Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 มีนาคม 2549
ปี48ยอดขอจัดสรรโต12%             
 


   
search resources

Real Estate
พงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์




ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยยอดขออนุญาตจัดสรรปีก่อนโตกว่า 12% มียอดขอจัดสรรรวม 46,299 หน่วย จาก 308 โครงการ ส่วนยอดจดทะเบียนบ้านใหม่สร้างเสร็จพุ่งกว่า 4% จำนวน 72,072 หน่วย สวนทางยอดขอสินเชื่อปล่อยใหม่ที่ยอดวูบ 7.4% คิดเป็นจำนวน 272,535 ล้านบาท ลดลงประมาณ 7.4%

พงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลปี 2548 ว่า โดยรวมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินจำนวนทั้งสิ้น 46,299 หน่วย จาก 308 โครงการ ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นในส่วนของจำนวนหน่วยราว 12.5% และจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบกับปี 2547

โดยทาวน์เฮาส์มีจำนวนสูงสุดคือ 20,336 หน่วย ในขณะที่การออกใบอนุญาตก่อสร้างทาวน์เฮาส์ในปี 2547 มีเพียง15,991 หน่วย สำหรับบ้านเดี่ยวมีการออกใบอนุญาตจำนวน 17,822 หน่วย โดยในช่วงเดียวกันของปีก่อนมีจำนวนใกล้เคียงกันคือ 17,719 หน่วย

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบรายไตรมาส พบว่าไตรมาส 1 ปี2548 เป็นช่วงที่จำนวนที่อยู่อาศัยขออนุญาตจัดสรรขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 58% บ้านเดี่ยวเป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนหน่วยสูงสุด แต่ในช่วงไตรมาส 4/2548 การขยายตัวกับมีสัดส่วนลดลงถึง 34.3% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี

อย่างไรก็ตาม หากแบ่งโครงการที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินตามทำเลที่ตั้งโครงการ พบว่ามีที่อยู่อาศัยขออนุญาตจัดสรรในกรุงเทพฯจำนวน 18,433 หน่วย จาก 161 โครงการ ขณะที่มีจำนวนหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรในพื้นที่ปริมณฑล 27,866 หน่วย จาก 147 โครงการ

สำหรับจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ในปี 2548 มีจำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับจำนวนหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรร คือ 72,072 หน่วย ขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ที่มีจำนวน 69,050 หน่วย ในจำนวนนี้ประกอบด้วยที่อยู่อาศัยสร้างโดยผู้ประกอบการ 35,935 หน่วย ประชาชนสร้างเอง 25,244 หน่วย และอาคารชุด 10,893 หน่วย โดยที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จโดยผู้ประกอบการรวมอาคารชุดขยายตัวเพิ่ม 65% ประกอบด้วย บ้านเดี่ยว 46,643 หน่วย เพิ่มขึ้น 5.4% ทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ 13,858 หน่วย ลดลง 10% อาคารชุด 10,893 หน่วย ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 29% และบ้านแฝด 678 หน่วย ลดลง 28.3%

ด้านสินเชื่อผู้ประกอบการปล่อยใหม่ทั่วประเทศ ในปี 2548 ปล่อยสินเชื่อจำนวน 28,587 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2547 มีอัตราการปล่อยสินเชื่อลดลงถึง 38% โดยในไตรมาส 4 ปี2548 ที่มียอดสินเชื่อปล่อยใหม่จำนวนทั้งสิ้น 4,975 ล้านบาท ลดลงประมาณ 55% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ที่มียอดการปล่อยสินเชื่อสูงถึง 11,174 ล้านบาท ส่วนสินเชื่อผู้ประกอบการคงค้าง ณ ปี 2548 มีจำนวนทั้งสิ้น 773,846 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากพิจารณาจากมูลค่าสินเชื่อบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ทั่วประเทศ โดยรวมในช่วงปี 2548 มีจำนวนทั้งสิ้น 272,535 ล้านบาท ลดลงประมาณ 7.4% เมื่อเทียบกับปี 2547 ที่มีการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ทั่วประเทศ 294,403 ล้านบาท โดยไตรมาส 4 ปี2548 มียอดสินเชื่อปล่อยใหม่จำนวน 68,611 ล้านบาท ขณะที่เมื่อช่วงเดียวกันของปี 2547 มียอดการปล่อยสินเชื่อจำนวนทั้งสิ้น 81,122 ล้านบาท3

จากข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าภาพอุปทาน แต่ยังขาดข้อมูลด้านอุปสงค์ และข้อมูลที่ยังไม่มีหน่วยงานใดจัดเก็บ ได้แก่ ข้อมูลที่อยู่อาศัยที่เริ่มก่อสร้าง (Housing Starts), ที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง, ที่อยู่อาศัยที่ขายได้ (Home Sales) และที่อยู่อาศัยคงเหลือพร้อมขาย

พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ศูนย์ข้อมูลฯจึงได้ริเริ่มจัดทำแบบสอบถามและออกสำรวจภาคสนามโครงการที่อยู่อาศัยในช่วงเดือนก.พ. – มี.ค. 2549 เพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์ที่แท้จริงของธุรกิจ และมีแผนจะติดตามข้อมูลดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการสำรวจข้อมูลภาคสนาม โดยการดำเนินโครงการสำรวจกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ที่โครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการเปิดขายหรือให้เช่า 3 ประเภท ได้แก่ โครงการบ้านจัดสรร, โครงการอาคารชุดพักอาศัย , โครงการเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ และอพาร์ทเมนท์ให้เช่า

โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่สำรวจให้ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯและปริมณฑล นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, นครปฐม, สมุทรสาคร ภาคเหนือ ประกอบด้วย เชียงใหม่,ลำพูน ภาคกลาง ประกอบด้วย อยุธยา, นครนายก ภาคตะวันออก ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย นครราชสีมา, ขอนแก่น และภาคใต้ ภูเก็ตและสงขลา

“ การจัดทำฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ โดยศูนย์ข้อมูลฯ จะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเนื่องจากมีข้อมูลใน 2 ส่วนทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน จะเข้าระบบฐานข้อมูลกลาง ซึ่งทำให้ผู้ใช้ข้อมูลได้รับประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะด้านการกำหนดทิศทางการลงทุนของภาคเอกชน การพิจารณาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในระบบสถาบันการเงิน และการกำหนดนโยบายส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us