Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540
"พอกันทีไปรษณีย์แบบเก่า ยุคปรับโฉม กสท. แบบเอกชน"             
โดย พิจิตรา ยิ้มจันทร์
 


   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
ธีระพงศ์ สุทธินันท์
Transportation




กิจการไปรษณีย์ไทยแบบเดิม ผูกขาดโดย กสท. เมื่อถึงคราวต้องปรับตัวรับแผนแม่บทฯ และการค้าเสรี หน่วยงานแห่งนี้จะทำอย่างไร? เอกชนมองเห็นช่องทางในการทำธุรกิจใหม่ "เมลล์ บ๊อกซ์" เสริมช่องว่างรัฐ หนทางนี้ยังไม่รุ่งหากไม่ทำธุรกิจอื่นเสริม

เมื่อกสท.ต้องปรับตัว

แนวเจตนาที่ชัดเจนของการจัดทำแผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคม ส่วนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ถูกระบุว่าต้องทำการแปรรูปหน่วยงานตนเองให้มีความคล่องตัวเพื่อรอรับการแข่งขันเสรี

กิจการโทรคมนาคม เป็นที่หมายตาของภาคเอกชนหลายราย ที่แม้แต่ธุรกิจยักษ์ใหญ่ด้านการเกษตร อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ ต้องตั้งเข็มทิศตัวใหม่มุ่งสู่ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมอย่างเต็มตัว

แล้วกิจการด้านไปรษณีย์โทรเลข จะทำตัวอย่างไร?

กสท. รอบทสรุปของแผนแม่บทว่าจะเกื้อหนุนกิจการไปรษณีย์มากน้อยแค่ไหน ในเมื่อการปรับเปลี่ยนแผนแม่บทฯ ยังไม่มีความชัดเจน

กิจการไปรษณีย์ เป็นส่วนที่ถูกระบุว่าไม่สร้างเสริมกำไรให้กับ กสท. มากเท่ากับด้านโทรคมนาคม แต่ต้องถูกตัดแยกออกมาเพื่อให้เลี้ยงตนเองได้ และต้องมีการแข่งขันเสรี ตามเงื่อนไขสากลของ GATT และ WTO

งานไปรษณีย์ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กก็คงไม่เล็กอีกต่อไป

แม้ผู้บริหารระดับสูงของ กสท. หลายท่านยืนยันว่า การปรับปรุงด้านกิจการไปรษณีย์ไม่ได้เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นในช่วงนี้ แต่มีการปรับตัวเป็นระยะและต่อเนื่อง แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน จะเห็นความชัดเจนมาก โดยเฉพาะเมื่อมีเอกชนให้ความสนใจกับธุรกิจด้านนี้ และหาช่องทางขยายธุรกิจใหม่เข้ามา

กสท. ตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงกิจการด้านไปรษณีย์มีการเดินทางไปดูงานต่างประเทศ มีการประชุมหารืออย่างต่อเนื่อง การจัดซื้อระบบเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติจากบริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ในวงเงินเกือบ 2,000 ล้านบาท การจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อปรับปรุงงานด้านระบบนำฝาก และนำจ่ายให้เป็นแบบศูนย์ที่มีการดำเนินงานของตนเอง หรือ Responsibility Center เป็นการลงลึกในรายละเอียดแล้วว่า กสท. จะพัฒนาระบบไปรษณีย์ของไทยอย่างไร

ธีระพงษ์ สุทธินนท์ รองผู้ว่าการด้านไปรษณีย์ กล่าวว่ากิจการด้านไปรษณีย์ ต้องสามารถเลี้ยงตนเองได้ วิธีที่จะทำได้ก็คือลดค่าใช้จ่าย กับการเพิ่มรายได้ ต้นทุนการดำเนินงานนั้นต้องอยู่ในอัตราที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องไม่ส่งผลกระทบกับผู้ใช้บริการ

การลดรายจ่ายที่เห็นได้ชัดของ กสท. ก็คือความพยายามที่จะไม่เพิ่มอัตราพนักงาน แม้งานด้านไปรษณีย์จะขยายตัวขึ้นก็ตาม

