Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540
"ขาดเงินกู้ระยะยาว"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล กุสุมา พิเสฏฐศลาศัย
 

   
related stories

"ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตัวใคร ตัวมัน"

   
search resources

อธิป พีชานนท์
Real Estate




แทนไท เป็นพนักงานระดับบริหารของบริษัทเอกชนบริษัทหนึ่ง ในวัย 30 ตอนปลาย รายได้ของเขาที่มีอัตราเพิ่มขึ้นมาตลอดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานั้น ทำให้เขาต้องการซื้อบ้านใหม่แทนบ้านหลังเดิมที่เป็นแบบทาวน์เฮาส์เพียง 20 ตารางวาหลังเล็กๆ

เขาตัดสินใจซื้อบ้านหลังใหม่เนื้อที่ 60 ตารางวาราคาประมาณ 3 ล้านบาทเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ในย่านชานเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งสามารถเดินทางมาทำงานได้ด้วยการขึ้นทางด่วนแจ้งวัฒนะ บ้านใหม่หลังนี้สร้างเสร็จพร้อมโอนให้กับเขาได้ในเดือนตุลาคม 2540

แต่ชั่วระยะเวลาปีเดียว เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมายกับชีวิตของแทนไท โดยที่เขาตั้งตัวรับแทบไม่ทัน หลังจากผ่อนดาวน์บ้านไปแล้ว 10 งวด เหลือระยะเวลาเพียง 2-3 เดือนจะถึงเวลาโอน ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างรุนแรงนั้นทำให้ผู้บริหารของบริษัทที่เขาทำงานอยู่ ลดเงินเดือนเขาถึง 25% ในชั่วระยะเวลาไล่เลี่ยกัน แป้งร่ำภรรยาของเขาซึ่งทำงานอยู่ในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์รายใหญ่แห่งหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ถูกให้ออกจากงาน สาเหตุเพราะบริษัทเงินทุนแห่งนั้นถูกแบงก์ชาติสั่งปิด

โชคดีที่แทนไทได้น้องชายเข้ามาช่วยเป็นผู้กู้ร่วมในการซื้อบ้าน โชคดีโครงการบ้านจัดสรรที่แทนไทซื้อนั้นใช้เงินกู้ทำโครงการกับบริษัทเงินทุนแห่งหนึ่งที่ถูกสั่งปิด แต่เจ้าของโครงการสามารถหาเงินจากแหล่งอื่นมาก่อสร้างบ้านของเขาจนเสร็จ แต่พวกลูกค้ารายย่อยจะต้องหาเงินกู้ระยะยาวกันเอง ครั้งแรกทางโครงการแนะนำให้แทนไทกู้เงินจากธนาคารซิตี้แบงก์ เขายื่นหลักฐานการกู้ไปเพียงอาทิตย์เดียว ฝ่ายสินเชื่อของซิตี้แบงก์ก็ติดต่อกลับมา ขอดูผลประกอบการบริษัทที่แทนไททำงานอยู่ และแน่นอนแทนไทไม่ได้รับอนุมัติ เพราะผลประกอบการของบริษัทส่วนใหญ่ในช่วงเวลานี้ติดลบกันอยู่ทั้งนั้น รวมทั้งบริษัทเขาด้วย

แทนไทติดต่อไปยังสถาบันการเงินอีกแห่งหนึ่งตามคำแนะนำของเพื่อน คราวนี้เขารออยู่ประมาณ 2 อาทิตย์ เจ้าหน้าที่แจ้งกลับมาว่า รายการของแทนไทไม่ได้รับการอนุมัติ เพราะเมื่อมีการเช็กย้อนหลังไปพบว่าเมื่อปี 2538 แทนไทใช้บัตรเครดิตใบหนึ่งเกินวงเงิน และจ่ายชำระช้าไป 2 เดือน ถึงแม้ปัจจุบันเขาไม่มีวงเงินค้าง แต่ถูกสรุปไปแล้วว่าประวัติทางการเงินของเขาไม่ดี

เขากลุ้มใจมาก ในขณะเดียวกัน ทางเจ้าหน้าที่ของหมู่บ้านก็โทรมาเร่งรัดเขาทุกวันให้โอนให้ได้

"จันทร์นี้นะคะ แน่นอนนะไม่อย่างนั้นแล้วบริษัทก็ช่วยไม่ได้" แทนไทมาเล่าให้เพื่อนฝูงฟังถึงคำขู่ของเจ้าหน้าที่หมู่บ้าน

ไม่เฉพาะแทนไท คนกลุ่มใหญ่ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของบริษัทบ้านจัดสรรกำลังเจอปัญหานี้ โพสไฟแนนซ์คือเรื่องใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างจัง

"ตอนนี้ผมมีลูกค้าพร้อมโอนอยู่หลายสิบหลัง แต่ก็โอนไม่ได้ ก็ต้องแก่งแย่งไปขอเงินกู้ให้ลูกค้าตามแบงก์ต่าง ๆ ผมพูดได้เลยใน 15 แบงก์ตอนนี้ ปล่อยจริง ๆ ไม่เกิน 3 แบงก์ นอกนั้นปล่อยแต่ปาก หรือต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน แล้วสรุปว่าไม่ได้ อย่าไปยื่นให้เสียเวลา เสียกระดาษเลย" อธิป พีชานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บจม. ศุภาลัยกล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" และเล่าให้ฟังต่อว่า ทุกรายถูกเช็กโดยละเอียดขึ้นเช่นว่าทำงานอยู่ที่บริษัทใด บริษัทนั้นมีผลประกอบการเป็นอย่างไร และหลายรายได้รับอนุมัติในวงเงินที่น้อยลง ซึ่งในกรณีนี้ก็เท่ากับทำให้ลูกค้าโอนไม่ได้อยู่ดี เพราะต้องไปหาเงินก้อนส่วนที่เหลือเข้ามาก่อน

