Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540
กฎเหล็กในการผลิตเบียร์ของแต่ละค่าย             
โดย มานิตา เข็มทอง
 

   
related stories

เงื่อนไขการตั้ง Brewpub

   
search resources

โพลาเนอร์
ฮาร์ทมันส์ดอร์ฟเฟอร์




บริวผับแต่ละแห่งจะมีกฎเกณฑ์ในการผลิตที่แตกต่างกัน อาทิ โพลาเนอร์ ยึดถือกฎ "The Munich Law of Purity" ซึ่งถือเป็นกฎเหล็กที่มีอายุยาวนานมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1516 ที่กำหนดขึ้นโดย Duke Heinrich ที่ระบุให้วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเบียร์มี 3 ชนิดเท่านั้นคือ มอลต์ ซึ่งได้จากข้าวบาร์เลย์, ฮอป เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีดอก และจะใช้เพียงส่วนที่เป็นดอกเท่านั้นในการผลิตเบียร์ ซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดรสขมอันเป็นเอกลักษณ์ของเบียร์นั่นเอง และส่วนสุดท้ายคือ น้ำบริสุทธิ์

ในขณะที่ ฮาร์ทมันส์ดอร์ฟเฟอร์ เบราเฮาส์ ยึดถือกฎแห่งความบริสุทธิ์ในการผลิตเบียร์ "Reinheitsgebot" ซึ่งถือเป็นกฎเกณฑ์ด้านอาหารที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1516 เช่นเดียวกัน โดยกฎนี้ได้ระบุว่าเบียร์จะใช้วัตถุดิบเพียง 4 ชนิดในการผลิตเท่านั้น ซึ่งวัตถุดิบ 3 ชนิดนั้นเหมือนกับโพลาเนอร์ หากแต่เพิ่มยีสต์ขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากยีสต์จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลในมอลต์ให้เป็นแอลกอฮอล์ทำให้เกิดกลิ่นรสเฉพาะตัวของเบียร์ และเบียร์ของที่นี่จะไม่ผ่านกระบวนการอื่นใดจะทำลายรสชาติ และคุณลักษณะของเบียร์ อาทิ กระบวนการกรองละเอียดและการพาสเจอร์ไรซ์ จึงทำให้เบียร์ฮาร์ทมันส์ดอร์ฟเฟอร์มีความสด มัน และมีลักษณะขุ่น ไม่ใสเหมือนเบียร์ที่บรรจุขวดหรือกระป๋องที่ถูกกรองจนใสและผ่านกรรมวิธีพาสเจอร์ไรซ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคทำให้สามารถเก็บเบียร์ไว้ได้นาน

แม้ว่าชื่อของกฎเกณฑ์ที่บริวผับแต่ละแห่งยึดถือจะไม่เหมือนกัน แต่กระบวนการกรรมวิธีในการผลิตเบียร์แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย โดยเริ่มต้นจาก

Mashing คือ การนำมอลต์มาตีเป็นผงและเติมน้ำและนำไปต้มใน Mash Tun ผสมจนได้ Mash ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวข้น

จากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอนของการ Lautering คือการย้าย Mash ที่ได้มาที่ Lauter Tun แล้วเติมน้ำให้ใสขึ้น พร้อมกรองเอากากออกจะได้ของเหลวที่มีรสหวานที่เรียกว่า Wort และนำ Wort ไปต้มอีกครั้ง พร้อมทั้งเติมฮอปตามส่วน เมื่อต้มจนได้ที่ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จึงกรองเอาแต่กากฮอปออก

ต่อจากนั้นก็ย้ายส่วนผสมทั้งหมดไปยัง Fermentation Tank เพื่อทำให้เย็น และเติมยีสต์ลงไป (กรณีของฮาร์ทมันส์ดอร์ฟเฟอร์) ในระยะนี้จะเกิดการหมัก ทำให้น้ำตาลกลายเป็นแอลกอฮอล์ ซึ่งในขั้นตอนการหมักนี้จะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมตลอดเวลา โดยตามปกติจะใช้เวลาหมักประมาณ 1 สัปดาห์ และภายหลังจากหมักได้ที่แล้ว ก็จะกรองเอาแต่น้ำเบียร์ไปเก็บบ่มใน Larger Tank ซึ่งจะเป็นการบ่มเบียร์ในอุณหภูมิที่ต่ำในเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้เบียร์มีรสชาติที่นุ่มและมีกลิ่นหอม

ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากที่บ่มเบียร์ได้ที่แล้วก็จะย้ายเบียร์ไปเก็บไว้ยังถังจ่ายเบียร ์ซึ่งจะทำหน้าที่จ่ายเบียร์ไปยังหัวจ่ายที่บาร์ และพร้อมที่จะจำหน่ายต่อไปได้ รวมระยะเวลาขั้นตอนทั้งหมดก็ประมาณ 1 เดือนพอดี

ทั้งนี้คุณลักษณะของเบียร์แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ สายพันธุ์ของยีสต์ รวมทั้งรายละเอียดในการผลิตเบียร์ เช่น อุณหภูมิ และระยะเวลาในการต้ม การหมัก การบ่ม และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสามารถในการควบคุมการผลิตของบริวมาสเตอร์ (Brewmaster) ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อครัวใหญ่ของโรงเบียร์นั่นเอง ซึ่งในประเทศเยอรมนีผู้ที่จะมาเป็นบริวมาสเตอร์ได้จะต้องผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันเฉพาะทาง ดังนั้นบริวผับแต่ละแห่งในประเทศไทยจะมีบริวมาสเตอร์ที่มาจากต้นตำรับที่แต่ละแห่งยึดถือ ซึ่งจะทำให้รสชาติของเบียร์ในแต่ละแห่งมีความเป็นเอกลักษณ์และแตกต่างกันออกไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us