Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540
"ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตัวใคร ตัวมัน"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล กุสุมา พิเสฏฐศลาศัย
 

   
related stories

"ขาดเงินกู้ระยะยาว"

   
search resources

ไชยยันต์ ชาครกุล
Real Estate




"ผมเชื่อว่าโฆษณาทุกอย่างตอนนี้ไม่มีผลตอบรับเลย ไม่ได้ผลไม่ว่าจะใช้กลยุทธ์เด็ดขนาดไหนก็ตาม" ผู้ประกอบการหลายรายให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการรายเดือน"

เหตุผลที่สำคัญเป็นเพราะกำลังซื้อที่ถดถอยไปอย่างรุนแรง จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำแบบฉับพลัน ทำให้กลุ่มลูกค้าจำนวนมากมีความเสี่ยงกับการตกงานมากขึ้น รายได้ที่ได้รับอยู่เป็นประจำหดหาย ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา หรือรายได้พิเศษอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อการซื้อบ้าน การดาวน์ การโอนบ้านหลังใหม่ทั้งสิ้น ในระยะแรกกำลังซื้อจากกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในสถาบันการเงินที่ถูกสั่งปิดทั้ง 58 แห่งจะเห็นได้ชัดที่สุด แต่ ณ เวลานี้ได้ลุกลามไปทุกธุรกิจแล้ว

ซึ่งผลเสียนี้นอกจากจะตกกับผู้ซื้อแล้ว ผู้ประกอบการและสถาบันการเงินเองก็ได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่ด้วย

นอกจากจะขายโครงการใหม่เพื่อให้ได้เงินหมุนเวียนเข้ามาไม่ได้แล้ว การเร่งทำโครงการเก่าให้เสร็จเพื่อจะได้ให้ลูกค้าโอนเข้าแบงก์เอาเงินมาใช้ในโครงการก็เป็นไปไม่ได้ หรือทำได้ยากขึ้น เพราะในเรื่องของสินเชื่อโครงการ สถาบันการเงินเองก็จะปล่อยเงินกู้ยากขึ้น เพราะไม่มีเงินหรือต้นทุนเงินแพงขึ้น

"คือเขามาปล่อยเราเดิมเขาเคยให้ MLR+1 ที่มาให้โปรเจกต์นะ แต่เขาไปกู้อินเตอร์แบงก์หรืออินเตอร์ไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยเพียง 21% ใครเขาจะมากู้ เมื่อปล่อยเรามันขาดทุน ดังนั้นที่ทำกันตอนนี้คือเตะถ่วงไว้ก่อน ชะลอเรื่องการให้อนุมัติไว้ก่อน เขาไม่ได้ปฏิเสธชัดเจนหรอกว่าไม่ให้ แต่เตะถ่วงบางรายก็ตั้งเงื่อนไขว่าจะต้องไปประเมินงานที่หน้างานก่อน ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยมาเลย ทั้งที่มีสัญญาอยู่ว่าจะให้สินเชื่อโครงการ แล้วเราก็เป็นลูกค้าเก่าชั้นดีอยู่แล้ว"

ปัญหาเงินกู้ดังกล่าวนี้ยังไม่รวมถึงไฟแนนซ์ที่มีปัญหาเพราะแน่นอนลูกค้าเบิกไม่ได้อยู่แล้ว จะยักย้ายถ่ายโอนก็ทำยาก เพราะต้องมีการเสนอแบงก์ชาติ เสนอกองทุนฟื้นฟูฯ มีการตกลงเงื่อนไขกันที่จะซื้อหนี้ ซึ่งต้องใช้เวลาทั้งสิ้น

พูดง่ายๆ ก็คือดอกเบี้ยวิ่งอยู่ทุกวันแต่ธุรกรรมทางด้านการเงินกลับหยุดนิ่ง

ในขณะเดียวกันโครงการที่ใช้เงินกับ 52 ไฟแนนซ์จะหาแหล่งเงินของใหม่ก็ยากขึ้น เพราะส่วนใหญ่แต่ละแห่งจะปล่อยกู้เฉพาะโครงการเดิมของตนเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ตัวเลขของบ้านที่ก่อสร้างค้างคาอยู่ก็มีเป็นจำนวนมาก หรือแม้ว่าเจ้าของโครงการพยายามดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อหาเงินมาก่อสร้างได้เอง ปัญหาของลูกค้าที่ไม่มีแหล่งเงินกู้ที่จะผ่อนระยะยาวก็มามีปัญหาตามมาอีก (อ่านในล้อมกรอบ 2)

