Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540
"ไปรษณีย์เอกชนบนหนทางเพื่อให้อยู่รอด"             
โดย พิจิตรา ยิ้มจันทร์
 


   
search resources

เมล์บ๊อกซ์ อีทีซี
ปรมี แสวงรุจน์
Transportation




ความตื่นตัวของธุรกิจไปรษณีย์เอกชนในประเทศไทยตั้งแต่เดือนกันยายน 2537 เมื่อบริษัทเมล์บ๊อกซ์ อีทีซี (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ MBE ผู้ได้รับสิทธิสัมปทานธุรกิจในประเทศไทยของบริษัท Mail Boxes Etc. U.S.A.ในสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะ Master License โดยรับโอนมาจาก Peacore-Living Consortium Ltd.(PCL)

ประธานกรรมการบริหารคือสุรศักดิ์ แสวงรุจน์ ผู้เห็นความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจ แฟรนไชส์ไปรษณีย์ในประเทศไทย จากการดูงานในต่างประเทศ หลังลาออกจากธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ หรือ BBC และมาจับธุรกิจด้านนี้อย่างเต็มตัว โดยศึกษาความเป็นไปได้ในไทยถึง 6 เดือน

MBE ในต่างประเทศ เริ่มตั้งแต่ปี 2524 มีสาขากว่า 3,400 แห่งใน 54 ประเทศทั่วโลก ได้เข้าร่วมกิจการกับ U.S. Office Products Co. ซึ่งจำหน่ายสินค้าประเภทอุปกรณ์สำนักงานผ่าน 34,000 สาขาทั่วโลก ความแข็งแกร่งของธุรกิจนี้จึงมีมากพอทำให้หลายคนรู้จักแบรนด์เนม MBE ได้เป็นอย่างดี

ไม่ใช่เพียงสุรศักดิ์เพียงคนเดียวที่มองเห็นช่องทาง มีการแยกตัวดำเนินการของผู้ให้บริการที่เป็นคนไทยโดยอาศัยความรู้ที่เคยทำงานกับ MBE รุ่นก่อตั้ง สร้างโครงข่ายใหม่ของกิจการไปรษณีย์เอกชน "มิสเตอร์ โพสต์แมน" โดยไม่มีแฟรนไชส์นอกเข้ามาเกี่ยวข้อง

พูนศักดิ์ เธียไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการ อีเทอร์นิตี้ เมลลิ่ง เซอร์วิส จำกัด เป็นผู้บุกเบิกกิจการเมล์ บ๊อกซ์ในนามคนไทย และดูเหมือนจะเป็นคู่แข่งสำคัญของ MBE เพราะเคยรู้ระบบงานของ MBE มาก่อน

เขาสามารถตั้งราคาลงทุนได้ต่ำกว่า โดยเฉพาะค่าสิทธิสัมปทาน และค่าการตลาด เนื่องจากไม่ต้องถือนโยบายบริษัทแม่เหมือน MBE

บริการบางส่วนที่ MBE มี มิสเตอร์ โพสต์แมน ก็มีแถมพ่วงด้วยการให้บริการด้านการดำเนินงานพิธีการศุลกากรเพื่อขนส่งสิค้าและพัสดุภัณฑ์ทางทะเล เนื่องจากมีบริษัทชิปปิ้งอยู่ในเครือ และยังร่วมในการจัดส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษผ่านระบบ DHL กับการใช้โครงข่ายของบริษัทจาร์ดีน เฟรท เซอร์วิส จำกัดในการจัดส่งพัสดุด้วย

แต่ก็แน่นอนว่าเขาก็ต้องทำธุรกิจแบบลองผิดลองถูกเหมือน MBE แล้วธุรกิจนี้มีความยุ่งยากอย่างไร

เป้าหมายของ MBE ในประเทศไทยนั้น ต้องการขยายสาขาลักษณะแฟรนไชส์ทั่วประเทศ และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนอกจากจะให้บริการรับส่งจดหมาย และไปรษณียภัณฑ์แล้ว ยังเปิดเป็นร้านค้าสะดวกซื้อแบบครบวงจรด้วย

