|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สถานการณ์การเมือง เมกะโปรเจกต์เลื่อน ส่งผลความต้องการใช้เหล็กชะงัก คาดปี49โตไม่ถึง10% ด้าน"สถาบันเหล็กฯ" เดินหน้าเป็นแกนหลักดึงผู้ประกอบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ รับกระแสแข่งขันเสรีจากทุนเหล็กต่างชาติ ชู4ขั้นตอนปรับโครงสร้างอุตฯเหล็ก เลิกขายตัดราคา -เลิกตลาดเก็งกำไร -พัฒนาอุตฯเหล็กต้นน้ำลดต้นทุนนำเข้า -ส่งเสริมการใช้เหล็กในทุกอุตฯผ่านเทคโลโลยีใหม่หวังต้นทุน
ปริมาณการบริโภคเหล็กภายในประเทศในปี2548 ที่มีจำนวนสูงเกือบ15 ล้านตัน หรือเติบโตขึ้นเกือบ10% จากที่ปี47 ที่มีปริมาณการบริโภค 13 ล้านตัน ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นไปตามอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาล ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้ โดยเฉพาะเรื่องดุลการค้า เนื่องจากเหล็กเป็นสินค้านำเข้าอันดับ 2 รองจากสินค้าน้ำมัน โดยในปี2547 ไทยขาดดุลการค้าจากการนำเข้าเหล็กถึง 320,000 ล้านบาท
" ปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กในปีที่ผ่านมาเติบโต มาจากการส่งออกรถยนต์และการก่อสร้าง ซึ่งในช่วงต้นปีก็ยังประมาณการว่าตลาดในปี49 จะเติบโตสูงกว่า 10% จากการส่งออกอุตสาหกรรมรถยนต์ การก่อสร้าง และโครงการเมกะโปรเจกต์ ที่จะเริ่มการก่อสร้างในปีนี้ แต่หลังจากที่เกิดปัญหาทางการเมือง ทำให้นักลงทุนชาวต่างชาติชะลอการลงทุนในเมืองไทย ส่วนในการก่อสร้างเมกะโปรเจกต์ ที่รัฐบาลพยายามจะดึงต่างชาติเข้ามาประมูลงาน ก็อาจจะทำให้ชะลอออกไป หากปัญหายิ่งยืดเยื้อก็จะยิ่งทำให้ความเชื่อมั่นจากต่างประเทศลดลง ทำให้คาดการณ์ในปีนี้อุตฯเหล็กคงเติบโตไม่ถึง 10% แล้ว " นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยกล่าว
นายวิกรม กล่าวถึงแนวทางส่งเสริมและพัฒนาอุตฯเหล็กในประเทศว่า ในช่วงที่ผ่านมา สถาบันเหล็กฯ ในฐานะองค์กรกลางของภาครัฐ ได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการรวมตัวกัน และหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดภายในประเทศ ซึ่งขณะนี้มีผู้ประกอบการรายใหญ่ในประเทศ 4-5 รายเข้ามาร่วมหารือ โดยพุ่งประเด็นไปที่ จะลดปัญหาเรื่องการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศมาขาย ในลักษณะการตัดราคากันเองระหว่างผู้นำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาก็ช่วยลดปัญหาการแข่งขันในเรื่องดังกล่าวได้ค่อนข้างมาก ทำให้ระดับราคาขายในประเทศอยู่ในอัตราที่ไม่ผันผวน ทั้งนี้ การแก้ปัญหาการตัดราคาที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เป็นขั้นตอนแรกในการกระบวนการปรับโครงสร้างอุตฯเหล็กในประเทศ
นอกจากนี้ ได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการใช้เหล็กคุณภาพสูงหรือเหล็กที่มีแรงต้านสูงๆ เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมประเภทเครื่องจักรกล ,โรงเรือน และตลาดก่อสร้าง เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่สินค้า ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอุตฯต่อเนื่อง ไม่ว่า อุตฯก่อสร้างส่วนใหญ่ใช้เหล็กที่มีแรงต้านต่ำการก่อสร้างทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างสูง และใช้ปริมาณมากในการก่อสร้าง
โดยขั้นตอนที่ 2 คือ การส่งเสริมให้มีการแก้ปัญหาในเรื่องของตลาดเก็งกำไร เพื่อลดความผันผวนในเรื่องราคาขาย เนื่องจากตลาดรวมและผู้ประกอบการ ได้รับผลกระทบจากการเก็งกำไรค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในช่วงปีที่ผ่านมา ราคาเหล็กมีความผันผวนสูง ปรับตัวขึ้นและลงอย่างรวดเร็วจนทำให้ผู้ที่นำเข้าเหล็กเพื่อเก็งกำไรได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก
สำหรับขั้นตอนที่ 3 คือ การส่งเสริมให้มีการลงทุนโรงงานถลุงเหล็กในประเทศ เพื่อลดต้นทุนและควบคุมคุณภาพ และสร้างเสถียรภาพด้านราคาในตลาดเหล็ก และให้ไทยเป็นผู้ผลิตเหล็กใช้เองหรือเป็นธุรกิจต้นน้ำ จากเดิมเป็นเพียงผู้นำเข้ามาขายในประเทศ และแปรรูปส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นการทำธุรกิจกลางและปลายน้ำ ทำให้ควบคุมต้นทุนได้ยากและโอกาสเกิดความผันผวนในด้านราคามีสูง แต่หากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการให้เกิดการลงทุน จะส่งผลดีต่อตลาด ที่ผ่านมาบีโอไอได้อนุมัติให้เครือสหวิริยา ขยายแผนลงทุนโรงงานถลุงเหล็กรายเดียว โดยโรงงานอยู่ที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มูลค่า 9,000 กว่าล้านบาท ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 2 ปี
และขั้นตอนสุดท้าย ส่งเสริมให้เกิดการใช้เหล็กในอุตฯต่อเนื่อง และกระจายเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในทุกภาคอาชีพ อาทิ ภาคอุตฯเกษตรและก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นอุตฯขั้นพื้นฐานที่หล่อเลี้ยงประเทศ โดยเฉพาะอุตฯเกษตร ที่ยังมีการนำเครื่องจักรกลทางการเกษตรและระบบโรงเรือนเข้าไปใช้ในภาคเกษตรกรรมจำนวนที่น้อยอยู่ ทำให้ยังมีต้นทุนที่สูงจากการใช้แรงงานคนในอุตสาหกรรมเกษตรเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มคุณภาพในการผลิตด้วย
นายวิกรม กล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเหล็กและสามารถเข้าถึง ทุกภาคอาชีพในประเทศมากขึ้น สถาบันเหล็กฯ ได้ร่วมกับภาคเอกชนทั้งกลุ่มผู้ผลิต และ ผู้ให้บริการเกี่ยวข้องอุตสาหกรรมเหล็ก ผู้ผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรม ผู้ผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ จัดงาน "Bangkok Steel &Conferrence 2006" ขึ้นในวันที่ 13-15 ก.ค. 2549 ที่ เดอะรอยัล พารากอน ฮออล์ กรงเทพฯ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน
|
|
|
|
|