Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 มีนาคม 2549
มิตรผลแตกไลน์ธุรกิจพลังงาน             
 


   
www resources

โฮมเพจ น้ำตาลมิตรผล

   
search resources

น้ำตาลมิตรผล, บจก.
Agriculture




มิตรผล ชูโมเดลต้นแบบบราซิลยักษ์ใหญ่น้ำตาลของโลก ทุ่ม 1600 ล้านบาท แตกธุรกิจเอทานอลรับเทรนด์ความต้องการพลังงานทดแทนทั้งใน-ต่างประเทศ นำร่อง 2 โรงงาน กำลังผลิต 120 ล้านลิตรต่อปีป้อนประเทศ ลั่นอนาคตปรับเป้ารายได้น้ำตาลเหลือ 70% ส่วนกลุ่มพลังงานเพิ่ม 30% ระบุเห็นด้วยคณะกรรมการอ้อยยื่นปรับราคาน้ำตาลขึ้น 2-3 บาท ชี้ช่วยแก้ปัญหาน้ำตาลทะลักต่างประเทศ สิ้นปีตั้งเป้ารายได้ 12,000 ล้านบาท

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายตรามิตรผล เปิดเผยว่า บริษัทได้ทุ่มงบลงทุน 1500-1600 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจเอทานอลจากกากน้ำตาล นำส่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตแก๊สโซฮอลล์ เนื่องจากแนวโน้มตลาดเอทานอลจะเป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศ ซึ่งพบว่าในปี 2550 ความต้องการของไทยจะเพิ่มเป็น 3 ล้านลิตร จากกรณีภาครัฐยกเลิกเบนซินออกเทน 95 และให้ใช้แก๊สโซฮอลล์แทน และปี 2555 เพิ่มเป็น 6 ล้านลิตร เพราะภาครัฐจะนำแก๊สโซฮอลล์ผสมกับเบนซินออกเทน 91

ขณะที่ความต้องการตลาดต่างประเทศ ก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างสหรัฐอเมริกาในอีก 16 ปีข้างหน้าได้เตรียมใช้พลังงานทดแทนหรือแก๊สโซฮอลล์เช่นกัน จากปัจจุบันอเมริกามีอัตราการใช้น้ำมันสูง 24.45 ล้านบาเรล ทั้งนี้แผนการขยายธุรกิจสู่เอทานอลของกลุ่มมิตรผล เป็นโมเดลเดียวกับบราซิลซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตน้ำตาลสูงถึง 28.6 ล้านตัน และมีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอ้อยด้วยการเริ่มผลิตเอทานอล กระทั่งปัจจุบันสามารถผลิตเอทานอลได้ถึง 50% โดยปัจจุบันบราซิลได้ผลิตรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอลล์ในสัดส่วนถึง 20%

สำหรับโรงงานผลิตเอทานอลของกลุ่มมิตรผลมี 2 แห่ง ได้แก่ จ.ชัยภูมิ ซึ่งกำลังก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้ โดยมีกำลังการผลิต 2 แสนลิตรต่อวันหรือ 60 ล้านลิตรต่อปี ส่วนแห่งที่สอง จ.กาฬสินทร์ ซึ่งจะเริ่มสร้างใน 3-4 เดือน และคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ใน 15-18 เดือนข้างหน้านี้ โดยมีกำลังการผลิตเท่ากับโรงงานแห่งแรก ทั้งนี้กำลังการผลิตส่วนใหญ่ จะเน้นป้อนตลาดภายในประเทศเป็นหลัก นอกจากนี้บริษัทยังได้เตรียมเพิ่มผลผลิตประมาณ 20 ตันต่อวัน จากปัจจุบันมีกำลังการผลิต 8.2 ล้านตันต่อปี เพื่อรองรับกับการผลิตเอทานอลรวมทั้งธุรกิจเกี่ยวกับไฟฟ้า โดยคาดว่าการลงทุนดังกล่าวจะคุ้มทุนภายใน 7 ปี

นายอิสระ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากบริษัทขยายธุรกิจสู่เอทานอลและธุรกิจไฟฟ้า ในปี 2550-2551 สัดส่วนรายได้ เอทานอล 11 % และไฟฟ้า 9% ส่วนน้ำตาล 80% ขณะที่ผลประกอบการโดยรวมของบริษัทจะมีอัตราการเติบโต 20% จากรายได้ในปี 2548 บริษัทมีรายได้ 14,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ไฟฟ้า 10% และน้ำตาล 90% ส่วนปีนี้ตั้งเป้ามีรายได้รวม 12,000 ล้านบาท ลดลงเนื่องจากคาดว่ากำลังการผลิตโดยรวมทั้งของบริษัทและคู่แข่งจะลดลงเหลือเป็น 45 ล้านตันต่อปี จากในปีที่ผ่านมาผลิตได้ถึง 67 ล้านตันต่อปี อย่างไรก็ตามในอนาคตบริษัทเพิ่มรายได้กลุ่มเอทานอลและไฟฟ้ามีสัดส่วนได้ 30% ขณะที่กลุ่มน้ำตาลเหลือ 70%

ด้านปัญหาราคาน้ำตาลในขณะนี้ ล่าสุดคณะกรรมการอ้อยฯได้เตรียมเข้ายื่นเรื่องเพื่อขอขึ้นราคาน้ำตาล 2-3 บาท ในวันที่ 7 มี.ค. นี้ กลุ่มมิตรผลเห็นด้วยกับการยื่นเรื่องดังกล่าว เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นคือน้ำตาลขาดตลาด เนื่องจากราคาน้ำตาลของไทย 1 ก.ก. ราคา 14.50 บาท ถูกกว่าตลาดโลกซึ่งขายที่กว่า 20 บาท ทำให้น้ำตาลทะลักเข้าประเทศเพื่อนบ้าน แต่ผู้บริโภคไม่ได้เดือดร้อนในเรื่องของราคา

อย่างไรก็ตามการขึ้นราคาน้ำตาล คงจะต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกราคาโลก หากราคาลดลงน้ำตาลในประเทศก็ต้องลดราคาลง ซึ่งภาครัฐควรจะกำหนดอัตราขั้นต่ำคือ 15 บาท ขึ้นไปจนกระทั่งถึง 20 บาท เพื่อปกป้องทั้งผู้บริโภครวมทั้งผู้ผลิตไม่ให้แบกรับภาระจนเกินไป

นายอิสระ กล่าวว่า แผนการตลาดปีนี้บริษัทจะเน้นสร้างตลาดสินค้าในภูมิภาคเอเชียในเชิงรุกมากขึ้น ภายหลังจากที่บริษัทได้ปรับภาพลักษณ์และตราสินค้าใหม่เมื่อปีที่ผ่านมา ในเบื้องต้นได้เตรียมขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะในเอเชีย เพราะอัตราการบริโภคยังต่ำ 17 ก.ก.ต่อคนต่อปี ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว 35-50 ก.ก.ต่อคนต่อปี

ปีนี้เตรียมขยายตลาดใน อินโดนีเซีย จีน และไต้หวัน ขณะเดียวกันบริษัทยังเน้นการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหาร รวมทั้งกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น เพื่อรับรองกับความต้องการของตลาดภายในประเทศที่มีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าอัตราการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศ 2 ล้านตัน เมื่อเทียบกับบราซิล 10.7 ล้านตัน จีน 12.5 ล้านตัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us