|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ฝ่ายวิจัยตลาดหลักทรัพย์ เผย ผลการศึกษาบริษัทจดทะเบียนไปไประดมทุนตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ชี้ ขณะนี้บริษัทไทยไปจดทะเบียนต่างประเทศกว่า 90 บริษัท ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แบบออกใบแทนหลักทรัพย์ แจง“เบียร์ช้าง”ไประดมทุนสิงคโปร์ ส่งผลมาร์เกตแคปหายอย่างน้อย 2 แสนล้านบาท -สภาพคล่องจะหายกว่า 2.6 แสนล้านบาท โบรกเกอร์เสียรายได้กว่า 650 ล้านบาท
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึง ผลการศึกษา (SET Note) เกี่ยวกับการระดมทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ว่า แม้จะเป็นผลดีในแง่ของการเพิ่มชื่อเสียงของบริษัท และลดต้นทุนการระดมทุน แต่ตลาดทุนของบริษัทนั้นๆ จะได้รับผลกระทบในเชิงลบ คือ การเสียโอกาสในการเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด สูญเสียรายได้ค่านายหน้า รวมทั้ง เงินลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศที่จะส่งผลต่อสภาพคล่องและความน่าสนใจของตลาดทุน
ขณะเดียวกัน จะมีผลต่อเนื่องให้ตลาดทุนขาดความน่าสนใจลง มีผลให้มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลง และส่งผลต่อสภาพคล่องของตลาดทุนโดยรวมเป็นรอบที่สอง
สำหรับการไประดมทุนในตลาดทุนต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่มี 3 รูปแบบ คือ การไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ (Foreign Listing) การจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 2 ประเทศ (Dual Listing) และการออกใบแทนหลักทรัพย์ หรือ DR (Depositary Receipt) ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนไทยมีการนำหลักทรัพย์ไปซื้อขายในตลาดทุนต่างประเทศมากกว่า 90 บริษัทในตลาดทุนหลักของโลกทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ส่วนใหญ่บริษัทจดทะเบียนไทยนิยมการไประดมทุนผ่าน DR โดยในประเทศเยอรมัน มีบริษัทไทยไม่ต่ำกว่า 80 บริษัทที่ออก DR มีมูลค่าการซื้อขายประมาณ 15% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดในกระดานต่างประเทศของตลาดหลักทรัพย์ฯ
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้ ได้มีการประเมินผลกระทบที่เป็นมูลค่าเชิงปริมาณ กรณี บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ โดยผลกระทบทางตรง คือจะทำให้เสียมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดขั้นต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท โดยอ้างอิงจากมูลค่า IPO (การเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรก) สภาพคล่องจะหายไปกว่า 260,000 ล้านบาท และทำให้ธุรกิจหลักทรัพย์โดยรวมสูญเสียรายได้จากการซื้อขายหลักทรัพย์ของไทยเบฟฯ อีกกว่า 650 ล้านบาท
ทั้งนี้ ทำให้ตลาดทุนไทยเสียโอกาสในการเพิ่มน้ำหนักในดัชนีระหว่างประเทศ เช่น MSCI เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีการระดมทุนที่มีขนาดใหญ่และมีผลต่อการคำนวณดัชนี MSCI Far East ex-Japan ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างประเทศที่ควรนำมาลงทุนในประเทศประมาณ 30,000 ล้านบาท
ส่วนผลกระทบทางอ้อม คือการทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของหลักทรัพย์อื่น ๆ ในตลาดทุนไทยลดลงกว่า 9 ล้านบาท และการที่สภาพคล่องของหลักทรัพย์อื่น ๆ ลดลง ก็จะส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายโดยรวมของตลาดทุนไทยลดลงอีกกว่า 22,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยยังมีปริมาณการไประดมทุนในตลาดต่างประเทศไม่สูงนัก แต่เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของตลาดทุนโลกซึ่งมีความเชื่อมโยงกันในรูปแบบต่างๆ ที่ส่งผลให้บริษัทในไทยหันไป สนใจการไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่างประเทศมากขึ้น จึงมีผลให้ตลาดทุนไทยเสียโอกาสจากการมีสภาพคล่องจากการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศได้
|
|
 |
|
|