ต้นทุนที่ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เข้ามาซ้ำเติม เพราะเนื่องจากการปรับค่าเงินบาทลอยตัวทำให้ต้นทุนวัสดุได้ปรับตัวตามค่าเงินดอลล์ เพราะบางอย่างเป็นของนำเข้าหรือที่ไม่ใช่ของนำเข้าก็มีค่าโสหุ้ย ค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น หรือค่าความเสี่ยงที่เขากลัวว่าในอนาคตจะเพิ่มขึ้นทำให้เขาคิดราคาเพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งต้นทุนของบริษัทเองก็เพิ่มเพราะดอกเบี้ยเพิ่ม หรือใครที่กู้เงินทุนต่างประเทศอยู่ก็ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ในช่วงเวลานี้จะให้ต้นทุนกลับไปอยู่ที่เดิมนั้นมันเป็นไปไม่ได้ ก็คือต้องอยู่บนต้นทุนใหม่แน่นอน

ซึ่งขณะนี้ต้นทุนขึ้นประมาณ 10-20% แล้วยังเจอภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำอีก 3% ซึ่งต้นทุนตรงนี้ผู้ประกอบการจะต้องแบกรับกันเองเพราะสัญญาขายบ้านทำกันไว้แล้วลูกค้าอยู่ในช่วงผ่อนดาวน์ งานนี้อาจจะขาดทุน

ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้นราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น เช่น วงกบอะลูมิเนียมสูงขึ้นประมาณ 30-40% สายไฟฟ้า 12% ปูนขึ้นถุงละ 8 บาทประมาณ 10% เหล็กประมาณ 20% และค่าแรงประมาณ 10 บาทต่อคน และแน่นอนต้องซื้อหาด้วยเงินสดเพราะทางร้านขายวัสดุก็ไม่ให้เครดิตผู้รับเหมาเช่นกัน

วิธีการที่จะแก้ไขตรงนี้ก็อาจจะต้องมีการปรับราคาของที่จะขายใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาต่อเนื่องอีกว่าราคาเดิมก็ขายยากอยู่แล้ว จะขายแพงขึ้นอย่างไร ผู้ประกอบการเองก็อยากจะปรับราคาแต่กลัวขายไม่ออก ก็เลยกลายเป็นปัญหาที่กำลังชักเย่ออยู่ทั่ง 2 ฝั่ง

ทางออกที่หลายบริษัทดำเนินการอยู่ในขณะนี้ก็คือ พยายามลดต้นทุนการดำเนินงาน ด้วยการลดคน ลดเงินเดือน ประหยัดค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าแอร์ ค่าโฆษณา หรือบางรายลดคุณภาพของวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้าง ซึ่งแน่นอนเรื่องนี้ก็จะมีปัญหากับลูกค้าในภายหลังเช่นกัน

จากปัญหาดังกล่าวนั้น ไชยันต์ ชาครกุล นายกสมาคมบ้านจัดสรรได้ให้ความเห็น "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า การแก้ภาพรวมของอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องยาก เพราะเป็นเรื่องของปัญหาการโอเวอร์ซัปพลาย บวกกับปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะรีบแก้และแก้ได้ก็คือบ้านที่ขายได้แล้ว แต่ยังสร้างไม่เสร็จเพราะคำสั่งปิดสถาบันการเงิน ทั้งๆ ที่บางโครงการเจ้าของเป็นลูกค้าที่ดีของสถาบันการเงินมาตลอด ซึ่งตรงจุดนี้มีประชาชนที่กำลังรอโอนหลายหมื่นคน

ในเรื่องนี้ทางสมาคมได้ทำเรื่องเสนอไปยัง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการอำนวยการการแก้ไขปัญหาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เรียบร้อยแล้ว แต่ในช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้นยังไม่มีการตอบรับถึงวิธีการแก้ไข

"เข้าใจว่าตอนนี้ท่านกำลังยุ่งเรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องภาพรวมใหญ่ทั้งหมดเลยยังไม่ได้สั่งการอะไรออกมา แต่ความจริงแล้วตรงนี้ใช้เงินไม่มากและเมื่อมีเม็ดเงินสร้างต่อ ประชาชนก็จะโอนได้ ผู้ประกอบการก็จะได้เอาเงินไปคืนแบงก์เหมือนกัน"

สำหรับมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขอสังหาริมทรัพย์นั้นรัฐบาลเคยมีมาตรการที่จะช่วยเหลือทั้งหมดประมาณ 20 มาตรการ แต่ที่มีผลเป็นรูปธรรมจริง ๆ ก็คือการกระตุ้นการโอนด้วยมาตรการดอกเบี้ย 9% แต่ขณะนี้ก็กำลังมีปัญหาอยู่ว่ารัฐบาลยังหาเงินมาจ่ายสมทบให้กับทางธนาคารออมสินไม่ครบเช่นกัน

ส่วนการแก้ปัญหาของอสังหาริมทรัพย์ระยะยาวนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขององค์การบริหารสินเชื่อ (อบส.) ซีเคียวริไทส์ หรือ SMC นั้น ถึงแม้จะผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ของภาครัฐ แต่ปัญหาที่แท้จริงก็จะวนกลับมาที่เดิมคือเรื่องของเม็ดเงิน เพราะถ้าภาพรวมของรัฐบาลยังแก้เรื่องความเชื่อมั่นไม่ได้ ไปขายต่างประเทศก็ไม่ได้ ถึงจะมีมาตรการดังกล่าวก็ยังช่วยอะไรไม่ได้ตามเคย

"ถ้าจากนี้ถึงสิ้นปี ความเชื่อมั่นยังไม่กลับคืนมา เม็ดเงินจากต่างประเทศยังไม่ไหลเข้ามา ไม่ต้องพูดเรื่องอื่นเลย พูดเฉพาะเรื่องบ้านค้างคาสร้างต่อไม่ได้ กับปัญหาเรื่องขาดแหล่งเงินกู้ 2 เรื่องนี้ก็พอ เพราะประชาชนกำลังเดือดร้อนจริงๆ" ไชยันต์ ย้ำกับ "ผู้จัดการรายเดือน"

อย่างไรก็ตาม เมื่อมาตรการในการช่วยเหลือของภาครัฐไม่ชัดเจน ผู้ประกอบการเองก็อยู่ในภาวะที่รอไม่ได้มานานแล้ว เพราะดอกเบี้ยก็ทวีงอกงามขึ้นทุกวัน ตอนนี้ก็จำเป็นจะต้องเดินหน้าต่อในลักษณะ ตัวใคร ตัวมัน

ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะทำได้ในตอนนี้ก็คือต้องช่วยตัวเองก่อน หลายรายที่โครงการก่อสร้างไม่เยอะ หรือยังขายได้ไม่มากถ้าคืนมัดจำลูกค้าได้ก็คืนไม่น่าจะทำต่อไป หรือโครงการไหนที่ใกล้จะเสร็จแล้วก็จำเป็นมาสร้างต่อให้เสร็จอาจจะหยิบยืมเงินญาติพี่น้อง หรือใช้เงินในตลาดมืดก็ต้องทำเพื่อจะได้รีบหาทางโอน

"หรือถ้าลูกค้าไม่ยอมมาโอน เพราะปัญหาตกงานหรือไม่มีแหล่งเงินกู้ และสุดท้ายอาจจะยอมให้บ้านถูกยึดไปก็ควรจะมาปรึกษากันเพื่อหาทางออกว่า บ้านนี้ผ่อนต่อไม่ไหว เอาอีกหลังหนึ่งไหม เสร็จแล้วเหมือนกัน แต่เป็นบ้านเล็กลงหาทางออกกันไป" ไชยันต์ชี้แนะ ในวงการจัดสรรเชื่อว่า การฟันฝ่าวิกฤติครั้งนี้เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสจริง ๆ โดยเฉพาะบริษัทที่ติดพันกับสถาบันการเงินที่ถูกสั่งปิด

"เมื่อยังไม่มีเม็ดเงินเข้ามาบริษัทที่บริหารไม่ดีมาตั้งแต่กลางปีที่แล้วจะประสบปัญหาอย่างมากในปัจจุบัน และจะรุนแรงไปไม่ต่ำกว่ากลางปีหน้า ปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าคุณจะได้เห็นการล้มแบบระเนระนาด" กนก เดชาวาสน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทโฮมเพลส ผู้จัดสรรรายเก่าอีกรายสรุปตอกย้ำภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us