Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540
"FRA-AMC ความหวังอันสูงสุด"             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย สนิทวงศ์ เจริญรัตตะวงศ์
 


   
search resources

องค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน - FRA
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน - AMC




มาตรการเข้มงวดสำหรับ 58 ไฟแนนซ์ที่ปฏิเสธไม่ได้หลังจากส่งแผนฟื้นฟูกิจการแล้วไม่ว่าจะเป็นการควบกิจการหรือการดึงนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุน โดยแผนฟื้นฟูดังกล่าว จะต้องถูกส่งไปยังองค์กรที่ทางการตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อเข้ามาจัดการกับ 58 ไฟแนนซ์โดยเฉพาะ คือ องค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (Financial Restructuring Agency : FRA) เป็นผู้พิจารณา หากได้รับการอนุมัติจะได้ดำเนินการตามแผนและกลับไปสู่การเป็นสถาบันการเงินที่ดีต่อไป แต่หากไม่ได้รับการอนุมัติ FRA จะมีหน้าที่ในการเข้าไปดูแลทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น เพื่อทำหน้าที่แบ่งแยกทรัพย์สินที่ดีและไม่ดี ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ดีมีปริมาณถึง 150,000 ล้านบาท และมีเงินกองทุนเพียงพอจะได้รับอนุญาตให้ประกอบการเป็นธนาคารพาณิชย์ได้ ส่วนกรณีที่มีทรัพย์สินอยู่ระหว่าง 100,000-150,000 ล้านบาท สามารถขยายธุรกิจได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ยกเว้นการให้บริการเงินฝากกระแสรายวัน

ดังนั้นเจตนาในการจัดตั้ง FRA คือการจัดแยกหนี้ดีและหนี้เสีย โดยจะเข้าไปดูแลตั้งแต่ลูกค้าผู้ฝากเงิน แผนการฟื้นฟู หรือการเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลด้านการปฏิบัติงานจำนวน 6 ท่าน โดยมีเงินทุนเริ่มต้นที่ 500 ล้านบาท

"แต่ภาพที่ออกมารู้สึกว่ายังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ด้านลูกหนี้ปกติ ซึ่งไม่ได้มีการกล่าวถึง เพียงแต่พูดว่าใครดำเนินการได้ก็ไปดำเนินการต่อ หรือถ้าไปควบรวมกันก็นำลูกหนี้ไปดำเนินการกันเอง แต่ปัญหาที่ถูกปิดกิจการในขณะนี้คือเรื่องสภาพคล่อง ลูกหนี้เองก็มีปัญหา เพราะช่วงที่ผ่านมาลูกหนี้ที่ดีๆ เริ่มไม่มั่นคงตรงนี้ทางการยังไม่มีอะไรชัดเจนเข้ามาช่วยเหลือ ดังนั้นวิธีการที่จะช่วยได้คือ FRA ทำงานให้ได้เร็วที่สุด เพื่อเข้ามาช่วยในเรื่องประกันทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้" นักวิเคราะห์ กล่าว

เขากล่าวต่อไปว่าอาจจะมีคำถามต่อไปว่ามาตรการที่ออกนี้มีเพียงต้องการสร้างความมั่นใจเท่านั้น ซึ่งก็จะมีทั้งเจ้าหนี้ที่มั่นใจและไม่มั่นใจในมาตรการดังกล่าว ดังนั้นทางการควรเตรียมเม็ดเงินตรงนี้ไว้ เพราะ 500 ล้านบาทคงยังไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันที่มาของเม็ดเงินยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ว่าจะมาจากแหล่งไหนแต่คาดว่าคงจะนำมาจากงบประมาณ

สำหรับบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (Asset Management Company: AMC) เป็นเครื่องมือหรือกลไกในการดูแลทรัพย์สินที่ด้อยคุณภาพสำหรับ 58 ไฟแนนซ์ ซึ่งถ้าไฟแนนซ์ไหนสามารถผ่านมาตรการที่เข้มงวดและกลับไปดำเนินการได้ตามปกติก็จะออกไปอยู่ภายใต้การดูแลของ ธปท. และกระทรวงการคลัง แต่ไฟแนนซ์แห่งไหนที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้ก็ต้องมีขบวนการในการชำระบัญชีซึ่งจะต้องมีการจัดการนำทรัพย์สินต่าง ๆ ออกมาขายทอดตลาดเพื่อให้เงินกลับมาแล้วเฉลี่ยกันในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง โดยขบวนการดังกล่าวผู้ถือหุ้นจะต้องยอมรับความเสียหายไปก่อน หลังจากนั้นก็จะมีการเฉลี่ยกันในส่วนของเจ้าหนี้และผู้ฝากเงิน ถ้าทรัพย์สินไหนดีก็จะขายทอดตลาดตามปกติ แต่ถ้าทรัพย์สินไม่ดี AMC จะเป็นผู้เข้าไปซื้อหรือเข้าไปบริหารในการที่จะให้มีเงินกลับคืนมา เมื่อได้เงินคืนก็จะนำเงินมาชดเชย สิ่งที่ทางการจะต้องดูแลไฟแนนซ์ที่มีปัญหาโดยมีเงินทุนเริ่มต้นประมาณ 1,000 ล้านบาท

"ทรัพย์สินที่ AMC จะนำออกประมูล คิดว่าถ้าประมูลในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้คงจะมีราคาที่ลดลงอย่างมาก แต่ก็ยังดีที่ไม่มีอะไรกลับมาเลย" นักวิเคราะห์ กล่าว

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ได้ให้ความเห็นว่า AMC มีอำนาจในการจัดการหนี้ของไฟแนนซ์ที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้มากเกินไป แม้แต่ไฟแนนซ์ที่เป็นเจ้าของหนี้สินยังไม่สามารถเข้ามาเกี่ยวข้องได้ ในขณะที่นักวิเคราะห์เห็นว่าในความเป็นจริง เจ้าของหนี้น่าจะเป็นผู้จัดการเรื่องหนี้ได้ดีกว่าเพราะมีความเชี่ยวชาญและใกล้ชิดกับเจ้าหนี้มากกว่า อีกทั้งยังเป็นห่วงเรื่องการแทรกแซงทางการเมือง เพราะการพิจารณาในลักษณะ case by case อาจจะมีการวิ่งเต้นหรือล้วงลูกเพื่อให้หลุดพ้นจากมาตรการที่เข้มงวด

คงจะต้องติดตามกันต่อไปว่ามาตรการที่เบ็ดเสร็จในครั้งนี้จะสามารถฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินไทยให้แข็งแกร่งได้กว่าเดิมหรือไม่ ถ้าไม่สามารถทำได้สถาบันการเงินไทยคงต้องกลับไปนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us