|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สำนักพยากรณ์เศรษฐกิจต่างให้การเมืองเป็นปัจจัยที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศ แม้ภาพรวมโครงสร้างยังแข็งแกร่ง แต่ผลของความยืดเยื้อและไม่ชัดเจนทางการเมืองจะยิ่งกลายเป็นตัวบั่นทอนความเชื่อมั่นโดยเฉพาะในภาคเอกชนที่เริ่มออกอาการผวาไม่กล้าลงทุนเพิ่มรอความแน่นอน ขณะเดียวกันผลกระทบยังลามไปถึงโครงการต่าง ๆ ที่รัฐได้วาดฝันไว้ โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจกต์ที่ทำท่าจะไม่ได้เห็นในปีนี้ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการขนาดใหญ่รัฐ
การประกาศยุบสภาของนายกรัฐมนตรี "ทักษิณ ชินวัตร" กลับไม่ใช่ทางออกที่ดีสำหรับประเทศไทยในเวลานี้ เพราะความเคลื่อนไหวของม็อบต่าง ๆ ไม่ต้องการให้ยุบสภา แต่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออก เรื่องที่เกิดขึ้นจึงยังไม่จบ และมีทีท่าว่าจะยืดเยื้อต่อไปจนไม่สามารถคลำหาทางออกที่สว่างได้ในเวลา โดยเฉพาะในสายตาของนักลงทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุในรายงานเศรษฐกิจและการเงิน เดือนมกราคม2549ว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจได้ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนถือเป็นการปรับลดลงในครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยสุชาดา กีระกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้คำตอบว่าดัชนีความเชื่อมั่นที่ลดลงนั้นเป็นผลมาจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากน้ำมันที่ราคายังอยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น บรรยากาศการลงทุนจึงทรงตัว
สุชาดา บอกอีกว่า ปัจจัยด้านการเมืองจากผลสำรวจที่ออกมาในเดือนมกราคม นักลงทุนยังไม่เห็นเป็นปัจจัยหลักที่นำมาสู่ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ เนื่องจากภาคเศรษฐกิจของประเทศยังมีความแข็งแกร่ง แต่ถามว่าในเดือนหน้าจะมีผลหรือไม่นั้น ก็ต้องรอดูผลสำรวจที่จะออกในเดือนกุมภาพันธ์จึงไม่อาจด่วนสรุปได้ก่อนสำรวจความคิดเห็นจากภาคเอกชนหรือนักธุรกิจ
จะว่าไปแล้วพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยนั้นยังคงความแข็งแกร่งอยู่ แต่การเมืองที่ไม่ชัดเจนย่อมกระทบต่อการลงทุนของภาคเอกชน และนโยบายที่รัฐบาลได้วางไว้อย่างโครงการเมกะโปรเจกต์ที่ต้องชะลอออกไปและคาดว่าอาจไม่ได้เห็นในปีนี้ ผลที่ตามมาคือภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ จะได้รับผลกระทบไปด้วยซึ่งหมายถึงการลงทุนของภาคธุรกิจดังกล่าวอาจชะลอตัวลง เพราะขาดความเชื่อมั่นต่อภาพที่ยังมองไม่เห็นชัดเจนในอนาคต
ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลับหอการค้าไทย บอกว่า การลงทุนในเมกะโปรเจกต์ต้องชะลอตัวออกไปเป็นผลจากการเมืองที่ไม่นิ่ง ดังนั้นเม็ดเงินที่จะเห็น 2-3 แสนล้านบาทของโครงการนี้ที่คาดว่ากระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ 0.5% อาจไม่เห็น เป็นผลให้จีดีพีที่ประมาณการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 5% อาจเหลือ 4.5% ขณะเดียวกันการลงทุนในโครงการดังกล่าวอาจยืดระยะเวลาออกไปเป็นกลางปี 2550 เพราะต้องรอดูนโยบายจากรัฐบาลชุดใหม่
กระนั้นก็ตาม แม้ทาง ธปท. ยังไม่ได้ฟันธงว่า นักธุรกิจให้การเมืองเป็นปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ศูนย์วิจัย กสิกรไทย กลับมองว่าการเมืองที่ยังไม่แน่นอนนั้นเป็นผลกระทบและสร้างความกดดันต่อเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัย กสิกรไทย ระบุว่า โดยปกติแล้วการยุบสภาฯและจัดการเลือกตั้งใหม่จะทำให้เม็ดเงินสะพัดเนื่องจากต้องมีการยง ซึ่งจะเป็นยบวกต่อภาวะการใช้จ่ายและเศรษฐกิจของประเทศ แต่จากสถานการณ์ ทางการเมืองขณะนี้ กลับกลายเป็นความไม่แน่นอนเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคฝ่ายค้าน ทำให้แนวโน้มในเชิงบวกที่น่าจะมีต่อทั้งตลาดหุ้น ค่าเงินบาท และภาวะการใช้จ่ายในประเทศในช่วงหาเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ จะไม่สดใส
โดยคาดว่านักลงทุนและนักค้าเงินน่าจะยังคงติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อที่จะประเมินแนวโน้มสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องของเสถียรภาพของรัฐบาล โดยน่าจะกลับมาลงทุนอย่างจริงจัง เมื่อมีความชัดเจนมากขึ้นแล้วเท่านั้น
และแล้วปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นอีกครั้งไม่ต่างจากปี48 ซึ่งผลกระทบในครั้งนั้นเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากคลื่นยักษ์เข้าถล่มเมือง แต่ครั้งนี้เป็นผลของกระแสมหาชนเข้าถล่มนายกรัฐมนตรี แม้ความรุนแรงดูจะไม่เหมือนเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่จากคำพยากรณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ และองค์กรต่าง ๆ ก็ล้วนออกมาในทิศทางเดียวกันว่าเรื่องดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
|
|
|
|
|