ง สบายด้วยเพดานสูง และดูสะอาดตาด้วยโทนสีขาวของผนังห้องและผ้าปูโต๊ะ พร้อมด้วยเก้าอี้ไม้นั่งสบาย ทั้งยังใช้แสงไฟเข้าช่วยให้รู้สึกเย็นตาและสบายใจด้วยเสียงเพลงที่เปิดคลอเบา ๆ ตลอดเวลา และภายในร้านถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยประตู เพื่อให้ร้านดูไม่โล่งจนเกินไป โดยพื้นที่ด้านในสุดของร้านได้จัดเป็นห้องประชุมเล็ก ๆ ความจุคนประมาณ 10 คน สำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว นอกจากนั้น ในส่วนของด้านหน้าร้านยังมีมุมหนังสือสำหรับผู้ที่รักการอ่านอีกด้วย

"กว่าจะมาเป็นร้านนี้ได้ เราก็ใช้เวลาวางแผนกันเกือบปี ครั้งแรกที่ตกลงกันว่าจะทำร้านอาหารก็ยังงงกันอยู่ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ใครจะดูแล เพราะแต่ละคนก็มีงานประจำกันทั้งนั้น แต่พอมานั่งคุยกันจริงจังแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าที่จะทำได้ เพราะแต่ละคนยอมสละเวลามานั่งให้ความเห็นกัน จนสามารถหาข้อสรุปได้ลงตัว จากนั้นก็หาคนมาดูแลร้านแทนพวกเราคือ ผู้จัดการร้าน พ่อครัวและเด็กเสิร์ฟนั่นเอง"

หัวใจของอาหารอยู่ที่คนปรุง

นอกจากชื่อเสียงของร้านและบรรยากาศแล้ว จุดขายของ GREYHOUND CAF E ยังอยู่ที่เมนูอาหารที่มีมากกว่า 30 ชนิด โดยแบ่งเป็นเมนูหลักที่พิมพ์อยู่บนแผ่นพับสีดำขนาดใหญ่เป็นการจำลองเอากระดานดำมาไว้บนโต๊ะอาหารถือเป็นไอเดียที่ใช้ได้ทีเดียว เท่านี้ยังไม่พอทางร้านยังสรรหาเมนูพิเศษมาให้ชิมกันอีก โดยเมนูที่ว่านี้ถูกเขียนด้วยชอล์กสีขาวบนผนังห้องด้านหนึ่งที่ออกแบบให้เป็นกระดานดำจริงๆ

"สาเหตุที่เมนูของเราถูกดีไซน์ให้เป็นกระดานดำก็เพราะว่า คนที่เข้ามาทานอาหารในร้านคาเฟ่ต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะไม่ต้องการประเภทของอาหารที่มากมาย ฉะนั้นเมนูของเราจึงเป็นแค่กระดาษคู่เดียว นอกนั้นก็อาศัยดูจากกระดานเอาว่า วันนี้มีอาหารพิเศษอะไรบ้าง ซึ่งร้านเราจะเน้นอาหารจานเดียว จะไม่ทำแบบสวนอาหารที่ต้องสั่งทีละมาก ๆ"

อาหารแต่ละจานของ GREYHOUND CAF E ถูกปรุงด้วยพ่อครัวชาวไทยผู้มีประสบการณ์การปรุงอาหารในโรงแรมระดับ 5 ดาวมาแล้ว ซึ่งได้รับการทาบทามจากสมาชิกแก๊งเกรย์ฮาวด์ให้มาเป็นหัวเรือใหญ่ของร้าน GREYHOUND CAF E

