|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ เจอภาวะถดถอยอุตสาหกรรมฟิล์มบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก กดดันผลงานปี 2548 ทรุดหนัก ขาดทุนสุทธิกว่า 400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอีก 37% พร้อมย้ายฐานการตลาดสู่ประเทศที่มีมาร์จินสูง
นายวัลลภ คุณานุกรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TFI กล่าวว่า ปี 2548 บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 419.53 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.062 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 306.23 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.045 บาท หรือมีขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 113.30 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 37.00%
สำหรับสาเหตุที่บริษัทมีผลประกอบการขาดทุนนั้น เกิดจากภาวะการณ์ถดถอยของอุตสาหกรรมฟิล์มบรรจุภัณฑ์ในตลาดโลก ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินในอุตสาหกรรม ส่งผลให้ราคาขาย บีโอพีพี ฟิล์ม ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควร ขณะที่เม็ดพลาสติก พี. พี. ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักมีราคาสูงอย่างรวดเร็ว ทำให้ บีโอพีพี ฟิล์มของผู้ผลิตอื่นจำเป็นต้องขายในราคาต่ำกว่าทุนในตลาดที่มีการแข่งขันสูง
"การแข่งขันที่รุนแรง และตัดราคาขายต่ำกว่าต้นทุน ทำให้ผู้ผลิตที่มีต้นทุนการผลิตสูง หรือผู้ผลิตรายใหม่ ที่ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ ได้ปิดกิจการลงมากกว่า 20 รายในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา และบริษัทเองก็ประสบปัญหาการขาดทุนไปด้วย"
ขณะเดียวกัน บริษัทยังรับรู้ผลขาดทุนจากเงินลงทุน ซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย จำนวน 291.69 ล้านบาท เทียบกับ 324 ล้านบาทในปี 2547 สำหรับงบการเงินรวม และ 170.12 ล้านบาทเทียบกับ 317 ล้านบาทในปี 2547
ส่วนผลงานในปี 2548 นั้น บริษัทมียอดขายรวม 4,858 ล้านบาท เทียบกับปี 2547 ที่มียอดขาย 3,701 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,157 ล้านบาท หรือประมาณ 31% โดยขณะนี้ราคาขายได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกันราคาวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก พี.พี.) แต่การปรับราคาขายยังคงช้ากว่าการปรับราคาขายของวัตถุดิบ
พร้อมกันนี้ บริษัทได้ขยายตลาดไปยังตลาดที่มีราคาและกำไรต่อหน่วยสูงขึ้น เช่น ตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป ยุโรปตะวันออก ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย อเมริกาใต้ และลดการขายในตลาดล่างที่ไม่มีกำไร เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน จากที่มีส่วนแบ่งการตลาดส่งออกของบริษัทประมาณ 30 % ในอดีตเหลือ 5% หรือต่ำกว่าในปัจจุบัน
ด้านดอกเบี้ยจ่ายปี 2548 สูงกว่าดอกเบี้ยจ่ายในช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 27 ล้านบาท เนื่องจากดอกเบี้ยมีอัตราสูงขึ้น และบริษัทมีเงินกู้สำหรับสายการผลิตบี. โอ.พี.พี.สายการผลิตใหม่ อีกประมาณ 423 ล้านบาท ในปี 2547 แม้ว่าบริษัทจะได้ชำระเงินเงินกู้เป็นจำนวน 662.52 ล้านบาท ในปี 2548
|
|
|
|
|