"วิธีที่ทำได้ก็คือการทำให้ระบบงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขนาดของคนทำงานลง" นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่เสนอให้มีการใช้ระบบเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ แทนการใช้คนจำนวนมาก และเริ่มทดลองใช้ให้บริการประชาชนแล้วที่สำนักงานไปรษณีย์สุขุมวิทบริเวณซอยคาวบอย

การปรับปรุงด้านระบบรับฝาก การจัดแยกส่งต่อ และการนำจ่าย ในการทำงานไปรษณีย์ทั้ง 3 ส่วนนี้ มีเพียงระบบรับฝากเท่านั้นที่มีรายได้เข้า สองส่วนที่เหลือนอกจากจะไม่มีรายได้ยังมีแต่ตัวเลขค่าใช้จ่าย ซึ่งแต่ละส่วนน่าที่จะทำงานแบบพึ่งพาตนเองได้

การจ้างบริษัทที่ปรึกษา บริษัทพีค มาร์วิค แอนด์ สุธี มาศึกษาระบบงานทั้ง 3 ส่วนเพื่อปรับปรุงนั้นเพื่อทำให้แต่ละหน่วยมีรายได้ และค่าใช้จ่ายเป็นของตนเอง เนื่องจากส่วนรับฝากต้องไปใช้บริการของส่วนจัดแยก ส่งต่อและนำจ่าย เมื่อ 2 หน่วยหลังให้บริการเกิดขึ้นก็ต้องมีรายได้ ในลักษณะที่ส่วนนำฝากจ้างทำงานให้

ขณะที่ศูนย์การนำจ่าย ก็จ้างให้ทางนิวซีแลนด์ โพสต์มาเป็นที่ปรึกษาปรับปรุงระบบให้

เป็นวิธีที่ทำให้เห็นต้นทุนและรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละส่วนงานและทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สุวรรณ รัฐกุล ผู้อำนวยการกองแผนงานและพัฒนาไปรษณีย์ กล่าวถึงวิธีการปรับปรุงระบบการนำฝากและนำจ่ายของ กสท. ที่จะมีส่วนช่วยทำให้ระบบงานไปรษณีย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การปรับตัวของ กสท. ในระดับนี้ อาจนับได้ว่ายังไม่เพียงพอสำหรับ กสท. หากต้องเลี้ยงตนเองได้หลังการเปิดใช้แผนแม่บทฯ

มีการพยายามในหลายครั้งของ กสท. ที่จะให้มีการปรับปรุงค่าการนำส่งจดหมาย และพัสดุภัณฑ์ ด้วยการเพิ่มราคาแสตมป์ อย่างเฉพาะแค่ค่าส่งจดหมายจาก 2 บาทต่อฉบับสำหรับนำส่งภายในประเทศ เป็น 3 บาท

แน่นอนเรื่องนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบ แค่เรื่องค่าแสตมป์เรื่องเดียวก็สร้างความปั่นป่วนตั้งแต่ระดับคณะทำงานของ กสท. เรื่อยไปจนถึงคณะกรรมการ กสท. แม้กระทั่งที่กระทรวงคมนาคม

"ถ้าเราส่งเรื่องขึ้นค่าแสตมป์ไปที่กระทรวงคมนาคม แน่นอนผู้ใหญ่ย่อมไม่พอใจ เราเลยระงับเรื่องนี้ไว้" นั่นเป็นข้อสรุปจากเจ้าหน้าที่ กสท. ที่ทำงานเกี่ยวกับด้านไปรษณีย์

และทุกวันนี้ ค่าส่งจดหมายก็ยังคงอยู่ที่ราคาเดิมทั้งที่ต้นทุนในการนำส่งเพิ่มมากขึ้น

ประมาณต้นทุนต่อการส่งจดหมาย 1 ฉบับตกประมาณฉบับละ 3.50 บาท ซึ่งเท่ากับเราทำขาดทุนอยู่แต่การขอเพิ่มไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีการพิจารณาหลายระดับ และ กสท. ก็ไม่ต้องการไปเป็นผู้เพิ่มภาระให้กับประชาชนในยุคเศรษฐกิจเช่นนี้ แม้ว่าการส่งจดหมาย เมื่อเทียบกับการส่งข่าวสารด้วยวิธีอื่นแล้วมีค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ต่อปีที่ต่ำมากก็ตาม

ยิ่งตอนนี้ต้นทุนด้านการขนส่ง เช่น ค่าน้ำมันรถขน ค่าน้ำ ค่าไฟที่สำนักงานเพิ่มมากขึ้น แต่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น แถมจะมีแต่ลดลง เพราะเศรษฐกิจตกต่ำ ปริมาณการส่งจดหมายน้อยลง โดยเฉพาะพวกธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ทำธุรกิจสื่อโฆษณาทางไปรษณีย์ และจะส่งจดหมายในปริมาณมากก็ต้องตัดทอนค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้ ก็เลยส่งผลกระทบกับรายได้ของ กสท.

