Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 มีนาคม 2549
สร้างความเชื่อมั่นจากตลาดส่งออก             
 


   
search resources

มิตซูบิชิ มอเตอร์ ประเทศไทย
Automotive




หลังรุกตลาดรถปิกอัพเมืองไทยมาแล้ว มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ก็ได้ฤกษ์ส่งมิตซูบิชิ ไทรทัน ออกบุกตลาดต่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของมิตซูบิชิ และเป็นช่องทางที่มิตซูบิชิทำตลาดจนประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปิกอัพรุ่น สตราด้า ที่สามารถทำยอดขายจากการส่งออกได้รวมถึง 600,000 คัน จากรถยนต์มิตซูบิชิที่ส่งออกจากประเทศไทยทั้งหมด 800,000 คัน

สำหรับในมิตซูบิชิไทรทันนั้น ทางมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ตั้งเป้าตลาดส่งออกครั้งนี้มากถึง 140 ประเทศ ครอบคลุมประเทศในภูมิภาคอาเซียน ออสเตรเลีย ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง รวมถึงประเทศญี่ปุ่น โดยจะเป็นการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและเครื่องยนต์และชิ้นส่วนประกอบรวมทุกรุ่นประมาณ 120,000 คัน ซึ่งจะเป็นการส่งออกมิตซูบิชิ ไทรทัน ถึงกว่า 66,000 คัน

ฮิซาโยชิ คุมาอิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่า 17 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ผลิตและส่งออกรถยนต์มิตซูบิชิไปสู่ประเทศต่างๆ กว่า 140 ประเทศทั่วโลก โดยส่งออกไปแล้วกว่า 130 รุ่น ทั้งรถยนต์มิตซูบิชิ แชมป์, มิตซูบิชิ แลนเซอร์,มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ซีเดีย,มิตซูบิชิ แอล 200 ไซโคลน ,มิตซูบิชิ แอล 200 สตราดา รวมถึงรถยนต์มิตซูบิชิ สเปซ แวกอน ซึ่งถือได้ว่าบริษัทฯ ได้ดำเนินธุรกิจส่งออกรถยนต์ประสบความสำเร็จมาโดยตลอด โดยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ได้กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศเจ้าแรกที่สามารถส่งออกรถยนต์ได้กว่า 800,000 คัน

ทั้งนี้มิตซูบิชิ ยังเป็นผู้ริเริ่มวิธีการส่งออกรถยนต์แบบใหม่ โดยร่วมกับบริษัทขนส่งทางเรือขนาดใหญ่ NIPPON YUSEN KABUSHIKI KAISHA (NYK LINE) ซึ่งรู้จักกันในนาม NYK ในการพัฒนาระบบขนส่งรถยนต์ให้มีความทันสมัย ซึ่งเป็นรู้จักกันในชื่อว่า Ro-Ro (Roll on – Roll off) ด้วยการขนส่งรถยนต์แบบ Ro-Ro นี้ทำให้สามารถขนส่งรถยนต์ขึ้นเรือได้ทันที โดยไม่ต้องบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ จึงทำให้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังปลอดภัยต่อรถยนต์ที่ทำการส่งออก

ขณะที่การเปิดตัวปิกอัพมิตซูบิชิ ไทรทันในเมืองไทย ที่ผ่านมานั้นต้องถือว่ามิตซูบิชิให้ความหวังกับผลิตภัณฑ์ตัวนี้อย่างมาก จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ก่อนการเปิดตัวมีการลงทุนนำรถไทร ทัน คาราวานทัวร์ กรุงเทพฯ-มองโกเลีย-รัสเซีย-ปักกิ่ง-กรุงเทพฯ ระยะทางมากถึง 20,193 กิโลเมตร ก่อนการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งเส้นทางการเดินทางของไทรทันมรครั้งนี้ ต้องผ่านเส้นทางสายทะเลทราย สภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขา ทะเลสาบ และท้องถิ่นทุรกันดาร รวมถึงสภาพภูมิอากาศที่มีความหลากหลายทั้งฝน ชื้น ร้อนและแล้ง