ซึ่งลูกค้าที่ว่านั้นอาจจะไม่รวมลูกค้ารายย่อยที่ทางสถาบันการเงินนั้นปล่อยกู้โครงการอยู่แล้ว ดังนั้นลูกค้าที่เจอปัญหาหนักในเรื่องนี้ก็คือลูกค้าในโครงการที่กู้เงินจากสถาบันการเงินทั้ง 58 แห่ง ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก

แต่ก็ไม่แน่นักลูกค้าโครงการคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งบนถนนเพชรบุรีเคยร้องเรียนมาที่ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า ซื้อคอนโดไปแล้ว พอถึงเวลาโอนกับแบงก์ที่สนับสนุนโครงการ หรือนัยหนึ่งคือแบงก์ผู้ถือหุ้นโครงการนั้น แต่ทางเจ้าหน้าที่กลับบอกว่าตอนไม่มีเงินให้ไปติดต่อกู้เงินที่อื่นก่อน

"สมัยก่อนโอนช้า โอนเร็ว ติดอยู่ที่หน่วยราชการ ขึ้นอยู่กับใครใต้โต๊ะเท่าไหร่ ส่วนเงินกู้นั้นแบงก์กลับแข่งกันให้ 3 วัน 7 วัน ได้ ตอนนี้ยื่นเรื่องแล้วผ่านใน 1 เดือนก็นับว่าเร็วมากแล้ว" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าว

เมื่อเป็นเช่นนี้ ดูราวกับว่าขณะนี้ความหวังของทุกคนกำลังพุ่งไปยังธนาคารคนยาก หรือธนาคารอาคารสงเคราะห์แทน ซึ่งจากตัวเลขสถิติยืนยันชัดเจนว่าขณะนี้กลายเป็นที่พึ่งของประชาชนทุกระดับ

ตัวเลขจากฝ่ายวิชาการธนาคารอาคารสงเคราะห์ระบุว่าในปี 2538 รายได้ครัวเรือนที่มีรายได้เกิน 600,000 บาท มากู้เพียง 0.10% แต่ในปี 2539 เพิ่มเป็น 10.93% และแน่นอนคาดว่าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวแน่นอน

สำหรับตัวเลขการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในปี 2540 นั้น ทาง ธอส.ตั้งเป้าไว้ที่ 92,000 ล้านบาท ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ปล่อยไปแล้วประมาณ 55,000 ล้านบาท ในช่วง 3 เดือนสุดท้าย ธอส. ยังเหลือเงินสำหรับปล่อยกู้ประมาณ 37,000 ล้านบาท ส่วนปีหน้า ธอส. ตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อถึง 108,000 ล้านบาท

เมื่อถนนทุกสายมุ่งสู่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ แน่นอนว่าในขณะนี้คิวของ ธอส. ต้องยาวเหยียดแน่นอน ระยะเวลาขอกู้ของธนาคารจึงอาจจะยาวขึ้น และแน่นอนเพื่อป้องกันความเสี่ยงของตนเอง ธอส. จึงมีความจำเป็นต้องเข้มงวดในการปล่อยกู้มากขึ้นเช่นกัน

"จำนวนเงินของ ธอส. ไม่เพียงพอสำหรับผู้ที่ต้องการเงินกู้ที่ค้างอยู่แน่นอน เพราะผมเชื่อว่ามีบ้านที่ค้างโอนอยู่ มีเป็นแสนยูนิต" ไชยันต์ ชาครกุล นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรยืนยันกับ "ผู้จัดการรายเดือน"

ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ลูกค้ากำลังคิดหนัก เพราะมันทำให้อัตราการผ่อนต่อเดือนเพิ่มขึ้นด้วย หรือระยะเวลาในการผ่อนนานขึ้นเช่นกัน ปัจจุบันดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของ ธอส. ต่ำสุดอยู่ที่กู้ไม่เกิน 1 แสนบาท ดอกเบี้ย 11% เกิน 1 ล้านขึ้นไปประมาณ 12.5% ในขณะที่เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินต่าง ๆ อยู่ที่ประมาณ 14.5-15.5%

ปัญหาเรื่องของเงินกู้ระยะยาวนี้นับเป็นปัญหาเฉพาะ หน้าที่สำคัญที่รัฐควรจะหามาตรการอย่างเร่งด่วน และควรจะมีมาตรการว่านอกจาก ธอส. แล้วยังมีหน่วยงานใดที่จะเข้ามาปล่อยกู้ได้บ้าง

เพราะเมื่อประชาชนได้บ้านไปผู้ประกอบการเองก็ได้เงินจากสถาบันการเงินไปเร่งสานต่อโครงการที่คั่งค้าง เพื่อการโอนครั้งต่อไป ปัญหาก็จะบรรเทาลง เพราะยอดขายรอบใหม่ที่เหลือมันก็จะช้าลง หลายโครงการที่ผู้ประกอบการประสบปัญหาก็จะต้องชะลอโครงการออกไปก่อนอยู่แล้วเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us