สิ่งที่ กสท. พยายามไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายในการลงทุนก็คือไม่มีการเพิ่มสำนักงานไปรษณีย์หากไม่มีความจำเป็น

ขณะนี้อัตราการเพิ่มที่ทำการไปรษณีย์ของ กสท. เป็นศูนย์ แต่หากมีความจำเป็นจากบางท้องที่ซึ่งต้องการที่ทำการไปรษณีย์ให้ชุมชนของตนเอง กสท. จะพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุน หากเห็นว่าไม่คุ้มก็อาจเลือกใช้วิธีเปิดที่ทำการไปรษณีย์เอกชนรับอนุญาตแทน ซึ่งจะให้เอกชนที่เสนอตัวขอทำดำเนินการรับฝากจดหมาย พัสดุภัณฑ์เหมือนกับที่ กสท. ทำ

ไปรษณีย์เอกชนรับอนุญาตนี้เหมาะสมสำหรับชุมชนที่ห่างไกลในต่างจังหวัด โดยในปัจจุบัน กสท. มีที่ทำการเองจำนวน 1,141 แห่งทั่วประเทศ ขณะนี้ไปรษณีย์รับอนุญาตมีอยู่ถึง 3,086 แห่ง

การลงทุนในแต่ละที่ทำการอาจไม่คุ้ม เพราะจะมีทั้งค่าหาสถานที่ ค่าเช่า ค่าตกแต่ง หากเทียบกับปริมาณผู้ใช้บริการอาจไม่เพียงพอกับการดำเนินงาน หากเอกชนสามารถทำได้ก็น่าจะให้ดำเนินการ

หนทางนี้ช่วยแก้ปัญหาการขยายตัวของ กสท. ได้มาก

จากตัวเลขประมาณการขาดทุนของกิจการไปรษณีย์ใน กสท. นั้น สุวรรณ รัฐกุล ประเมินตัวเลขคร่าว ๆให้ว่า เมื่อปี 2538 ตัวเลขขาดทุนอยู่ที่ประมาณ 1,200 ล้านบาท ส่วนปี 2539 ประมาณว่าอยู่ในช่วง 700-800 ล้านบาท ซึ่ง กสท. ค่อนข้างพอใจกับผลดังกล่าว

กสท. พร้อมที่จะเปิดให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการไปรษณีย์รับอนุญาต แล้วจะจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนให้ ขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่เขาทำซึ่งเอกชนนี้ต้องดำเนินการในลักษณะเดียวกับที่ กสท. ทำ อัตราค่าบริการเท่ากัน หากคิดราคาแพงกว่าก็ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะเป็นอัตราที่รัฐบาลกำหนด

ในทางตรงกันข้ามแม้จะมีกิจการไปรษณีย์ที่เป็นสิทธิสัมปทานธุรกิจหรือแฟรนไชส์ กสท.ไม่ถือว่าได้รับอนุญาตเต็มตัว เพราะมีการคิดค่าบริการเพิ่มจากผู้ใช้บริการในส่วนของพัสดุ เพื่อสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ ซึ่งไม่ตรงกับอัตราที่ กสท. ให้บริการ

แต่ กสท. ไม่ได้เห็นว่ากิจการไปรษณีย์เอกชนแบบใหม่จะสร้างปัญหาให้กับ กสท. มากมายนัก แต่เพื่อความไม่ประมาท ก็มีการให้ฝ่ายนิติกรศึกษาทางด้านข้อกฎหมาย