มิตซูบิชิบอกว่า คารารานดังกล่าวมีถือเป็นการทดสอบสมรรถนะของรถในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการเข้าโค้งและความแข็งแกร่งของระบบช่วงล่างด้วยเส้นทางที่คดเคี้ยวกว่า 55,000 โค้ง รวมทั้งการทดสอบพลังขับเคลื่อนและเทคโนโลยีของเครื่องยนต์ใหม่ล่าสุด DI-D ไฮเปอร์ คอมมอน เรล ในสภาพอากาศที่บางเบาบนความสูงกว่า 3,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

ขณะเดียวกันก็มีการจัดกิจกรรมการแข่งขันทดสอบขับขี่ประหยัดน้ำมันของกลุ่มลูกค้า เพื่อสร้างการรับรู้ และประสบการณ์ในตัวผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มลูกค้า รวมถึงล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2549 ที่ผ่านมา ในการจัดกิจกรรมทดสอบการขับขี่ประหยัดน้ำมันโดยมีน้ำหนักบรรทุก ระยะทางมากถึง 6,000 กิโลเมตร โดยใช้บนถนนเกือบทั่วไปประเทศ

นอกจากนี้มิตซูบิชิ ยังเป็นปิกอัพแบรนด์เดียวที่มีเครื่องยนต์ให้เลือกมากที่สุดถึง 4 รุ่น ประกอบด้วย 1.เครื่องยนต์ รหัส 4D56 ไดเร็กอินเจกชั่น เทอร์โบ ให้แรงม้าสูงสุด 90 แรงม้า ที่/ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 196 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 รอบ/นาที 2. เครื่องยนต์ รหัส 4D56 DI-D ไฮเปอร์คอมมอนเรล เทอร์โบ ให้แรงม้าสูงสุด 116 แรงม้า ที่/ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 247 นิวตัน-เมตรที่ / 2,000 รอบ/นาที 3. เครื่องยนต์ รหัส 4D56 DI-D ไฮเปอร์คอมมอนเรล เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ มีแรงม้าสูงสุด 140 แรงม้าที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 321 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 รอบ/นาทีและ เครื่องยนต์รหัส 4M41 DI-D ไฮเปอร์คอมมอนเรล เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ แรงม้าสูงสุด 165 แรงม้าที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 351 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 รอบ/นาที

ทั้งนี้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส 4M41 3.2 DI-D ที่มีขนาด 3.2 ลิตร เป็นเครื่องยนต์ใหญ่ที่สุด และน่าจะแรงที่สุดในเวลานี้ถึง 165 แรงม้า มิตซูบิชิบอกว่ามันพัฒนามาจาก มิตซูบิชิ ปาเจโร่ เครื่องยนต์คอมมอนเรล เจนเนอเรชั่นล่าสุด พร้อมเทอร์โบชาร์จ อินเตอร์คูลเลอร์ ขณะที่เครื่องยนต์ขนาด 2.5 ลิตรรหัส 4D56 จะใช้ระบบวาล์วไอดี 2 ทิศทาง Twin Intake Manifold ทำให้มันช่วยเพิ่มมวลอากาศให้หนาแน่น ไหลเข้าห้องเผาไหม้ ของกระบอกสูบก่อให้เกิดกำลังอัดสูง ส่งผลให้มีแรงจุดระเบิดและการเผาไหม้ที่หมดจดมากขึ้น

ในปี 2549 นี้แนวโน้มการแข่งขันในตลาดรถปิกอัพของไทยมีแนวโน้มรุ่นแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะรถปิกอัพของผู้ผลิตทุกราย เริ่มก้าวเข้าสู่เครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลเกือบหมดแล้ว ทำให้การแข่งขันภายหลังจากนี้แต่ละค่ายต้องพยายามหาจุดขายที่แข็งแกร่งของตัวเอง

และแม้ว่าในตลาดปิกอัพของไทยจะมีอีซูซุ และโตโยต้าเป็นผู้นำตลาด แต่การเคลื่อนตัวของมิตซูบิชิ ในตลาดก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะมิตซูบิชิ ไม่เพียงทำการรุกตลาดเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น ในส่วนตลาดส่งออกเป็นหัวใจหลักที่ทางมิตซูบิชิให้ความสำคัญอยู่ไม่น้อย และที่ผ่านมาความสำเร็จจากการส่งออกก็ช่วยสร้างความมั่นใจกลับมายังตลาดในประเทศให้กับมิตซูบิชิอยู่ไม่น้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us