Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 มีนาคม 2549
เผย 3 กลุ่มธุรกิจเป้าควบรวมกิจการ ไพร้ซฯชี้แนวโน้มปีนี้โตต่อเนื่อง             
 


   
search resources

Economics




ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ ชี้ แนวโน้มควบรวมกิจการปีนี้ยังคงโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน สื่อสาร และธนาคารพาณิชย์ เผยปี 48 มีการควบรวมกิจการในไทยกว่า 300 ราย มูลค่ารวม 5,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ก.ล.ต.ชี้การควบรวมกิจการแบบไม่เป็นมิตร จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและสร้างมูลค่าให้กับบริษัท

นายณัฐวัฒน์ ชุณหวุฒิยานนท์ ผู้อำนวยการ บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอฟเอเอส จำกัด กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "Merger& Acquisition: ทำอย่างไรจึงจะโปร่งใส" ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย วานนี้ (7 มี.ค.) ว่า แนวโน้มการควบรวมกิจการในปีนี้ยังคงมีอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่าน เนื่องจาก การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทำให้บริษัทต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงาน รวมทั้งการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ที่จะผลักดันให้เกิดการควบรวมกิจการมากขึ้น

ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของการควบรวมกิจการคือ การวางแผนการควบรวม (Integration Plan) ที่จะต้องดำเนินงานรวดเร็วเพื่อที่ไม่ได้เกิดข่าวรั่ว ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การควบรวมไม่สำเร็จ โดยกลุ่มธุรกิจที่จะมีการควบรวมมากขึ้น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพลังงาน เพราะจากราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูง ทำให้ต้องมีการลงทุนที่จะหาแหล่งพลังงานใหม่ กลุ่มสื่อสาร จากที่ต้องการเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนทำให้ต้องมีการใช้เงินลงทุนจำนวนที่สูง และ กลุ่มธนาคาร ซึ่งมีแผนแม่บทในเรื่องนโยบายทางการเงิน และระบบบาเซิล 2 ที่จะมีการนำมาใช้

สำหรับในปี 2548 ประเทศไทยมีการควบรวมกิจการจำนวน 350 ราย มูลค่ารวม 5,800 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม จากปี 47 มีมูลค่า 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 50% หากพิจารณามูลค่าการควบรวมที่เกิดขึ้นในไทยเฉลี่ยแต่ละกรณีประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่ามีขนาดเล็กเมื่อเปรียบกับต่างประเทศ

นายพิชัย ชุณหวชิร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและองค์กร บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การควบรวมกิจการจะทำให้บริษัทมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น และเป็นการแก้ปัญหาอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งจะช่วยให้บริษัทมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เช่น การควบรวมกิจการของ NPC และ TOC ที่ควบรวมกิจการแล้วมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 10%

"การควบรวมกิจการ ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ปัจจัยด้านธุรกิจ บุคลากร และเงินทุน"

นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ กรรมการบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม๊คเค็นซี จำกัด กล่าวว่า การควบรวมกิจการมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะคำนึงถึงการเสียภาษีเป็นสำคัญ โดยผู้ขายต้องการที่จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หรือไม่เสียภาษีเลย หากไม่สามารถตกลงกันได้อาจจะทำให้ดีลล้มเหมือนในอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งจะต้องคำนึงถึงด้านต้นในการควบรวมกิจการอีกด้วย

ด้านประเด็นของกฎหมาย บริษัทที่จะเข้าไปซื้อกิจการจะต้องระมัดระวังให้ดี คือ จะต้องมีการเข้าไปตรวจสอบสินทรัพย์ของบริษัทที่จะเข้าไปซื้อกิจการ หรือบริษัทที่จะนำมาควบรวม เพราะอาจจะเจอกับเงินการเงินที่มีปัญหาในภายหลังหากไม่มีการเข้าไปตรวจสอบก่อน

นายชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การเข้าครอบงำกิจการ (เทกโอเวอร์) ไม่จำเป็นต้องแจ้งสำนักงานก.ล.ต. โดยกฎหมายหลักทรัพย์กำหนดไว้เฉพาะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องรายงานการได้มาซึ่งหุ้นทุก 5% เท่านั้น เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบแนวโน้มว่าคนที่ได้หุ้นมาทุกๆ 5% อาจจะกำลังเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการรายใหม่ ขณะที่เจ้าของกิจการที่มีหุ้นลดลงในทุกๆ 5% อาจจะมีการขายหุ้นออกมา

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการเทกโอเวอร์ จะเป็นลักษณะที่เข้าซื้อหุ้นครั้งเดียวถึง 30% เลย เช่น กรณีของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่เข้ามาซื้อหุ้นบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ การทำคำเสนอซื้อจากรายย่อยแต่ละประเทศกำหนดสัดส่วนไม่เหมือนกัน โดยในส่วนของประเทศไทยจะกำหนดในสัดส่วนที่ระดับ 25%ซึ่งในระดับตัวเลขดังกล่าว ถือว่ามีนัยสำคัญ เพราะสามารถคัดค้านวาระที่สำคัญได้ เช่นวาระการเพิ่มทุนเป็นต้น

ส่วนกรณีของเทมาเสก โฮลดิ้ง เข้ามาซื้อหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีบริษัทในเครือหลายแห่ง ตามหลักเกณฑ์สามารถขอผ่อนผันไม่ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นบริษัทในเครือทุกแห่ง ซึ่งถือเป็นเกณฑ์สากล และได้มีการพิจารณาจากขนาดของสินทรัพย์ของบริษัทลูก เมื่อเทียบกับบริษัทแม่ รวมถึงในแง่ของรายได้ด้วย

"ช่วงที่ผ่านมา มีการเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร ทำให้หลายบริษัทมีความระมัดระวัง แต่การเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร อาจจะไม่เป็นมิตรต่อฝ่ายจัดการ แต่จะเป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้น เพราะจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้บริษัท และกระตุ้นให้ฝ่ายจัดการต้องพยายามบริหารงานให้ดี เพื่อสร้างมูลค่าให้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน"

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำหน้าที่สอบถามไปยังบริษัทจดทะเบียน เมื่อมีข่าวลือออกมา แต่ไม่ได้สอบถามไปยังผู้ถือหุ้น หากบริษัทได้มีการตรวจสอบไปยังผู้ถือหุ้นด้วยก็จะเป็นเรื่องที่ดี

"ดีลการควบรวมกิจการถือเป็นความลับ แม้จะมีข่าวรั่วไหลออกมา ก็หวังว่าผู้ที่เกี่ยวข้องหรือรู้ข้อมูลภายใน จะไม่นำไปหาผลประโยชน์ ดังนั้นจึงหวังว่าในช่วงดีลผู้ที่รู้ข้อมูลไม่ควรที่จะมีการซื้อขายหุ้น"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us