รองผู้ว่าการฯ ธีระพงษ์ สรุปว่าการดูข้อกฎหมายนั้น จะดูว่าเอกชนมีการนำส่งจดหมายไปที่ไปรษณีย์จริง หากนำส่งเอง หรือมีการขยายสาขาเพิ่มมากขึ้น กสท. ก็คงต้องเข้าไปดำเนินการตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม กสท. ก็ยังยอมรับว่าเอกชนช่วยในการบริการได้ในระดับหนึ่ง แต่อาจสร้างปัญหากับประชาชนบ้าง เพราะต้องเสียค่าบริการเพิ่ม ถ้า กสท. ได้ประโยชน์ในแง่ความสะดวก และลดปัญหาเรื่องการให้บริการประชาชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ก็กลายเป็นว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น กสท. น่าจะเป็นผู้รับภาระ แต่ก็ไม่ใช่หน้าที่ของ กสท. ที่จะต้องรับค่าใช้จ่ายตรงนี้

ธุรกิจเมล์ บ๊อกซ์ เอกชนนั้นไม่ว่าจะเข้ามาลงทุนดำเนินการรับฝากไปรษณีย์หรือสำนักงานไปรษณีย์เอกชนรับอนุญาต ก็ไม่สามารถสร้างรายได้จากการรับฝากไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ หรือการเป็นตัวแทนจำหน่ายดวงตราไปรษณีย์ให้กับ กสท. ด้วยการหักรายได้ 2% ทั้งนี้ กสท. เป็นผู้ให้บริการมานาน ยังมีอุปสรรคในการเพิ่มรายได้ด้านไปรษณีย์

หนทางที่ดีที่สุดคือเอกชนต้องมีบริการอื่นเสริมด้วย ยกตัวอย่างไปรษณีย์รับอนุญาตในต่างจังหวัดอาจเป็นร้านขายของชำพร้อมกับการเป็นสำนักงานไปรษณีย์ เพราะเห็นว่ารายได้ส่วนนี้จะช่วยจุนเจือให้ผู้ดำเนินการแทน กสท. สามารถเลี้ยงตัวเองได้มากกว่าที่จะพึ่งค่าตอบแทนต่อเดือนที่ กสท.จ่ายให้ ที่อาจจะตกแค่ประมาณเดือนละ 4,000 บาทเท่านั้น

เพียงแต่ส่วนใหญ่ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะผู้ขอที่ทำการไปรษณีย์นั้น ล้วนต้องการให้กสท.เป็นผู้ลงทุนให้ทั้งสิ้น เพราะยังขาดความเข้าใจในเรื่องการให้บริการด้านไปรษณีย์อยู่มากด้วย

ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์นั้น การทำธุรกิจรับถ่ายเอกสาร หรือขายเครื่องเขียนในร้านน่าที่จะสร้างรายได้ได้ดีกว่าการรับฝากส่งไปรษณีย์เพียงอย่างเดียว และการเป็นธุรกิจที่มีประสบการณ์ก็คงสามารถทำให้กิจการพอจะอยู่รอดได้

ผู้ประกอบการรายหนึ่งของธุรกิจแฟรนไชส์ เมล์ บ๊อกซ์ กล่าวแสดงความเห็นว่า ผลตอบแทนจากการที่รับส่งจดหมายและพัสดุภัณฑ์นั้นไม่ได้เสริมสร้างรายได้ให้กับร้านมากเท่าที่ควร และปริมาณงานที่เข้ามาก็มีจำนวนน้อยมาก

กสท. ยอมรับว่าการปรับปรุงในกิจการไปรษณีย์คงต้องเข้มข้นมากขึ้นเพื่อรอรับการเกิดของการใช้แผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคม ที่จะไม่มีส่วนของสื่อสารโทรคมนาคมมาอุ้มชู และพร้อมที่จะต้องมีการแข่งขันเสรีตามเงื่อนไขที่มีต่อนานาประเทศ

แต่การลงทุนลงแรงสร้างโครงข่ายด้านกิจการไปรษณีย์มาเกือบ 20 ปี และการให้บริการกับประชาชนในชนบทนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ทำงานในหน้าที่รู้สึกว่า รัฐน่าที่จะมีนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งมาเกื้อหนุนกิจการไปรษณีย์บ้าง เพราะเชื่อว่าการเปิดเสรี ก็คงไม่ทำให้เอกชนเข้ามาสนใจให้บริการคนในชนบทที่ห่างไกลอย่างแน่นอน

เมื่อถึงตอนนั้น กิจการไปรษณีย์ของรัฐจะเลี้ยงตนเองให้อยู่รอดได้อย่างไร?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us