|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
กาตาร์ขยายฐานธุรกิจออกจากน้ำมัน เตรียมเรียกนักลงทุนไทยเข้ากาตาร์ ชูนักลงทุนต่างประเทศถือหุ้นในบริษัทได้ 100% คาดเป็นโอกาสทองด้านการค้าและเกษตรของไทยเข้าไปตีตลาด ด้านรัฐบาลกาตาร์เตรียมทำข้อตกลงหนุนธุรกิจระหว่างกันเต็มที่ คาดเซ็นข้อตกลงทางการเกษตรระหว่างกันเร็วๆนี้
กาตาร์นับเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ในกลุ่มประเทศริมอ่าวอาหรับ การค้าร่วมระหว่างไทย-กาตาร์ปี 2546 มีมูลค่า 494.1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกสินค้าไปกาตาร์มูลค่า 28.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้าจากกาตาร์ 466 ล้านดอลลาร์สหรัฐอย่างไรก็ดีแม้ไทยจะมีการขาดดุลการค้ากับกาตาร์จากการนำเข้า น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ แต่ไทยก็มีแนวโน้มการส่งออกที่ดีขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2545 และ 2546 มีการขยายตัว ร้อยละ 14.7 และ 25.3 ตามลำดับ และในปี 2547 ไทยมียอดส่งออก 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2548 ไทยส่งออกไปกาตาร์อย่างก้าวกระโดดกว่า 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตอย่างก้าวกระโดดเลยทีเดียว
นักลงทุนต่างประเทศถือหุ้นได้ 100%
ประเทศกาตาร์จึงไม่เพียงแต่เป็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และอุปกรณ์วัสดุก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสทองสำหรับนักลงทุนทางด้านการค้าและการพาณิชย์ด้านอื่นๆด้วย เพราะด้วยเหตุที่ประเทศการ์ต้า มีนโยบายเน้นการกระจายฐานอุตสาหกรรมเพื่อลดการพึ่งพารายได้หลักที่มาจากน้ำมันและก๊าซจึงเป็นโอกาสดีสำหรับนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุนเพราะด้วยกำลังการซื้อของชาวกาตาร์ที่มีอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ด้วยอัตรารายได้ต่อหัว 30,410 เหรียญสหรัฐ (2003) หรือกว่า 1,216,400 บาท ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับด้วยกัน อีกทั้งประชาชนกาตาร์มีทัศนคติที่เป็นบวกต่อสินค้าไทย
อับดัลลา อัล-ฮามาร์ เอกอัครราชฑูตรัฐกาตาร์ ประจำประเทศไทย กล่าวว่าตอนนี้ประเทศกาตาร์กำลังเปิดประเทศตอบรับนักลงทุนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะตอนนี้ทางกาตาร์ปรับกฎหมายให้เกิดการลงทุนทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ จึงไพด้ทำการตรากกหมายเพื่อนักลงทุนต่างประเทศที่เข้าไปลงทุนในกาตาร์ขึ้นมาเฉพาะกิจโดย นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้าไปถือหุ้นเป็นเจ้าของได้ 100% เต็ม ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปทำตลาดในกาตาร์
นอกจากนั้นแล้วทางรัฐบาลกาตาร์ยังจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนเพื่อช่วยนักลงทุนต่างประเทศที่เรียกว่า Financial center ซึ่งคาดว่าจะมาจัด Road Show ในไทยปลายเดือนเมษายนนี้ คาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนจากประเทศไทย เพราะระบบธุรกิจกาตาร์ยังเป็นไปในรูปแบบธุรกิจในครอบครัว นักลงทุนจึงควรทราบลักษณะของธุรกิจก่อนเข้าไปลงทุน
และสิ่งที่ เอกอัครราชฑูตรัฐกาตาร์ ประจำประเทศไทย ย้ำก็คือสินค้าที่ผลิตที่เมืองไทยนั้นมีคุณภาพที่ดีอีกทั้งราคาถูก ชาวกาตาร์จึงมีความพอใจสินค้าไทยเป็นทุนอยู่แล้ว จึงคาดว่าการเข้าไปรุกตลาดการค้าในกาตาร์จะไม่มีปัญหา
"คนกาตาร์ชอบสินค้าไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ถ้านักธุรกิจไทยได้มีการเปิดตัวสินค้ามากขึ้น สินค้าไทยก็จะสามารถไปได้ดีในประเทศกาตาร์ได้ไม่ยาก"
