|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เคทีซี ผู้นำธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคของไทย ลงนามในสัญญาจัดหาแหล่งเงินทุนใหม่กับธนาคารต่างประเทศ ในรูปแบบของซินดิเคท ออฟชอร์ โลน มูลค่า 15,000 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทยเท่ากับ 5,160 ล้านบาท ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.3% ต่อปี เพื่อนำเงินมาไถ่ถอนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนด 8 เมษายนนี้ พร้อมรองรับความต่อเนื่องในการใช้เงินทุนของบริษัทฯ ปูทางเพื่อโอกาสธุรกิจในอนาคต และเมื่อสัญญาครบกำหนด จะจ่ายคืนเงินกู้เป็นสกุลเงินบาท ทำให้ลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร "เคทีซี" หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หุ้นกู้ของเคทีซี ครั้งที่ 1/2546 จำนวน 5,000 ล้านบาท จะครบกำหนด ไถ่ถอนในวันที่ 8 เมษายน 2549 บริษัท จึงพิจารณาระดมทุน เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้จำนวนดังกล่าว อีกทั้งเพื่อรองรับความต่อเนื่องของการใช้เงินทุนของบริษัทฯในหลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา ปัจจัยต่างๆ ส่งผลให้ตลาดการกู้ยืมในประเทศโดยรวมลดน้อยลง อีกทั้งสภาพของตลาดหุ้นกู้ในประเทศเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการเติบโตของธุรกิจ
บริษัท จึงพิจารณาทางเลือกของการระดมทุนในรูปแบบอื่นควบคู่ไปด้วย และพบว่าการจัดหาแหล่งเงินทุนในลักษณะของซินดิเคท ออฟชอร์ โลน (Syndicated Offshore Loan) ซึ่งเป็นการระดมเงินทุนจากต่างประเทศ เป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะการทำซินดิเคท ออฟชอร์ โลน จะปรับลดสัดส่วนหุ้นกู้ในประเทศของเคทีซีลง ทำให้บริษัทสามารถออกหุ้นกู้ในประเทศได้มากขึ้น และช่วยเพิ่มความสามารถในการกู้ยืมของบริษัทฯ ได้อีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันมีกองทุนต่างๆ สนใจลงทุนในอัตราค่อนข้างสูง แต่ไม่สามารถลงทุนเพิ่มเติมได้อีกมากนัก
การทำสัญญาซินดิเคท ออฟชอร์ โลน ในครั้งนี้ มีมูลค่า 15,000 ล้านเยน หรือ 5,160 ล้านบาท ระยะเวลาในการชำระคืนเงินกู้ 3 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.3% ต่อปี ซึ่งไม่แตกต่างจากการกู้ยืมภายในประเทศ แต่เคทีซีเล็งเห็นถึงโอกาสในการแสวงหาพันธมิตรใหม่ในต่างประเทศ และยังเป็นช่องทางในการสร้างโอกาสทางธุรกิจในอนาคตอีกด้วย โดยการกู้ยืมในครั้งนี้ทางบาร์เคลย์ส แคปปิตอล จากอังกฤษ ธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรท ธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ และธนาคาร โนรินชูคิน สาขาสิงคโปร์ ได้ทำหน้าที่เป็นแกนนำในการปล่อยกู้ (Mandated Lead Arranger)
ร่วมกับอีก 6 สถาบันการเงินซึ่งจะเข้าร่วมระดมทุน (General Syndication) ได้แก่ ซูมิโตโม ทรัสต์แอนด์แบงค์กิ้ง สาขาสิงคโปร์ / อินเตอร์เนชั่นแนล คอมเมอร์เชียล แบงค์ออฟไชน่า สาขาการธนาคารต่างประเทศ / แบงค์ออฟไชน่า สาขากรุงเทพฯ และการธนาคารระหว่างประเทศ / แบงค์ออฟไต้หวัน สาขาสิงคโปร์ / ธนาคารชางหวา คอมเมอร์เชียล สาขาสิงคโปร์ และธนาคารอี-ซัน คอมเมอร์เชียล สาขาการธนาคารต่างประเทศ โดยที่ธนาคาร บาร์เคลย์ส จำกัด (มหาชน) สาขาฮ่องกง ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็น Facility Agent
การที่เคทีซีเลือกที่จะขยายการหาแหล่งเงินทุนไปยังต่างประเทศ เนื่องมาจากตลาดต่างประเทศยังมีสภาพคล่องสูง (favorable market condition) ทำให้บริษัทฯ สามารถกู้เงินได้ในจำนวนที่ต้องการ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีอิสระในการกำหนดรูปแบบการกู้ยืม (flexibility in structuring) เช่น สกุลเงิน หรือข้อกำหนดการกู้ยืม อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ ทำให้ เคทีซีเป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมทั้งการมีธนาคารที่น่าเชื่อถือ (Barclays Bank PLC, "AA" rating) ทำหน้าที่ underwrite เต็มจำนวน ทำให้การกู้ยืมของบริษัทฯ มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
"นอกจากนี้ เคทีซียังได้บริหารความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยการทำสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงิน (Cross Currency Swap) ทำให้เงินต้นและดอกเบี้ยจากการทำซินดิเคท ออฟชอร์ โลนครั้งนี้ อยู่ในรูปของเงินสกุลบาททั้งสิ้น จึงไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนแต่อย่างใด" นายนิวัตต์ กล่าว
|
|
|
|
|