แผนงานที่วางไว้ยังไม่บรรลุแม้จะเป็นผู้บุกเบิกหลักเพราะอุปสรรคหลายประการ

ผ่านไปประมาณ 3 ปี สำนักงานสาขาแบบแฟรนไชส์มีอยู่ประมาณ 20 แห่งทั่วประเทศ มีบางสาขาที่ต้องปิดตัวไป และมีบางสาขาที่กำลังจะเปิดให้บริการ และดูเหมือนว่าข้อจำกัดของการเปิดสาขาคงมีอยู่ เมื่อ กสท. ให้ฝ่ายนิติกรศึกษาข้อกฎหมาย

หากเอกชนมีสาขาเพิ่มมากขึ้น กสท. ก็อาจต้องลงมาปรามเอกชน ฐานที่ทำธุรกิจที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจาก กสท. อย่างเต็มตัว

ขณะเดียวกันคนไทยอีกหลายคนยังไม่รู้ว่าธุรกิจไปรษณีย์เอกชน มีไว้เพื่ออะไรและจะดีไปกว่าการเข้าไปใช้บริการในที่ทำการไปรษณีย์ของ กสท. ได้อย่างไร เพราะต้องเสียค่าบริการเพิ่ม

ด้านการลงทุน ความต้องการของนักลงทุนรายย่อยในการทำธุรกิจแบบใหม่นี้มีเพิ่มขึ้น หลังจากผิดหวังจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนในบริษัทขนาดใหญ่

ปรมี แสวงรุจน์ ผู้จัดการด้านการตลาดและพัฒนาธุรกิจ ซึ่งเป็นบุตรชายของสุรศักดิ์ มีความมุ่งมั่นในธุรกิจใหม่นี้ แม้จะเริ่มจับงานได้ไม่นานก็ตาม เป็นผู้มีหน้าที่ในการพิจารณาผู้เสนอตัวเข้ามาลงทุนในสาขาย่อย

เขากล่าวว่าในช่วงสภาพเศรษฐกิจขาลงของไทย และคนที่ต้องลาออกจากงานซึ่งกำลังมองหาธุรกิจที่พอเลี้ยงตนเองได้ จึงมีคนสนใจติดต่อเพื่อขอเปิดสำนักงานสาขามาก แต่ด้วยประสบการณ์บางอย่างที่ผ่านมาของ MBE ในไทย ทำให้ทุกวันนี้ต้องมีการคัดเลือกผู้ลงทุนอย่างมาก

ปรมียอมรับว่า การทำธุรกิจในช่วงแรกนั้น เป็นการลองผิดลองถูก ในเรื่องการหาผู้เข้ามาเป็นแฟรนไชส์ ตัวธุรกิจที่ให้บริการเองก็ต้องมีการปรับเข้ากับคนไทย เริ่มรู้ว่าอะไรที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ การขยายสาขาจะทำมากก็ได้แต่ที่สำคัญคือ ผู้ประกอบการรายย่อยต้องเข้าใจในธุรกิจแฟรนไชส์

ดังนั้นเป้าหมายของ MBE จึงไปอยู่ที่ ผู้ลงทุนรายย่อยที่เข้ามาติดต่อ โดยจะเลือกคนที่มีคุณภาพ หากไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ก็ต้องระงับเรื่องไว้

ลักษณะการทำธุรกิจก็เป็นแบบ ครึ่งหนึ่งสำนักงานใหญ่จะให้แนวทางในการทำธุรกิจ อีกครึ่งมาจากการลงทุนแรงงานของรายย่อยเอง ที่ต้องออกไปบริการ จัดหาตลาดด้วยตนเอง เจ้าของกิจการต้องมีการทุ่มเท ไม่ควรปล่อยให้ลูกจ้างในร้านทำเพียงลำพังเพราะจะไม่เข้าใจเรื่องการให้บริการ มีการทำงานตามแผนงาน ทำการตลาดอย่างสม่ำเสมอ

