Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 มีนาคม 2549
ศูนย์พยากรณ์หอการค้าประเมินการเมืองป่วนตัวเลขเศรษฐกิจโต             
 


   
www resources

โฮมเพจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

   
search resources

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
Economics




ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ประเมินผลกระทบเศรษฐกิจจากความไม่แน่นอนทางการเมืองออกเป็น 3 กรณี พบเศรษฐกิจจะขยายตัวดีสุด 4.4% จากเดิม 4.8% ถ้า เลือกตั้งภายใน 60 วันและได้รัฐบาลใหม่ หากตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล นายกรัฐมนตรีพระราชทาน เศรษฐกิจโต 4% แต่หากวุ่นวายจนเลือกตั้งไม่ได้ เศรษฐกิจจะตกเหลือ 3.5%

นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ได้จัดทำการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2549 ภายใต้สถานการณ์ไม่แน่นอนทางการเมืองในปัจจุบันว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทั้งภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ การค้า การลงทุน และผู้บริโภค รวมทั้งกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เคยประเมินภาวะเศรษฐกิจของประเทศแล้วว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4.8%

ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์แยกออกเป็น 3 กรณี คือ กรณีที่ 1 มีการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญเดิมภายใน 60 วันและมีรัฐบาลชุดใหม่ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 4.4% โดยเศรษฐกิจจะชะลอตัวในช่วงครึ่งปีแรก ฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 โดยเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 4 จะขยายตัว 4.4% 4.1% 4.3% และ 5.0% ขณะที่โครงการเมกะโปรเจกต์จะเริ่มในไตรมาสที่ 4 ส่วนการส่งออกจะขยายตัว 13.3% นำเข้า 13.3% ดุลการค้าขาดดุล 9,615 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 5.0% ต่อจีดีพี ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4,315 ล้านเหรียญสหรัฐ ขาดดุล 2.2% ของจีดีพี เงินเฟ้อ 3.8-4.3% ค่าเงินบาท 40.3 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

กรณีที่ 2 ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล มีนายกรัฐมนตรีพระราชทาน มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนการเลือกตั้ง จนมีรัฐบาลชุดใหม่ เศรษฐกิจจะขยายตัว 4.0% โดยเศรษฐกิจจะชะลอตัวในช่วง 3 ไตรมาสแรกและฟื้นตัวในไตรมาสที่ 4 ซึ่งเศรษฐกิจจะขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ถึง ไตรมาสที่ 4 คือ 4.3% 3.9% 3.7% และ 4.1% ขณะที่เมกะโปรเจกต์จะเริ่มกลางปี 2550 การส่งออกขยายตัว 13.3% นำเข้า 12.6% ดุลการค้าขาดดุล 8,844 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 4.0% ต่อจีดีพี ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4,044 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.1% ต่อจีดีพี เงินเฟ้อ 3.6-4.1% ค่าเงินบาท 40.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

กรณีที่ 3 เกิดความรุนแรงจนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ ซึ่งเป็นสถานการณ์เลวร้ายสุด จะกระทบการทำเมกะโปรเจกต์ที่ต้องชะลอออกไป เศรษฐกิจจะขยายตัว 3.5% โดยเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 4 จะขยายตัว 4.1% 3.5% 3.2% และ 3.3% ส่งออกขยายตัว 11% นำเข้า 10.9% ดุลการค้าขาดดุล 9,387 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 5.0% ต่อจีดีพี ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5,087 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 2.7% ต่อจีดีพี เงินเฟ้อ 3.3-3.8% ค่าเงินบาท 41.0 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

"ถ้าเป็นกรณีแรก เศรษฐกิจ การค้า การส่งออก ยังคงขยายตัวได้ดี หรือแม้แต่กรณีที่ 2 ก็ยังขยายตัวได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ 3 มองว่าเป็นวิกฤต บางประเทศอาจบอยคอตสินค้าไทย จนกระทบการส่งออก และที่สำคัญการท่องเที่ยวจะชะงัก ทำให้ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้น"นางเสาวณีย์กล่าว

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลจากการที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง 1 % จากความไม่แน่นอนทางการเมือง ทำให้ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและบริการชะลอตัวลง 1.85% โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าแบรนด์เนม สินค้าอุปโภคบริโภค การลงทุนชะลอตัว 1.21% เช่น ด้านก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง และเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ ธุรกิจบริโภคอุปโภค ชะลอตัวลง 0.96% ธุรกิจที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายของภาครัฐ ชะลอตัวลง 0.92%

ส่วนภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงสุด คือ สถาบันการเงิน และภาคการก่อสร้าง จะชะลอตัวลง 1.79% และ 1.53% ตามลำดับ ปานกลาง คือ ประมง ลดลง 0.94% โรงแรม ภัตตาคาร 0.89% ภาคบริการ 0.81% ขนส่งและการคมนาคม 0.79% การค้าส่ง ค้าปลีก 0.71% ไฟฟ้าและประปา 0.63% ระดับต่ำ คือ เหมืองแร่และย่อยหิน 0.49% การผลิต 0.48% แม่บ้าน 0.31% การเกษตร 0.28% บริการชุมชน 0.27% อสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการเช่น 0.14% และการศึกษา 0.04%

"ยิ่งการเมืองไม่แน่นอน มีผลต่อการค้า การลงทุน การบริโภค และจะลดลงมากกว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง แต่ถ้าการเมืองนิ่งเมื่อไร เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วขึ้นเท่านั้น เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยแข็ง แต่ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรง เศรษฐกิจจะยิ่งแย่ลง ซึ่งหวังว่าคงจะไม่เกิดขึ้น"นายธนวรรธน์กล่าว

นายธนวรรธน์กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทย ต้องพึ่งโครงการเมกะโปรเจกต์มาก เพราะถ้าเมกะโปรเจกต์ที่ล่าสุดมีมูลค่าโครงการประมาณ 2-3 แสนล้านบาทไม่เกิด จะทำให้จีดีพีลดลง 0.5-1% จึงเห็นว่าไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล ก็ต้องเร่งโครงการเมกะโปรเจกต์ เพราะไม่เพียงแต่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยในระยะยาว ส่วนการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ก็คงต้องเดินหน้าต่อ เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เห็นว่าควรแปรรูปต่อไป แต่วิธีการอาจไม่จำเป็นต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ก็ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us