Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2543
ยนตรกิจขายโรลสรอยซ์-เบนท์ลี่ เกมนี้ต้องมองยาวๆ             
 


   
search resources

ยนตรกิจ กรุ๊ป
โฟล์คสวาเกน
โรลสรอยช์ แอนด์ เบนท์ลี่ คาร์
วิทิต ลีนุตพงษ์
Auto Dealers




พิธีเซ็นสัญญาแต่งตั้งเครือยนตรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ของรถยนต์โรลสรอยซ์ และเบนท์ลี่ ถือเป็นงาน ที่ฝ่ายอังกฤษให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

บาร์นี่ สมิธ เอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ถึงกับยอมเปิดบ้านให้กลุ่มผู้สื่อข่าวกว่า 100 ชีวิต เดินทางเข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศอันร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ภายในสถานทูต และใช้เวลาอยู่ในสถานที่แห่งนี้ ถึงกว่า 3 ชั่วโมง

"โรลสรอยซ์ ถือเป็นยี่ห้อรถ ที่มีชื่อเสียงที่สุดของอังกฤษ"เอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ให้เหตุผล

ทั้งโรลสรอยซ์ และเบนท์ลี่ ถือเป็นรถยนต์ระดับหรูสุด ราคานำเข้า บวกกับภาษีแล้วจะตกประมาณคันละ 30 ล้านบาท โดยเฉลี่ย

อย่างไรก็ตาม รถทั้ง 2 ยี่ห้อ กลับเป็นที่นิยมของลูกค้าระดับมหาเศรษฐีในประเทศไทย รวมทั้งโรงแรมระดับ 5 ดาว ที่มีลูกค้าระดับดังกล่าวเข้ามาใช้บริการเป็นประจำ ก็จำเป็นต้องมีรถโรลสรอยซ์ หรือเบนท์ลี่ ไม่ยี่ห้อใดยี่ห้อไว้ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มนี้

"จากข้อมูลล่าสุด ขณะนี้ในประเทศไทย มีคนใช้รถทั้ง 2 ยี่ห้อนี้อยู่ประมาณ 400 คัน"วิทิต ลีนุตพงษ์ กรรมการบริหาร เครือยนตรกิจกล่าว

แม้โรลสรอยซ์ จะเป็นยี่ห้อรถ ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากเกาะอังกฤษ แต่ปัจจุบันสิทธิในการขายรถโรลสรอยซ์ รวมทั้งเบนท์ลี่ทั่วโลก กลับตกไปอยู่ในมือของโฟล์กสวาเกน กรุ๊ป ค่ายรถยนต์จากเยอรมนี

สำหรับประเทศไทย ก่อนหน้านี้ผู้ที่นำรถทั้ง 2 ยี่ห้อเข้ามาขาย คือ บริษัทเอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส ในเครือซีทีไอกรุ๊ปของอนุศักดิ์ อินทรภูวศักดิ์ ซึ่งจับตลาดนำเข้ารถหรูมาขายในประเทศไทยมานาน โดยนอกจากโรลสรอยซ์ และเบนท์ลี่แล้ว กลุ่มนี้ยังขายทั้งรถปอร์เช่ และจากัวร์อีกด้วย

การเปลี่ยนมือการขายโรลส์รอยซ์ และเบนท์ลี่ จากเอเอเอส ออโต เซอร์วิส มาเป็นเครือยนตรกิจ เกิดขึ้นเนื่องจากเมื่อปีที่แล้ว โฟลกสวาเกน เอจี ได้เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยอย่างจริงจัง โดยการร่วมมือกับเครือยนตรกิจ

ทั้ง 2 กลุ่มได้เริ่มต้นเปิดตลาดด้วยการนำรถโฟลกสวาเกน พัสสาทเข้ามาประกอบ ที่โรงงานวายเอ็มซี ของเครือยนตรกิจ รวมทั้งนำรถโฟลกสวาเกน นิวบีทเทิล เข้ามาจำหน่าย ซึ่งปรากฏว่ารถทั้ง 2 รุ่น ได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี โฟลกสวาเกนจึงมีแผนที่จะนำรถโรลสรอยซ์ และเบนท์ลี่เข้ามาจำหน่ายในไทยเพิ่มขึ้นด้วย

เครือยนตรกิจ ในฐานะคู่สัญญาเดิมจึงได้อานิสงค์ไปโดยปริยาย ในการได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในครั้งนี้