เป็นเพราะหลังการลองผิดลองถูกมาระยะหนึ่งของ MBE ในช่วงเริ่มก่อตัวทางธุรกิจ ได้สร้างปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างผู้ลงทุนรายย่อยรุ่นแรกในหลายสาขา กับผู้เป็นเจ้าของสิทธิสัมปทานในไทย ทำให้เกิดการเรียกร้องเรื่องแก้ไขสัญญา 15 ข้อ จากสัญญา 16 ข้อ ซึ่งยังไม่มีข้อยุติ

ผู้ลงทุนรายหนึ่งแสดงความเห็นว่า การที่ต้องเสียค่าสิทธิสัมปทานในราคาสูงถึง 6.5 แสนบาท ซึ่งยังไม่นับค่าลงทุนด้านอื่น ประกอบกับค่าลิขสิทธิ์และการทำโฆษณารวม 8% ต่อเดือนทำให้ภาระค่าใช้จ่ายมีมาก เทียบกับรายรับที่มีน้อย

ที่สำคัญก็คือสำนักงานใหญ่ขาดการช่วยเหลือด้านประชาสัมพันธ์ จึงทำให้ประชาชนไม่รู้จัก MBE ดีพอและไม่มาใช้บริการ ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างประเทศที่รู้จัก MBE มาก่อน

ผู้ลงทุนรายย่อยคนเดิมย้ำว่ารายได้ต่อวันมีน้อยมาก บางเดือนเฉลี่ยต่อวันไม่ถึง 1,000 บาท ซึ่งอาจส่งผลให้สาขาบางแห่งต้องปิดตัวเอง เพราะทนแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว แต่ทั้งนี้ความคาดหวังของผู้ลงทุนรายย่อยนั้น อาจสวนกระแสกับนโยบายของสำนักงานใหญ่

นั่นจึงเป็นเหตุผลในระยะเวลาต่อมาว่า สำนักงานใหญ่ของ MBE มีความเข้มข้นขึ้นในการเลือกผู้ลงทุนรายย่อยที่จะเข้ามาลงทุน

"เราจะดูความเหมาะสมกับผู้ที่เข้ามาลงทุน ทุกคนอยากทำหมด แต่ต้องดูข้อจำกัด คุณมีเวลาให้ธุรกิจหรือเปล่า ถ้าเปิดเป็นไซด์ไลน์ เป็นข้อจำกัด ต้องมีเวลาจริงจังให้ธุรกิจต้องรู้ว่ามีค่าใช้จ่ายอะไร และรู้ว่าต่อเดือนควรมีรายได้เท่าไรที่จะเข้า ผู้ลงทุนรายย่อยเข้าใจ ยอมรับข้อจำกัดหรือสภาพของเราได้หรือเปล่า" ปรมีย้ำถึงวิธีแก้ปัญหาที่ MBE ประเทศไทยกำลังดำเนินการอยู่

เพราะอย่างไรเสียการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของสิทธิสัมปทานก็ต้องพึ่งผู้ลงทุนรายย่อย ขณะที่ผู้ลงทุนรายย่อยก็ต้องพึ่งเจ้าของสิทธิ ครึ่งหนึ่งเจ้าของสิทธิจะแนะแนวทางให้ ส่วนที่เหลืออีกครึ่งผู้ลงทุนรายย่อยต้องดำเนินการเอง หากมีความเข้าใจกันและกันตรงนี้ปัญหาคงไม่เกิด

แต่พื้นฐานที่สำคัญคือ การทำเมล์ บ๊อกซ์ รายได้ที่จะได้เพิ่มนั้นก็ขึ้นอยู่กับปริมาณผู้ใช้บริการ และรายได้หลักก็ไม่ใช่การรับฝากส่งจดหมายกับพัสดุเพียงอย่างเดียว บริการอื่นในร้านน่าที่จะทำให้คนหันมาใช้บริการมากกว่า

