Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 มีนาคม 543
ธุรกิจเพลงเปลี่ยนสมรภูมิ เปิดแนวรบคอนเทนท์ ฉุดบริษัทหนีตาย             
 


   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
โฮมเพจ อาร์.เอส. โปรโมชั่น

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
อาร์เอส, บมจ.
Musics
Marketing




2 ยักษ์ธุรกิจเพลงปรับกระบวนทัพรับยุคยอดขายฝืด สร้างโมเดล คอนเท้นท์ โพรไวเดอร์ หนีภาวะขาดทุนบักโกรก มุ่งความเป็นเอนเตอร์เทนเมนต์ครบวงจร ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่อยอดผลงานศิลปินโดยใช้การตลาดแนวดิ่ง

ความซบเซาของธุรกิจเพลงในปัจจุบันไม่ว่าจะทั้งค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หรือ อาร์เอส ยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งแห่งวงการนี้ก็ล้วนมีผลประกอบการล่าสุดที่แสดงถึงตัวเลขที่น่าใจหาย ผลประกอบการไตรมาส4ของปีที่แล้ว แกรมมี่ มีกำไรสุทธิเพียงแค่ 10 ล้านบาท ลดลงถึง 93%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและลด 87%เมื่อเทียบกับไตรมาส3/48 ส่วน อาร์เอส ก็ยังอยู่ในฐานะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ปี48 มียอดขาดทุนสะสมรวม 433.12 ล้านบาทเพิ่มจากปี 47 ที่ขาดทุน131.68 ล้านบาท

สิ่งเหล่านี้เป็นดัชนีชี้ให้เห็นว่าความรื่นเริงในธุรกิจเพลงได้เดินมาใกล้ถึงทางตันแล้ว ด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลงเรื่อยๆตามลำดับ ตลาดมีความอิ่มตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากความพยายามของทั้ง 2 ค่ายในช่วงก่อนหน้านี้ที่จะแตกบริษัทลูกออกมาใหม่ตามแนวเพลงที่แยกเป็นการจับกลุ่มผู้ฟังอย่างชัดเจน(Segmentation)จำนวนอัลบั้มที่ออกมาแข่งกันกระหน่ำตลาดจนแทบจะเรียกได้ว่าเกลื่อนแผง 2 ค่ายรวมกันมีผลผลิตรวมกันกว่า 400 อัลบั้มต่อปี ส่งผลถึงอายุความนิยมของอัลบั้มที่จะสั้นลงตามไปด้วย ตลาดจึงเป็นของผู้ซื้อที่จะมีสิทธิ์เสรีในการเลือกบริโภคตามใจปรารถนาสูงสุด

จากสัดส่วนการออกอัลบั้มทั้งหมด จะมีเฉลี่ยเพียงแค่ 30% เท่านั้นที่มีสภาพโผล่พ้นน้ำ หรือมียอดขายอยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ ส่วนอีก 70% ที่เหลือนั้นจะทำรายได้ในระดับปริ่มน้ำ พอคุ้มทุน ไปจนพวกที่จมน้ำ ขาดทุนกลับไป ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงระดับสูงในการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับปัจจัยการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้เกิดการคัดลอกและละเมิดลิขสิทธิ์ไปได้ง่ายและเร็วขึ้น ตามมาด้วยปัจจัยการแข่งขันจากค่ายเพลงเล็กๆที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ(Niche)ผุดขึ้นมามากแข่งขันด้วยมากขึ้น ขณะเดียวกันธุรกิจสื่อซึ่งหลายคนมองว่าเป็นเหมือนท่ออ๊อกซิเจนสำรองของค่ายยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 ก็มีกำไรไม่มากพอที่จะมาหล่อเลี้ยงบริษัทแม่ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ทำได้แค่เพียงเลี้ยงตัวเองให้อยู่ดีมีสุข ณ ระดับหนึ่งเท่านั้น