"ตอนที่พี่เขาชวนมาทำร้านอาหาร ผมก็ยังไม่ได้ตัดสินใจแน่นอน เพราะต้องการฟังคอนเซปต์ของร้านและอาหารก่อนว่าเป็นสไตล์ไหน จากนั้นก็มาลองทำอาหารชิมกัน โดยพี่เขาจะช่วยกันบอกว่าอาหารนี้เป็นแบบนี้นะ รสชาติแบบนี้ด้วยการอธิบายด้วยคำพูด ซึ่งตรงนี้ต้องยอมรับว่า แม้ว่าผมจะเรียนมาทางด้านทำอาหารโดยตรง แต่ผมก็ไม่เคยเห็นหรือเคยชิมอาหารจากทุกที่ทุกแห่งมาก่อน ซึ่งตรงนี้ต้องใช้เวลาและความอดทนมากกว่าที่จะออกมาเป็นอาหารแต่ละจานที่มีรสชาติใกล้เคียงมากที่สุดกับต้นตำรับที่พวกพี่เขาไปทานมา และบางอย่างก็ต้องปรับรสชาติให้เข้ากับคนไทยด้วย และเมื่อได้รสชาติที่ต้องการแล้ว ผมก็จะเป็นผู้กำหนดสูตรส่วนผสมให้เป็นมาตรฐาน" ต่อสิทธิ์ สฤษฎิ์วงษ์ พ่อครัวของ GREYHOUND CAF E เล่า

สำหรับเมนูเด่นของร้านนี้คือสปาเก็ตตี้ปลาเค็ม (SPAGHETTI WITH THAI ANCHOVY) ซึ่งมีเบื้องหลังควมเข้าใจผิดของพ่อครัวกับคนบอกเล่าสูตรเด็ดจากมิลานที่ต่อศักดิ์ได้เล่าว่า

"ตอนแรกที่พี่เขาบอกชื่อมา ผมก็เข้าใจว่า ANCHOVY คือ ปลาตัวเล็ก ๆ ผมก็เตรียมไป แต่พี่เขาบอกว่าไม่ใช่ มันคือปลาอินทรีเค็มบ้านเรานั่นเอง ผมก็เลยทำให้ชิมใหม่ ปรับกันไปปรับกันมาจนได้รสชาติที่ต้องการ จึงออกมาเป็นเมนูนี้ได้"

วัตถุดิบ เครื่องปรุงทุกอย่างของที่นี่จะเน้นคุณภาพเป็นหลัก จึงมีต้นทุนค่อนข้างสูง ดังนั้นราคาอาหารของที่นี่จึงไม่ใช่ราคาสำหรับยุคประหยัดมากนัก แต่ก็เหมาะสำหรับคนกระเป๋าหนักย่านสุขุมวิท ที่แสวงหาความแปลกใหม่และภายในสิ้นปีนี้ก็จะได้เห็นสาขาที่ 2 ของ GREYHOUND CAF E ที่เซ็นทรัลชิดลม โดยคอนเซ็ปต์ของร้านก็จะเป็นร้านเสื้อผ้าบวกกับคาเฟ่และเนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ ร้านที่ 2 นี้จะไม่มีครัว ดังนั้นอาหารที่จะจำหน่ายที่สาขานี้จะมีเค้ก เครื่องดื่มและอาหารที่ทำง่าย ๆ จากเตาไมโครเวฟเป็นหลัก โดยร้านจะถูกแต่งเป็นลักษณะเคาน์เตอร์ สตูลบาร์ยาว ซึ่งยังคงเน้นคอนเซ็ปต์การเป็นคาเฟ่สำหรับนักเดินทางเช่นเดียวกับสาขาแรก

นี่คือตัวอย่างของนักธุรกิจกลุ่มหนึ่งที่ได้พลิกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังเป็นต่ออยู่มาเริ่มต้นธุรกิจใหม่แทนที่จะย่ำอยู่กับที่

จากความได้เปรียบในเรื่องของประสบการณ์และทำเลที่ตั้ง ผนวกกับความตั้งใจของคนกลุ่มหนึ่งกับเงินทุนก้อนเล็กก้อนหนึ่ง ก็สามารถทำให้พวกเขากลายเป็นเจ้าของธุรกิจเล็ก ๆ ที่ตั้งท่าว่าจะไปได้สวยอีกธุรกิจหนึ่งได้ไม่ยากนัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us