|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ยังคงเดินหน้าสานนโยบายสนับสนุนสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยในปี 2549 นี้ตั้งเป้าตัวเลขการปล่อยสินเชื่อกว่า 43,600 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 38,000 ล้านบาท
โดยมุ่งการสนับสนุนสินเชื่อไปยังกลุ่มแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เพื่อผลักดันการคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงสร้างสรรค์ และทำให้เกิดการจดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อจะสามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาธุรกิจต่อไป รวมถึงสินเชื่อทั่วไปใน 10 คลัสเตอร์ เช่น ท่องเที่ยว บริการ และสินค้าโอทอป
นอกจากนี้ ในปี 2549 นี้เป็นปีที่เอสเอ็มอีแบงก์กำหนดให้เป็นปีแห่งคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยหลายส่วน เช่น ความร่วมมือกับธนาคารต่างๆ ที่เป็นพันธมิตรเพื่อปล่อยสินเชื่อกรณีไม่เข้าเกณฑ์ของเอสเอ็มอีแบงก์ สนับสนุนการฟื้นฟูกิจการ ลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพื่อทางรอดของธุรกิจ
รวมทั้ง แจ้งเกิดสินค้าโอทอปด้วยการสนับสนุนการสร้างแบรนด์ในตลาด อบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการใหม่ และติดตามผู้ประกอบการรายเดิมที่ปล่อยกู้ไปแล้วกรณีที่ประสบปัญหาในการทำธุรกิจ พร้อมกับจัดหลักสูตรอบรมต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างความรู้
ขณะเดียวกัน ยังเตรียมขยายสาขาเอสเอ็มอีแบงก์ไปยังพื้นที่ต่างๆอีก 19 สาขาเพื่อครอบคลุมการให้บริการและส่งรถโมบายยูนิตออกตระเวนตามพื้นที่เพื่อให้บริการและจัดอบรมอีกด้วย
จะเห็นได้ว่านโยบายดังกล่าวส่งผลดีต่อผู้ประกอบการใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่การสร้างธุรกิจและผู้ประกอบการรายเดิมหรือที่เป็นลูกค้าแบงก์อยู่แล้วที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพื่อทางรอดธุรกิจในอนาคตและภาวะการณ์แข่งขันสูงในปัจจุบัน
เมื่อเร็วๆนี้ เอสเอ็มอีแบงก์ได้จัดโครงการเยี่ยมชมลูกค้าในจังหวัดนครปฐม “สมพงษ์ สีมาปฐมพงษ์” เป็นหนึ่งตัวอย่างลูกค้าสินเชื่อประเภทแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน เจ้าของผลิตภัณฑ์ “ปาท่องโก๋แช่แข็ง” ที่ได้นำหลักทรัพย์ค้ำประกันคือ
1.หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการบริการ ลักษณะการถือสิทธิ์เป็นเจ้าของสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว
2.หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คุณสมบัติของสิ่งที่ได้รับความคุ้มครอง ปาท่องโก๋
และ3.หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการบริการ คุณสมบัติของสิ่งที่ได้รับความคุ้มครอง บริการอาหารและเครื่องดื่ม
สมพงษ์ บอกว่า ได้ยื่นกู้ในวงเงิน 215,000 บาท เพื่อเป็นทุนในการประกอบการ พัฒนาระบบการผลิตไม่ให้ปาท่องโก๋อมน้ำมัน ได้ไขมันต่ำ ทำให้สามารถพัฒนาการยืดอายุสินค้าในการจัดจำหน่ายเพื่อส่งออกต่างประเทศ
"เงินทุนที่ได้มานั้นนอกจากเพิ่มการผลิตสินค้าได้มากแล้ว ยังใช้สำหรับการคิดค้นสูตรใหม่ๆและพัฒนาคุณภาพจนเป็นที่ยอมรับและวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง เช่น เดอะมอลล์ กว่า 7 สาขา และเตรียมขยายไปยังปั๊มน้ำมันต่างๆ"
ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ภายใต้ชื่อ “กิ่งเมืองเบญจรงค์” ของ “เมืองแมน แตงทอง” ที่ได้รวมกลุ่มชาวบ้าน ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี ผลิตขึ้นและยื่นขอสินเชื่อกับเอสเอ็มอีแบงก์ประเภทสินเชื่อโอทอป ในวงเงินสินค้าระดับ 3 ดาว ได้เพดานเงินกู้จำนวน 200,000 บาท
เมืองแมน นำเงินไปใช้สำหรับซื้ออุปกรณ์เครื่องลอกลายเซรามิคมาประยุกต์ใช้กับงานเบญจรงค์ เพื่อรองรับความต้องการตลาดที่ชอบลวดลายใหม่และเพิ่มความรวดเร็วในการผลิตจากที่ผ่านมาต้องเขียนลายด้วยมือ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม และใช้เป็นเงินทุนสำหรับอุปกรณ์และสีที่ปรับราคาสูงขึ้น
เช่นเดียวกับสินค้าโอทอปของกลุ่มชาวบ้าน ต.สระกระเทียม อ.เมือง ผลิตหมูแผ่น หมูฉีก ภายใต้แบรนด์ “หมูแผ่นผู้ใหญ่รีย์” โอทอประดับ 4 ดาวได้เพดานวงเงินกู้ 300,000 บาท “อารีย์ วงษ์ศรี” แกนนำชาวบ้านที่ได้รวมตัวผลิตสินค้าขึ้นจนได้รับการยอมรับในรสชาติจากการร่วมออกงานกับทางจังหวัด รวมทั้งผลิตขายในแบรนด์ของกลุ่ม กับการรับจ้างผลิตให้กับแบรนด์อื่นๆ
โดยจะนำสินเชื่อที่ได้ไปซื้อเครื่องสไลด์หมู ซึ่งย่นระยะเวลาและได้ปริมาณการผลิตต่อวันเพิ่มขึ้น สร้างโรงตาก ซื้อตู้อบและเครื่องซิลสูญญากาศเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดีขึ้น
สำหรับ “นฤทธิ์ ศิลากร” และ “เกศรินทร์ งามเจริญ” เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ “เกศรินทร์ฟมาร์ม” ยื่นขอวงเงินกู้ 4.5 ล้านบาท ประเภทสินเชื่อโครงการสินเชื่อพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ปีก โดยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อเปลี่ยนระบบการเลี้ยงสู่มาตรฐานกรมปศุสัตว์หรือระบบ EVAP
“เป็นลูกค้าเก่าอยู่แล้วช่วงสินเชื่อช่วยผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาไข้หวัดนก ซึ่งตอนนั้นเราไม่มีปัญหาแต่ต้องการเงินมาปรับปรุงระบบปิดหรือ EVAP ก็ได้มา 3 ล้านบาท (ดอกเบี้ย 2% จ่าย 6 เดือนครั้ง) ตอนนี้ขอกู้อีก 4.5 ล้านเพื่อขยายโรงเลี้ยงเพิ่มและปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น และมาใช้หมุนเวียนธุรกิจเพราะธุรกิจเกษตรส่วนใหญ่ใช้เงินสดซึ่งจะช่วยลดต้นทุนลงได้ ทุกวันนี้เป็นการแข่งขันการลดต้นทุนเพราะราคาสินค้าเกษตรมีการกำหนดราคาอยู่แล้ว” นฤทธิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม “เงิน” เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการต่อยอดธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น แต่จุดเริ่มต้นแนวคิดในการผลิตสินค้าออกวางจำหน่ายก็มีความสำคัญ เช่นเดียวกับความสำเร็จของลูกค้าเอสเอ็มอีแบงก์กลุ่มนี้ ที่ “สมพงษ์”เจ้าของปาท่องโก๋แช่แข็ง เกิดไอเดียจากการเห็นอาหารแช่แข็งแล้วนำมาพัฒนากับสินค้าตนเองจนทุกวันนี้ จนกระทั่งสามารถยืดระยะเวลาการเก็บรักษาได้นานถึง 6 เดือน แล้วยังสร้างความแปลกใหม่ด้วยการใส่ไส้ เช่น ไส้ชาเขียว
หรือ “เมืองแมน” ผู้คิดสร้างความแตกต่างให้กับเครื่องเบญจรงค์ด้วยลวดลายแม่ไม้มวยไทยและเป็นที่นิยมทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ส่วน “นฤทธิ์” เล็งเห็นความสำคัญของระบบ EVAP แม้ต้องใช้เงินลงทุนระบบที่สูง ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงต่อตัวสูงขึ้นถึง 30 บาท แต่ผลผลิตจากไก่ไข่ก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย
|
|
 |
|
|