ภาวะเช่นนี้จึงทำให้ทั้ง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ อาร์เอส ต้องเร่งปรับตัวตลอดช่วงที่ผ่านมาเพื่อที่จะผ่าทางตันนี้ออกไปโดยการขยายธุรกิจให้มีความคลอมคลุมมากกว่าเดิมที่เน้นหวังเพียงรายได้จากการขายเพลงเป็นหลัก ถือเป็นการฉีกตัวเองออกจากกรอบเดิมๆเพื่อที่จะแสวงหาช่องทางเพิ่มรายได้จากช่องทางอื่นมากขึ้นและเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปในตัว

แต่ก็ใช่ว่ายักษ์ทั้ง 2 ตนนี้จะทิ้งธุรกิจเพลงไปเสียทีเดียว เป็นโมเดลการปรับตัวจากเดิมที่ทำการตลาดแนวกว้างมาเป็นการตลาดแนวลึกมากขึ้นมุ่งเน้นเฉพาะศิลปินที่มีกระแสตอบรับดีเท่านั้นโดยการต่อยอดผลงานและเพิ่มช่องทางในการทำรายได้เช่น การให้ศิลปินยอดนิยมมีการออกอัลบัมที่ถี่ขึ้น, จับคู่สร้างอัลบัมใหม่ และปัดฝุ่นเพลงเก่ามาทำรวมฮิตใส่ทำนองร้องใหม่ รวมถึงนำเพลงมาทำเป็นริงโทนโทรศัพท์มือถือเป็นต้น

เสมือนเป็นช่วงอายุที่ 3 จากจุดเริ่มต้นที่เกิดขึ้นและโตมาด้วยการขายเพลงในรูปแบบของแถบบันทึก เข้าสู่ยุคที่ 2 ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีความพยายามตะบี้ตะบันโหมเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงจากช่องทางต่างๆ ซึ่งแม้จะสร้างรายได้ให้เข้ามาเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังไม่ได้เป็นคำตอบที่ดีที่สุด จนมาถึงในยุคปัจจุบันที่ก้าวเข้าสู่ธุรกิจความบันเทิงครบวงจรโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดรับรายได้ให้เข้ามาทุกช่องทางมากขึ้น

จากการปูทางลงทุนเตรียมพื้นฐานทางด้าน โครงสร้าง แผนงาน และระบบคอมพิวเตอร์รองรับ เมื่อช่วงปีที่ผ่านมาก็ทำให้ขณะนี้ทั้ง แกรมมี่ และ อาร์เอส เริ่มมีความสามารถพร้อมที่จะเดินหน้าต่อยอดสร้างรายได้ เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานสู่ขั้นต่อไปอย่างมั่นคง เปลี่ยนบทบาทจากผู้ผลิตคอนเทนต์ไปสู่ความเป็นผู้ให้บริการด้านคอนเทนต์มากยิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นการที่แกรมมี่เปิดหลายหน่วยธุรกิจที่เข้ามาเสริมและรองรับ อาทิ อีโอทูเดย์, จีเอ็มเอ็มดิจิตอลโดเมน, จีเมมเบอร์ ซึ่งถือเป็นธุรกิจด้านออนไลน์ อีคอมเมอรซ์, ธุรกิจจัดการบริหารศิลปินอย่าง อาราทิส รวมถึงการปรับองค์กรแบ่งสายงานใหม่มีการลดคนไปถึง 2 ระลอกในปีที่แล้วและปีนี้ ประกอบกับการเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจอื่นๆอีก ไม่ว่าจะเป็น มติชน, โพสต์พับลิชชิ่ง, ซีเอ็ด ยูเคชั่น, อินเด็กซ์ อีเวนต์ และบริษัทเกมออนไลน์อีก 3 แห่งด้วยกันคือ สยามอิฟินิท, โปรเจค เอ3, เซอร์วายเวอร์ โปรเจค เพื่อต่อยอดเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจในเครือและเป็นอีกช่องทางในการนนำรายได้เข้ามาจากการรับเงินปันผล

ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เคยกล่าวถึงการขยายธุรกิจของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ไว้ว่า "ผลประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจะเป็นเรื่องของ Content คือGMM จะกลายเป็น Content Provider (ผู้ให้บริการด้านเนื้อหาและบริการ) ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ในโลกนี้มี 5 Content ที่คนต้องการสูงสุดคือ ข่าว, เพลง, ภาพยนตร์, เกม และกีฬา ซึ่งขณะนี้เรากำลังเติมเรื่องกีฬาอยู่"

ขณะที่ อาร์เอส ก็ได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรตลอดช่วงที่ผ่านมาเช่นกัน และเพิ่งจะประกาศรีแบรนด์ในโอกาสครบรอบ 25 ปีของการก่อตั้งไปเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้เอง โดยมีการปรับเปลี่ยนโลโก้ให้ดูมีความทันสมัยมากขึ้นเพื่อขจัดภาพลักษณ์ของบริษัทที่ผู้บริโภคมักมองว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเพลงแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาทัศนคติของบุคลากรให้เกิดความเข้าใจพร้อมที่จะเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกันอีกด้วย

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า "สำหรับแผนการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทได้ขยายธุรกิจคอนเทนต์ไปสู่รูปแบบต่างๆมากขึ้น โดยมุ่งเน้นความเป็นธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์ครบวงจร คลอบคลุมทุกๆสื่อ โดยเฉพาะสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกระแสความนิยมและอัตราการเติบโตสูงอยู่ในขณะนี้ ซึ่ง อาร์เอส ก็มีการให้บริการผ่านมือถือและอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีสายงาน I-am ที่เข้ามาเป็นอีกแรงหนึ่งในการขับเคลื่อนที่สำคัญ บริหารศิลปินต่อยอดสร้างรายได้เป็นมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัท ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดและนำมาซึ่งการเติบโตต่อไป"

การเดินหมากของทั้ง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ อาร์เอส ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในกระบวนการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่ได้รอดภายใต้สถานการณ์ภาวการณ์แข่งขันที่เริ่มเปลี่ยนสมรภูมิไป โดยเปิดรับช่วงรายได้อื่นให้เข้ามามากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับธุรกิจเพลงในต่างประเทศ ซึ่งนักร้องแต่ละคนจะมีรายได้ราว 20% เท่านั้นที่มาจากการขายซีดี ส่วนการแสดงคอนเสิร์ต, ขายเพลงผ่านระบบออนไลน์ฯลฯ จะคิดเป็นรายได้ถึง 80% ซึ่งทั้งไพบูลย์ และ สุรชัยก็ได้มีมุมมองแนวคิดในลักษณะเดียวกันว่า วันหนึ่งข้างหน้าศิลปินอาจจะออกเพลงมาแค่ 1 หรือ 2 เพลงต่ออัลบัมก็ได้และไม่ต้องขายแผ่นเลยแต่จะมีรายได้ที่เข้ามาจากช่องทางอื่นๆซึ่งอาจจะทำกำไรได้ดีกว่าการขายแผ่นในปัจจุบันด้วยซ้ำ

ชัยชนะในครั้งนี้คงไม่ได้วัดจากแค่ผลระยะสั้นเพียงตัวเลขส่วนแบ่งตลาด หากแต่จะวัดถึงประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานต่อจากนี้เป็นต้นไปว่า ใครจะสามารถอยู่ได้รอดเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคในระยะยาวที่จะสามารถตอบโจทย์และต่อยอดกราฟวัฎจักรวงจรธุรกิจ S-curve ให้เติบโตต่อไปได้อย่างไม่สะดุดและไม่มีที่สิ้นสุดต่างหาก ก้าวสู่เป้าหมายความเป็นอาณาจักรธุรกิจเอนเตอร์เทนเทนเมนต์ครบวงจรโดยมีมิติด้านความเร็วและความพร้อมในการปรับตัวเป็นปัจจัยสนับสนุนความได้เปรียบ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us