เมกะโปรเจกท์การศึกษา
นอกจากนั้นการที่กาตาร์จะเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์ 2006 ซึ่งจะจัดขึ้นในปลายปีนี้ ได้ทำให้กาตาร์ลงทุนทางภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งจัดสร้างบ้านพักนักกีฬาและการลงทุนทำสนามบินใหม่อีกทั้ง การสร้างเมืองใหม่ที่สำคัญๆอีกหลายโครงการ อย่างไรก็ตามผลพวงทางเศรษฐกิจยังทำให้เกิดโมเมนตั้มทางธุรกิจในประเทศมากขึ้น
อับดัลลา อัล-ฮามาร์ กล่าวว่าทางกาตาร์เตรียมที่จะเข็นโครงการ ด้านการศึกษา เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการ Mega Project ของกาตาร์อีกเลยที่เดียว โดยทางกาตาร์ต้องการจะสร้างเมืองทางการศึกษาขึ้น และดึงมหาวิทยาลัยชั้นนำจากประเทศต่างๆเข้ามาตั้งสาขาที่ประเทสกาตาร์ เช่น มหาวิทยาลัย คอเนลล์ มหาวิทยาลัย จอร์จทาวน์ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย คอมมอนเวลล์ มหาวิทยาลัยเท็กซัส อีแอนด์เอ็ม เป็นต้น นอกจากนั้นกาตาร์จะเปิดโรงเรียนสอนกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง มหาวิทยาลัย แอสไพร์ ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านกีฬา ซึ่งจะนำนักเรียนที่มีแววทางด้านกีฬาต่างๆในภูมิภาคมาพัฒนาศักยภาพให้เทียบเท่ามาตรฐานระดับโลก อีกทั้งให้ความรู้ทางด้ารวิชาการเสริมอีกด้วย
จากการกระตุ้นภาคเศรษฐกิจในระบบอย่างครบวงจรอย่างนี้นี้เอง อับดัลลา อัล-ฮามาร์ จึงมองว่าไทยมีโอกาสอย่างมากที่จะเข้าไปทำตลาดในกาตาร์ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภคที่จะมีมากขึ้นจากการกระตุ้นจากงานเอเชียนเกมส์ แต่อย่างไรก็ตามประเทศกาตาร์ยังมีข้อด้อยในเรื่องโลจิสติกส์ ซึ่งค่าขนส่งในประเทศกาตาร์เองเป็นสัดส่วนที่สูงมาก ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรที่จะทราบไว้คร่าวๆ เพื่อการกำหนดราคาขายสินค้าที่ถูกต้อง
กาตาร์-ไทยเซ็น MOU เกษตร
นอกจากนั้นทางกาตาร์ยังเตรียมพร้อมที่จะทำความร่วมมือกับไทยอีกในหลายด้านด้วยกัน โดยเอกอัครราชฑูตรัฐกาตาร์ กล่าวว่าทางกาตาร์ เตรียมที่จะทำข้อตกลง ด้านการเกษตรกับไทยในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปไดในไม่ช้านี้
นอกจากนั้นไทยยังได้เตรียมทำข้อตกลงปูทางการค้าการลงทุนระหว่างกันไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นระหว่างการจัดทำ ซึ่งมี 5ข้อสัญญาด้วยกัน โดยทางกาตาร์ได้เสนอความตกลงว่าด้วยการส่งเสริม และคุ้มครองการลงทุน (เมื่อปี 2540) ซึ่งยังไม่ได้เริ่มการเจรจาระหว่างกันและมีการเจรจาทำความตกลงยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนรอบแรก ที่กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ และมีการลงนามย่อระหว่างกันไปแล้ว ซึ่งไทยกำลังเสนอให้คระรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ อีกทั้งในด้านแรงงานที่กาตาร์กำลังต้องการแรงงานในด้านการผลิต ทำให้กาตาร์ได้เสนอร่างความตกลงความร่วมมือว่าด้วยการจ้างงานกับไทย ซึ่งเป็นร่างความตกลงร่วมมือระหว่างกันสภาหอหารค้ากับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมกาตาร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำ กาตาร์เสนอให้มีบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วนความร่วมมือด้านสุขภาพกับไทย (อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำ) รวมทั้งไทยเองก็เสนอให้มียันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการก่อสร้างงกับกาตาร์ (อยู่ระหว่างการจัดทำ)
|
|
 |
|
|