Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 มีนาคม 2549
แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยอาร์พี"สกัดเงินเฟ้อ-แบงก์เด้งรับ"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Interest Rate
บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี




แบงก์ชาติ ดำเนินนโยบายเข้ม หวังสกัดเงินเฟ้อ ปรับดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25 % หลังตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานพุ่ง ตามผลของต้นทุนและราคาสินค้าทยอยปรับขึ้น นายแบงก์เชื่อดอกเบี้ยไทยปีนี้ยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้น ขณะที่ดอกเบี้ยต่างประเทศเริ่มทรงตัวและปรับลดลงภายในปีนี้ คาดเงินเฟ้อพื้นฐานทั้งปีอยู่ที่ระดับ 0-3 %

นายบรรลือศักดิ์ ปุสสะรังษี รองผู้จัดการฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้(8 มีนาคม)เชื่อว่าคณะกรรมการจะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน( อาร์พี 14) วันอีก 0.25 % และทั้งปีน่าจะอยู่ที่ระดับ 5-5.5 % เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินเฟ้อทั่วไปจะทรงตัวหรือปรับลดลงจากเดือนมกราคมอยู่ที่ระดับ 5.9 % และในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ระดับอัตรา 5.6 % แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นเริ่มมีผลต่อต้นทุนสินค้า รวมทั้งราคาสินค้าของไทยยังคงมีการควบคุมอยู่ ส่งผลให้ราคาสินค้าเริ่มขยับตัวขึ้น ดังนั้นจากแนวโน้มดังกล่าว เชื่อว่าราคาต้นทุนและราคาสินค้าจะยังคงมีโอกาสปรับสูงขึ้นได้อีก ทำให้เป็นแรงกดดันกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นอย่างมาก ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)จำเป็นจะต้องดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดอีกต่อไป

โดยคาดว่าภายในปีนี้อัตราดอกเบี้ยพื้นฐานจะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเป้าหมายธปท.ระดับ 0-3 % ปัจจัยหลักเกิดจากต้นทุนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น คาดว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยจะทรงตัวหรือปรับลดลงช้ากว่าดอกเบี้ยในต่างประเทศ โดยอัตราดอกเบี้ยเฟด คาดว่าจะทรงตัวหรือปรับลดลงภายในปลายปีนี้ แต่ในส่วนของดอกเบี้ยไทยปีนี้ยังคงมีทิศทางของการปรับขึ้นอีกต่อไป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การประชุม กนง. ของ ธปท. ในวันที่ 8 มีนาคมนี้ คงจะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วัน อีก 0.25 % จาก 4.25 % เป็น 4.50 % โดยจะเป็นการสานต่อนโยบายอัตราดอกเบี้ยเข้มงวดมากขึ้นที่ ธปท. ได้ดำเนินการผ่านการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว รวม 2.25 % นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547

โดยเหตุผลสนับสนุนการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ ประกอบด้วย แนวโน้มเศรษฐกิจไทย อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ

ส่วนการประชุมรอบต่อไปนั้น ธปท. คงจะมีการทบทวนสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง เพื่อกำหนดนโยบายการเงินที่เหมาะสมสอดคล้องกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจ ซึ่งหากสถานการณ์โดยรวมทางด้านเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญจากการคาดการณ์เดิม ธปท. ก็คงจะมีแนวโน้มเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่ออีกอย่างน้อยใน 1 หรือ 2 รอบการประชุมข้างหน้า เพื่อผลักดันระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงให้กลับมาอยู่ในแดนบวกตามที่ได้มุ่งหวังไว้ คือ อัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วัน น่าจะมีแนวโน้มขยับเข้าสู่ระดับ 4.75-5 % ภายในครึ่งแรกของปี 2549

แต่ทั้งนี้ ธปท. อาจมีความจำเป็นน้อยลง หากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวลงมาต่ำกว่าระดับ 4 % ในช่วงครึ่งหลังของปี 2549 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับขั้นต่ำ 3-3.25 % อาจมีแนวโน้มปรับขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 4 % ณ ปลายปี 2549

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ทาง ธปท.ระบุว่าจะดำเนินนโยบายการเงินจนกว่าจะแซงอัตราเงินเฟ้อ และยังต้องการให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงเป็นบวกจากปัจจุบันที่ติดลบอยู่ 1.17% ซึ่งล่าสุดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 4.25 % ซึ่งเป็นการปรับขึ้น 0.25 % เนื่องจากคณะกรรมการฯ ต้องการลดแรงกดดันที่มีต่ออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคมจะอยู่ในระดับ 5.8 % ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายนเล็กน้อย แต่แนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวสูงขึ้นยังคงมีอยู่ตามราคาน้ำมันดิบที่อาจปรับสูงขึ้น

แบงก์กรุงเทพขยับดอกเบี้ยตาม

รายงานข่าวจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 24 และ 36 เดือน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีผลตั้งแต่วานนี้ (7 มี.ค.) เป็นต้นไป โดยเงินฝากประจำ 12 24 และ 36 เดือน ปรับขึ้น 0.25 % อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับขึ้น 0.25 % ทุกประเภท ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) เท่ากับ 7 % อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าเบิกเกินบัญชี (เอ็มโออาร์) เท่ากับ 7.25 % และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าทั่วไป (เอ็มอาร์อาร์) เท่ากับ 7.50 %   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us