Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540
เงื่อนไขการตั้ง Brewpub             
โดย มานิตา เข็มทอง
 

   
related stories

กฎเหล็กในการผลิตเบียร์ของแต่ละค่าย

   
search resources

กรมสรรพสามิต




ผู้ขออนุญาตหรือผู้ประกอบการธุรกิจเบียร์โรงเล็ก จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับเงื่อนไขการตั้งโรงงานเบียร์ประเภท Brewpub ที่ทางกรมสรรพสามิตได้กำหนดไว้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

" ต้องมีกำลังการผลิตไม่น้อยกว่า 100,000 ลิตร แต่ไม่เกิน 1,000,000 ลิตรต่อปี

" ต้องตั้งอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่ใกล้สาธารณสถาน สถานที่ราชการ วัด หรือโรงเรียน ในระยะห่าง 100 เมตร

" ต้องมีการติดตั้งระบบป้องกันปัญหามลภาวะตามที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 ที่กำหนดไว้

" ภาชนะทุกชนิดที่จะนำมาใช้ในการผลิตและจำหน่ายเบียร์ นับตั้งแต่หม้อต้มเบียร์ ถังหมักเบียร์ ถังพักน้ำเบียร์ ไปจนถึงแก้วบรรจุเบียร์ จะต้องผ่านการตรวจวัด และรับรองให้ใช้ได้โดยกรมสรรพสามิตแล้ว ทั้งนี้ ห้ามมิให้ใช้ภาชนะชนิดที่มีฝาปิดทำการบรรจุเบียร์เป็นเบียร์สำเร็จรูปเด็ดขาด

" ภายในโรงเบียรต้องจัดให้มีมาตรวัดปริมาณน้ำเบียร์ที่ออกจากถังพักเบียร์ทุกถัง หากมาตรวัดปริมาณน้ำเบียร์ดังกล่าวชำรุดเสียหายจนไม่สามารถคำนวณปริมาณน้ำเบียร์ที่ปล่อยออกจากถังพักเบียร์ได้แน่นอน ห้ามทำการจำหน่ายเบียร์ที่ผลิตได้ และในกรณีที่กรมสรรพสามิตเห็นสมควรให้มีการรายงานความเคลื่อนไหวของน้ำเบียร์ผ่านมาตรวัดไปยังกรมสรรพสามิต โดยระบบ online ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดำเนินการตามความประสงค์ภายในเวลาที่กรมสรรพสามิตกำหนดให้

" ต้องจัดทำบัญชีควบคุมการผลิตเบียร์ ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้ามาเก็บรักษา เพื่อผลิตเบียร์ การนำวัตถุดิบไปป่นหรือย่อย การต้มวัตถุดิบการหมักเบียร์ การกรองเบียร์ การเก็บบ่มน้ำเบียร์ในถังพัก ตลอดจนปริมาณน้ำเบียร์ที่จำหน่ายผ่านมาตรวัด เมื่อสิ้นทุกวัน เพื่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตสามารถตรวจสอบได้ทุกเวลา

วิธีการขออนุญาตตั้งโรงเบียร์ Brewpub

สิ่งที่ผู้ขออนุญาตฯ จะต้องเตรียมมาเสนอต่อกรมสรรพสามิตก็คือ เหตุผลในการขอตั้งสถานที่จะขอตั้งและสภาพแวดล้อม แผนผังสถานที่ตั้งและแบบแปลนเครื่องจักร งบประมาณในการลงทุน เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสูตรการทำเบียร์

นอกจากนั้น ผู้ขออนุญาตต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นเรื่องขออนุญาตสร้างโรงงานต่อกรมโรงงานด้วย รวมทั้งต้องศึกษาข้อปฏิบัติตามระเบียบราชการ อาทิ เกณฑ์การชำระภาษีและการติดมิเตอร์ เป็นต้น

จากนั้นเมื่อผู้ขออนุญาตฯ ไดรับการอนุมัติให้ก่อตั้งโรงงานเบียร์เรียบร้อยแล้วก็ต้องมีการทำสัญญากับกรมสรรพสามิต โดยภายในสัญญาระบุว่าต้องสร้างโรงงานให้เสร็จและพร้อมเปิดทำการได้ภายใน 9 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม

สำหรับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการทำสัญญา แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เงินค้ำประกันการก่อสร้างจำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งเมื่อโรงงานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และสามารถจำหน่ายได้แล้ว ทางกรมฯ จะคืนเงินส่วนนี้ให้ และค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 ก็คือ เงินค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา จำนวน 500,000 บาท โดยเงินส่วนนี้ทางกรมฯ จะเก็บไว้จนกว่าจะเลิกกิจการ

หลังจากสร้างโรงงานเสร็จแล้วผู้ประกอบการจะต้องขอในอนุญาตอีกทั้งหมด 3 ใบ คือ ใบอนุญาตการทำสุรา ตามมาตรา 5 ของกรมสรรพสามิต โดยเสียค่าธรรมเนียมปีละ 4,000 บาท ใบอนุญาตทำเชื้อสุราสำหรับใช้ในโรงงาน มูลค่า 300 บาทต่อปี และใบอนุญาตขายสุราปลีก ป.4 มูลค่า 110 บาท และ ป 3. มูลค่า 1,650 บาท กรณีที่ภายในร้านมีการจำหน่ายสุราต่างประเทศด้วย

นอกจากนี้ ต้องแจ้งกรรมวิธีการผลิต ภาชนะที่บรรจุและตัวอย่างเบียร์ เพื่อการวิเคราะห์ก่อนรวมถึงต้องแจ้งราคา ณ โรงงาน ก่อนทำการจำหน่ายล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน

ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องจัดธนาคารสำหรับค้ำประกันการชำระภาษีเบียร์ อย่างน้อยเท่ากับค่าภาษีเบียร์สำหรับกำลังการผลิตเบียร์ในระยะเวลา 1 เดือน ส่วนการชำระภาษีเบียร์นั้นให้ชำระตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงสัปดาห์ละครั้ง โดยคำนวณจากปริมาณน้ำเบียร์ที่ผ่านมาตรวัด ซึ่งอัตราภาษีเบียร์ที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 48 ของราคา ณ โรงงาน หรือราคาลิตรละ 48 บาทนั่นเอง ทางผู้ประกอบการต้องเสียภาษีนี้ก่อนการจำหน่ายทุกครั้ง และสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องจัดทำทุกเดือน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกรมฯ ทำการตรวจทุกเดือนก็คือ บัญชีการผลิต การใช้วัตถุดิบรวมทั้งยอดการจำหน่ายให้เสร็จภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไปเป็นประจำ

เป็นที่สังเกตว่า ขั้นตอนการขออนุญาตค่อนข้างจะละเอียดถี่ถ้วน แต่เมื่อผ่านการะบวนการทั้งหมดนี้ครบทุกขั้นตอนแล้ว คุณก็จะกลายเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเบียร์โรงเล็ก หรือ Brewpub รายใหม่ทันที

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us