Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 มีนาคม 2549
2549 : ตลาดที่อยู่อาศัยเริ่มอิ่มตัวหรือยัง?             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศุภาลัย

   
search resources

ศุภาลัย, บมจ.
Real Estate




แผนกพัฒนาธุรกิจและโครงการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด(มหาชน) สรุปสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยหลังวิกฤตการณ์ปี 2540-2542 ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์กลับมาเติบโตอย่างชัดเจนและต่อเนื่องนับจากปี 2545 เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ แม้ว่าในปีก่อน จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวก็ตาม เนื่องจากความไม่สงบทางภาคใต้ ปัญหาไข้หวัดนก สึนามิ และราคาน้ำมันแพง แต่ตลาดที่อยู่อาศัยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าประชากรและรายได้จะเพิ่มขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยลบหลายอย่างไม่มีแนวโน้มดีขึ้นจึงน่าสนใจว่าตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้จะเติบโตต่อเนื่องหรือไม่ และเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัวหรือยัง?

ทั้งนี้ จะแยกการพิจารณาออกเป็นปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

สภาพเศรษฐกิจโดยรวม

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ GDP เฉลี่ยในปี 2548 ลดลงจากปี 2547 อยู่ที่ 4.7% เนื่องจากได้รับผลกระทบเชิงลบจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่วนในปีนี้หลายสถาบันคาดการณ์การเจริญเติบโตของ GDP ไว้ใกล้เคียงกัน คือขยายตัวเพิ่มมากกว่าในปี 2548 เล็กน้อย หรือประมาณ 5% เนื่องจากปัจจัยลบเริ่มคลี่คลาย

ดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2548 ที่เพิ่มขึ้นมากจาก 2.9% ในปี 2547 เป็น 4.5% เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูง ทำให้อัตราดอกเบี้ย MLR ของธนาคารพาณิชย์เริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังเป็นต้นมา และแนวโน้มสูงขึ้นอีก ในส่วนของที่อยู่อาศัยนั้น ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะทำให้กำลังซื้อลดลง ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2549 ใว้ใกล้เคียงกับปี 2548 ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงในปัจจุบันตามมาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทยติดลบอยู่เพียง 0.5% ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่จะต้องปรับขึ้น จึงน่าจะปรับไม่มากนัก คือประมาณ 1%

อย่างไรก็ตาม ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆเริ่มเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อโครงการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ทั้งอุปสงค์-อุปทานชะลอตัว

กำลังซื้อของประชาชน

จำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่มีอัตราเพิ่มมากกว่าอัตราเพิ่มของประชากรใน 3 ปีที่ผ่านมา แสดงถึงจำนวนผู้ที่มีงานทำ มีรายได้ประจำเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกำลังซื้อที่สำคัญสำหรับตลาดที่อยู่อาศัย แต่เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ ผลกระทบจากราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2548 ทำให้มีผลทั้งทางจิตวิทยาการใช้จ่ายและลดกำลังซื้อที่แท้จริงของประชาชนโดยรวมลง โดยอัตราดอกเบี้ยจะมีผลกระทบต่อกำลังซื้อมากที่สุด คือ อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1% จะทำให้กำลังซื้อลดลงประมาณ 5.5%

ต้นทุนวัตถุดิบ

ต้นทุนวัตถุดิบในปี 2548โดยรวมเพิ่มขึ้น แม้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในกลุ่มเหล็ก-ซีเมนต์จะลดลง แต่ราคาเหล็กถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับปี 2543-2546 อีกทั้งเหล็กและซีเมนต์เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเท่านั้น ขณะที่ดัชนีราคาวัสดุในกลุ่มที่เหลือเพิ่มสูงขึ้นทุกกลุ่ม (ดูแผนภูมิประกอบ) ประกอบกับค่าแรงซึ่งคิดเป็น 1 ใน 4 ของค่าก่อสร้างก็เพิ่มขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อและต้นทุนการพัฒนาที่ดินดิบ เช่น ค่าถมดินก็เพิ่มขึ้นโดยตรงจากราคาน้ำมัน ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างบ้านเพิ่มขึ้น

สำหรับปี 2549 นอกจากค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงจะสูงขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อแล้ว โครงการเมกะโปรเจกต์ ยังจะทำให้เกิดการขาดแคลนทั้งแรงงานและวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มเหล็กและคอนกรีต ซึ่งจะยิ่งเป็นแรงหนุนให้ต้นทุนที่อยู่อาศัยสูงขึ้นอีก

