|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จับตาอนาคตยูบีซีจากการไล่บี้ของทริปเปิลเพลย์ ที่เทคโนโลยีก้าวล้ำนำกฎหมาย จนทำให้เกิดบริการกลางสุญญากาศ กลุ่มทรูเอาบ้างด้วยการจับมือกับช่อง 7 หลังบัดดี้ทำไปแล้ว มั่นใจไม่ผิดกฎหมายอ้างให้บริการบนพีซีไม่ใช่ทีวี ส่วนอนาคตระหว่างการมาของบริการแนวใหม่กับยูบีซี ผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสิน
นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ ผู้อำนวยการบริหารด้าน Home/Consumer Solution & Hi-speed Access บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทรูร่วมกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 รุกตลาดมัลติมีเดีย ด้วยการนำเสนอสื่อช่องทางใหม่บนเทคโนโลยีบรอดแบนด์ เพื่อติมเต็มไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ยุคไฮสปีด เปิดให้ชมรายการสดทางช่อง 7 สี ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมเลือกชมรายการโปรดหรือละครยอดนิยม ย้อนหลัง รวมถึงรายการวาไรตี้ และเรียลลิตี้ ผ่าน http://ch7.trueworld.net เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้เป็นต้นไป
ความร่วมมือระหว่างช่อง 7 และทรูในครั้งนี้เป็นการเพิ่มช่องทางเข้าสู่ธุรกิจนิวมีเดีย เปิดช่องออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีบรอดแบนด์ เพื่อนำเสนอสาระและบันเทิงรองรับความต้องการของผู้ชมยุคใหม่ที่ไลฟ์สไตล์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามยุคไฮสปีด ที่ผู้บริโภคสามารถใช้บริการได้พร้อมกับทั้งเรื่องของบันเทิง เล่นอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์บนสายโทรศัพท์สายเดียว หรือที่เรียกกันว่าทริปเปิลเพลย์
สำหรับรายการต่าง ๆ ที่จะอยู่บนบรอดแบนด์นี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก รายการสดที่กำลังออกอากาศ (Live TV) ที่สามารถรับชมรายการโทรทัศน์ของช่อง 7 สี แบบออนไลน์ ไปพร้อม ๆ กันกับที่ออกอากาศจริง ประเภทที่สอง รายการย้อนหลัง (Video on Demand) ซึ่งช่อง 7 สี นำรายการและละครที่ออกอากาศในปัจจุบัน มาให้ผู้ชมเลือกดูได้ย้อนหลัง 1 วัน เช่น ละครหลังข่าวเรื่อง รักติดลบ หลงเงาจันทร์ แคนลำโขง ละครเยาวชน เรื่อง ก๊วนใสหัวใจสะออน ละครก่อนข่าว เรื่อง ดวง ละครบ่ายวันเสาร์-อาทิตย์ เรื่องยอดชายนายโข่ง และ เพื่อนรักนักล่าฝัน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังสามารถชมรายการข่าวและรายการสั้น เช่น สะเก็ดข่าว เส้นทางบันเทิง สปอร์ตทิปส์ รายการวาไรตี้ เช่น จันทร์พันดาว เรื่องจริงผ่านจอ คดีเด็ด ที่นี่หมอชิต และการประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ประจำปี 2549 ละครคลาสสิก เช่น ทายาทอสูร อรุณสวัสดิ์ ฟ้าใหม่ ลอดลายมังกร แม่เบี้ย ภาพยนตร์และซีรีส์ต่างประเทศ ซึ่งจะเผยแพร่ในลำดับต่อไป และในอนาคตอันใกล้ จะมีละครตอนพิเศษที่ไม่เคยออกอากาศทางโทรทัศน์ ซึ่งช่อง 7 สี นำมาบรรจุไว้เป็นรายการประจำบนบรอดแบนด์นี้ด้วย
ผู้บริหารทรูเชื่อว่า การผนึกกำลังกับช่อง 7 เปิดทีวีออนไลน์ในครั้งนี้ จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าไฮสปีดที่มีอยู่ขณะนี้ประมาณ 3.5 แสนราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มแฟนละครช่อง 7 สี ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วประเทศ และจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันตลาดบรอดแบนด์ของทรูให้โตยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่จะร่วมกันยกระดับอุตสาหกรรมธุรกิจมัลติมีเดีย
ส่วนค่าบริการในช่วงเปิดตัว 1 มีนาคมถึง 30 เมษายนนี้ จะเก็บจากบริการประเภทละครย้อนหลัง 1 วัน ราคา 10 บาท/ตอน/ครั้ง และ 20 บาท/ตอน/ชมภายใน 24 ชม. ประเภทละครคลาสสิก 10 บาท/ตอน/ครั้ง ราคา 20 บาท/ตอน/ชมภายใน 24 ชม. ประเภทรายการข่าว และรายการสั้น ราคา 10 บาท/ตอน/ชมภายใน 24 ชม. และประเภทวาไร้ตี้ ราคา 20 บาท/ตอน/ชมภายใน 24 ชม. ด้านคุณภาพขึ้นอยู่กับความเร็วที่ลูกค้าใช้ตั้งแต่ 256 Kขึ้นไป
นอกจากคอนเทนต์ที่ร่วมมือกับช่อง 7 แล้ว กลุ่มทรูยังสามารถนำคอนเทนต์จากยูบีซีที่ไม่ติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์มาให้บริการกับลูกค้าไฮสปีดได้ด้วย ส่วนจะส่งผลกระทบกับยูบีซีจากการเข้ามาของบริการทริปเปิลเพลย์หรือไม่ ผู้บริหารทรูเชื่อว่า ผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสิน เพราะอะไรจะเป็นไปอย่างไรก็ต้องปล่อยไป แต่ยังเชื่อว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด และมีทางเลือกมากขึ้นระหว่างความบันเทิงที่เป็นส่วนตัวกับส่วนรวม
นายธิติฏฐ์กล่าวถึงการให้บริการดังกล่าวในแง่ของกฎหมายว่า ไม่น่าจะผิดกฎหมายและไม่ต้องขอใบอนุญาต เพราะเป็นการให้บริการบนพีซี ไม่ใช่ทีวี และมีผู้บริการไปแล้วก่อนหน้านี้อย่างบริการบัดดี้ที่เป็นความร่วมมือระหว่างทีโอทีกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส)
“ความแตกต่างบริการของเรากับบัดดี้ อยู่ตรงที่เราให้บริการบนพีซีและไม่ต้องใช้เซ็ตท้อปบ็อกซ์”
นายธิติฏฐ์กล่าวถึงกรณีที่ทริปเปิล ทรีในเครือทีทีแอนด์ทีได้ใบอนุญาตในการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในเขตกรุงเทพฯว่า เป็นเรื่องการเปิดเสรีด้านโทรคมนาคม และน่าจะเป็นดีกับผู้บริโภคที่มีทางเลือกมากขึ้น
|
|
|
|
|