แน่นอนว่าการทำธุรกิจเมล์ บ๊อกซ์ไม่ใช่คู่แข่งของ กสท. แต่เป็นบริการพิเศษที่เอกชนมีให้ โดยมุ่งไปที่บริการด้านอื่น ๆ ที่มีอยู่ในร้าน เพียงแค่รับส่งจดหมาย พัสดุ กับขายแสตมป์ไม่ใช่หนทางที่สวยงามนักของธุรกิจเมล์ บ๊อกซ์ เพราะขนาดร้านสะดวกซื้อ ที่มีแฟรนไชส์ทั่วประเทศอย่างเซเว่น อีเลฟเว่น ก็ได้สิทธิ์ขายแสตมป์จากกสท.แล้ว หากเขาคิดว่าจะทำบริการที่คล้าย เมล์บ๊อกซ์เพิ่มก็คงไม่ยาก

นั่นไม่ใช่การเพิ่มคู่แข่งของ กสท. แต่เป็นการเพิ่มคู่แข่งของเอกชนด้วยกันเอง

และการปรับปรุงของ กสท.เพื่อให้อยู่รอดภายใต้กฎการค้าเสรี ก็เป็นผลลบกับธุรกิจเมล์บ๊อกซ์เอกชน เพราะหาก กสท. ปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพดีขึ้นด้านความสะดวกของผู้ใช้บริการ ย่อมกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญของเอกชน จากการที่มีโครงข่ายด้านระบบการนำฝาก นำจ่าย ซึ่งเอกชนไม่มี บวกกับความไว้วางใจที่ลูกค้ามีให้

"เราไปแข่งกับเขาไม่ได้ เขามีโครงข่าย เราจะทำเองไม่ได้ เราไม่ได้อยู่ในธุรกิจขนส่ง เราแค่รับฝากข้อตกลงยังไม่มีข้อจำกัด" ปรมีกล่าวถึงจุดอ่อนของเอกชน

ดังนั้นหากไม่มีการทำธุรกิจด้านอื่นควบไปด้วยก็คงไม่สามารถสร้างรายได้ให้กับร้าน

การปรับตัวของธุรกิจเมล์บ๊อกซ์จึงต้องเพิ่มความหลากหลายมากขึ้นในการให้บริการ เพื่อให้อยู่รอด MBE ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับกลยุทธ์เพื่อให้เข้าใจการตลาดแบบไทยๆ และคงต้องยุติปัญหาที่เกิดกับผู้ลงทันรายย่อยโดยเร็วก่อนการเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้น

ยังมีธุรกิจใหม่ๆ ที่ MBE บุกเบิกเหมือนที่ MBE ในต่างประเทศทำ นั่นคือการโอนเงินข้ามประเทศโดยร่วมกับสาขาที่มีอยู่ทั่วโลก กับการเป็นตัวแทนจัดส่งเครื่องใช้ไฟฟ้า SONY ไปซ่อมที่ศูนย์บริการ โดยคิดค่าตัวแทนจากลูกค้า ก็จะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับกิจการได้อีกทางหนึ่ง

ขณะที่มิสเตอร์ โพสต์แมน ซึ่งเป็นธุรกิจคนไทยเองก็หาวิธีรุกด้านอื่น โดยเข้าร่วมกับร้านสะดวกซื้อ "ซีเล็ค" ในปั๊มน้ำมันเชลล์ ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เริ่มให้บริการที่สำนักงานใหญ่คลองเตย มีทั้งจำหน่ายแสตมป์ ส่งจดหมาย ส่งพัสดุด่วน DHL และบริการพนักงานส่งเอกสารภายในกรุงเทพฯ และจะมีบริการลักษณะนี้ตามมาในร้านซีเล็คอีก 10 แห่งภายในปีนี้

อีกหนทางที่จะเสริมให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ เพราะการทำแค่เมล์บ๊อกซ์ เพียงด้านเดียวในเมืองไทยนั้นยังไม่ใช่หนทางที่จะอยู่รอดได้เต็มตัวของนักลงทุนรายย่อย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us