Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 มีนาคม 2549
วีซ่าเผยยอดใช้จ่ายเพื่อการบริโภคไทยขึ้นอันดับ8ของเอเชียแปซิฟิก             
 


   
www resources

โฮมเพจ วีซ่า

   
search resources

วีซ่า เอเชีย-แปซิฟิก
Credit Card




ยอดใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเชิงพาณิชย์ในเอเชีย แปซิฟิกทะลุ 15 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2548 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ โดยไทยมีปริมาณการใช้จ่ายสูงเป็นอันดับ 8 ในเอเชีย แปซิฟิก คิดเป็นมูลค่า 2.64 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

นายไมเคิล แคนนอน ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายธุรกิจบัตรเชิงพาณิชย์ วีซ่าเอเชีย แปซิฟิก เปิดเผยว่า วีซ่า เอเชีย แปซิฟิก ได้ประมาณพาณิชย์ (Commercial Consumption Expenditure - CCE) โดยคาดว่าธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐในเอเชีย แปซิฟิก จะใช้จ่ายกว่า 16.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549 นี้

ดัชนี CCE นี้เป็นดัชนีที่เป็นกลางสำหรับธุรกิจชำระเงินรวมทั้งสถาบันการเงินสมาชิกของวีซ่ากว่า 21,000 แห่ง ในการรวบรวมและติดตามตัวเลขปริมาณการใช้จ่ายของภาครัฐและธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นมาตรวัดตัวแรกและตัวเดียวที่ครอบคลุมการใช้จ่ายของภาครัฐและการใช้จ่ายเชิงพาณิชย์ในการจัดซื้อสินค้าและบริการ โดยยกเว้นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าตอบแทนพนักงาน

โดยคาดว่าภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก จะมีปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเชิงพาณิชย์สูงเป็นอันดับ 3 จาก 6 ภูมิภาคทั่วโลก รองจากสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะมีตัวเลขอยู่ที่ 17.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และยุโรปที่ 22.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549

"ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในเอเชีย แปซิฟิก ได้กลายเป็นภูมิภาคที่มีอัตราเติบโตของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเชิงพาณิชย์สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ภายในระยะเวลา 1 ปี จากเดิมที่สูงเป็นอันดับ 5 โดยหลักๆ เป็นผลมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีน เราคาดว่าอัตราการเติบโตนี้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเชิงพาณิชย์ของเอเชีย แปซิฟิกสูงเกือบเท่ายุโรป" นายไมเคิลกล่าว

สำหรับในเอเชีย แปซิฟิก ญี่ปุ่นยังคงมีการเติบโตของ CCE สูงเป็นอันดับ 1 อย่างต่อเนื่อง (5.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) ตามด้วยจีน (3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) และอินเดีย (1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) โดยจีนมีอัตราการเติบโตต่อปีสูงสุดที่ 16% และตามด้วยอินเดียซึ่งอยู่ที่ 13% สำหรับไทยมีปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเชิงพาณิชย์อยู่ที่ 264 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการเติบโตประมาณ 9% เมื่อเทียบปีต่อปี

วีซ่าได้พัฒนาและเปิดตัวดัชนี CCE ขึ้นในปี 2548 ที่ผ่านมา โดยเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลการใช้จ่ายของภาครัฐและธุรกิจต่างๆ ในลักษณะเดียวกันกับดัชนี PCE (Personal Consumption Expenditure) ซึ่งเป็นการวัดปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของผู้บริโภค โดยดัชนี CCE จะใช้ข้อมูลหลัก 4 ส่วน ได้แก่ ปริมาณการจัดซื้อสินค้าและบริการระหว่างธุรกิจกับธุรกิจเพื่อการผลิต การจัดซื้อสินค้าทั้งจากร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกเพื่อการอุปโภคบริโภค การใช้จ่ายด้านทุนเพื่อธุรกิจบางส่วน และการใช้จ่ายของภาครัฐด้านสินค้าและบริการ โดยมีการปรับเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุน เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง การคำนวณจะวัดรายการชำระเงินในราคาพื้นฐานซึ่งรวมภาษีการผลิต ประเภทรายการชำระเงินที่ใช้ใน CCE สามารถวัดได้จากผลิตภัณฑ์บัตรวีซ่าสำหรับองค์กรหลายประเภท เช่น วีซ่า คอร์ปอเรท วีซ่า คอมเมิร์ซ วีซ่า เพอร์เชสซิ่ง วีซ่า บิสซิเนส และวีซ่า ดิสทริบิวชั่น

ทั่วทั้งเอเชีย แปซิฟิกมีแนวโน้มในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ไทยเป็นประเทศล่าสุดที่มีการกำหนดให้ใช้บัตรชำระเงินในส่วนของภาครัฐ ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีประกาศในเดือนที่ผ่านมาให้หน่วยงานของรัฐทั่วประเทศใช้บัตรเครดิตเพื่อการบริหารค่าใช้จ่ายและพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารเงินสด ในออสเตรเลีย สำนักงานประจำภูมิภาคของโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่แห่งหนึ่งประมาณตัวเลขว่า บัตรวีซ่า เพอร์เชสซิ่งช่วยบริษัทลดจำนวนร้านค้าที่ขายสินค้าให้แก่บริษัทได้ 72%

ขณะเดียวกันก็สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหมุนเวียนเงินสด 50% และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้กว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนด้านตลาดบัตรสำหรับค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและบันเทิงขององค์กร ชุดผลิตภัณฑ์บริหารข้อมูลของวีซ่าได้ทำให้บริษัทข้ามชาติหลายแห่งสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากบัตรของบริษัทสำหรับพนักงานได้ทั่วทั้งภูมิภาค และจากการสำรวจความคิดเห็นของธุรกิจขนาดเล็กโดยดันแอนด์แบรดสตีท ฮ่องกง ซึ่งสนับสนุนโดยวีซ่านั้น พบว่า 78% ของผู้ตอบการสำรวจจะพิจารณาใช้บัตรวีซ่า บิสซิเนสสำหรับบริษัทของตนมากกว่าบัตรอื่นๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us