ราคาที่อยู่อาศัย

ในปี 2548 ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินสูงขึ้นประมาณ 9% ราคาทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินที่สูงขึ้น เมื่อประกอบกับการสำรวจสภาพตลาดแล้ว อธิบายได้ว่าการแข่งขันในตลาดบ้านเดี่ยวที่รุนแรง มีการแข่งขันกันเพิ่มคุณภาพโดยใช้วัสดุที่ดีขึ้น หรือเพิ่มอุปกรณ์ประกอบต่างๆ เช่น ชุดครัว เครื่องปรับอากาศ สวน เครื่องเรือน ฯลฯ ทำให้ดัชนีราคาโดยรวมสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ต้นทุนที่เพิ่มส่วนหนึ่งผู้ประกอบการเป็นผู้รับภาระไว้เอง ส่วนราคาทาวน์เฮาส์ที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่า เนื่องจากเป็นสินค้าสำหรับผู้มีกำลังซื้อต่ำกว่าบ้านเดี่ยว ซึ่งผู้ประกอบการต้องเป็นผู้รับภาระต้นทุนเพิ่มส่วนหนึ่งอีกเช่นกัน ทำให้กำไรจากตลาดที่อยู่อาศัยโดยรวมลดลงในปีที่ผ่านมา

กฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ

จากการที่จะมีการประกาศใช้ผังเมืองฉบับใหม่ ซึ่งปรับเปลี่ยนรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่ และลดอัตราพื้นที่ก่อสร้างต่อขนาดที่ดินลงในหลายพื้นที่ ประกอบกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร หรือข้อกำหนดทางด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดสรรที่ดิน ซึ่งเพิ่มภาระหรือต้นทุนการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตั้งราคาขายสูงขึ้น แม้โดยรวมแล้วจะเป็นผลดีกับผู้อยู่อาศัยที่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่เนื่องจากเป็นการใช้มาตรฐานเดียวกันในโครงการทุกระดับราคา จึงเสมือนหนึ่งเป็นการกีดกันที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้มีบ้านได้ยากขึ้น ถึงแม้จะมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยราคาต่ำแล้วก็ตาม

การลงทุนจากต่างประเทศ

แนวโน้มการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ยังต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้ามาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ มีผลทำให้ทั้งอุปสงค์และอุปทานในตลาดเพิ่มขึ้น ด้านการเพิ่มอุปสงค์ เช่น การลงทุนในที่อยู่อาศัย บ้านพักตากอากาศ การเช่า-ซื้อสำนักงาน ร้านค้า เป็นผลดีกับผู้ประกอบการที่จะมีฐานตลาดกว้างขึ้นและสามารถเพิ่มราคาขาย-เช่าสูงขึ้น

ส่วนการเพิ่มอุปทาน เช่น การร่วมทุนกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และการลงทุนผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในการพัฒนาโครงการใหม่ๆออกสู่ตลาด เป็นเหตุให้การแข่งขันในตลาดรุนแรงมากขึ้น ตลอดจนทำให้ที่ดินซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการพัฒนาโครงการในย่านที่มีความต้องการสูง เช่น ใจกลางเมืองหรือในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญมีราคาสูงขึ้น แต่ทั้งนี้การเข้ามาลงทุนจะขึ้นอยู่กับบรรยากาศทางการเมืองและความมั่นคงของรัฐบาลด้วย

สรุป

จากการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่สูงขึ้นมาก เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่กดกำลังซื้อลงและทำให้ต้นทุนการก่อสร้างสูงขึ้น กฎระเบียบทางราชการที่เพิ่มภาระให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค ความเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ตลอดจนอุปทานในตลาดที่อยู่อาศัยเกินอุปสงค์ปกติไปแล้วส่วนหนึ่ง

ประกอบกับแนวโน้มอัตราเพิ่มที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนที่ชะลอตัวลงตามลำดับในปี 2547 และ 2548 ดังนั้นความต้องการที่อยู่อาศัยในปี 2549 น่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราการเพิ่มประชากรเพียงเล็กน้อยหรือเพิ่มจากปี 2548 ไม่เกิน 10% คือประมาณ 78,000 หน่วย โดยหากคิดรวมความต้องการเพื่อลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นแล้ว จำนวนอย่างสูงไม่น่าเกิน 83,000 หน่วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us