"เรื่องนี้ผมได้คุยกับคุณอนุศักดิ์แล้ว เขาก็รับรู้"วิทิตยืนยันว่าการได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์หรูทั้ง 2 ยี่ห้อ เป็นการเสนอมาจากฝ่ายโฟลกสวาเกน"เราไม่ได้กระเสือกกระสนจะขอเขามาขาย"

"ยนตรกิจถือเป็นมืออาชีพที่สุด ของวงการรถยนต์เมืองไทย"มาร์ค เทนแนนท์ ผู้อำนวยการประจำภาคพื้นเอเซีย-แปซิฟิค บริษัทโรลสรอยซ์ แอนด์" เบนท์ลี่ คาร์ ประเทศอังกฤษ ให้เหตุผลในการแต่งตั้งให้ยนตรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายรถทั้ง 2 ยี่ห้อในไทย

อย่างไรก็ตาม ในช่วง ที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ยังไม่ฟื้นตัว การหวังยอดขายรถทั้ง 2 ยี่ห้อ ซึ่งมีราคาสูงมาก จึงทำได้ยาก วิทิตยอมรับว่าเขายังไม่ได้ตั้งเป้าหมายไว้เลยว่าจะขายได้กี่คัน การแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการครั้งนี้ เขาจึงมองไปยังการให้บริการกับลูกค้า ที่มีอยู่เดิมเป็นหลัก

เขาตัดสินใจลงทุน 120 ล้านบาท ปรับปรุงอาคารย่านคลองตัน ให้เป็นศูนย์บริการ และสำนักงานใหญ่สำหรับการขายรถ 2 ยี่ห้อนี้โดยเฉพาะ

"เรายอมรับว่ารถทั้ง 2 ยี่ห้อ ที่มีอยู่ 400 คัน ในประเทศไทยขณะนี้ ส่วนใหญ่จะถูกจอดทิ้งไว้ โอกาส ที่เจ้าของจะนำออกมาขับมีน้อยมาก ซึ่งรถ ที่จอดอยู่กับบ้านเฉยๆ มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดปัญหากับเครื่องยนต์"

กลยุทธของวิทิต คือ ต้องกระตุ้นให้คนกลุ่มนี้เริ่มหันมาใช้รถให้มากขึ้น และหากรถมีปัญหา ให้มาซ่อมได้ ที่ยนตรกิจ

ปัจจุบัน โรลสรอยซ์ แอนด์เบนท์ลี่ คาร์ ได้ส่งแอนดรู เพอร์ริช ช่างผู้มีความชำนาญในการซ่อมรถทั้ง 2 ยี่ห้อโดยเฉพาะจากอังกฤษ มาประจำอยู่ในประเทศไทย

แอนดรู ปัจจุบัน อายุเพียง 26 ปี แต่เขามีประสบการณ์กับรถทั้ง 2 ยี่ห้อมาถึง 10 ปีเต็ม เพราะปู่ของเขาเคยเป็นช่างให้กับโรลสรอยซ์มาก่อน"แอนดรูเคยเดินทางไปซ่อมโรลสรอยซ์ และเบนท์ลี่มาแล้วเกือบทั่วโลก แม้แต่ในวังของสุลต่านบรูไน ก็เคยไปมาแล้ว"วิทิตยกย่องสรรพคุณ

การได้รับความร่วมมือจากโรลสลอยซ์ แอนด์ เบนท์ลี่ ในการส่งแอนดรูมาประจำในประเทศไทย รวมทั้งการฝึกอบรมช่างคนไทยให้สามารถซ่อมบำรุงรถทั้ง 2 ยี่ห้อ ทำให้วิทิตไม่ได้มองเป้าหมายแค่การให้บริการกับลูกค้าเพียง 400 รายในประเทศไทยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

แต่เขามองไกลไปถึงขั้น ที่ว่าจะทำอย่างไรให้โรลสรอยซ์ แอนด์ เบนท์ลี่ มาตั้งศูนย์บำรุงรักษารถยนต์ทั้ง 2 ยี่ห้อในประเทศไทย เพื่อให้บริการกับผู้ใช้รถทั้ง 2 ยี่ห้อในภูมิภาคนี้"ขณะนี้เรากำลังเจรจาอยู่"

เขามองว่าการตั้งศูนย์บำรุงรักษาในไทย ประเทศชาติจะได้รับผลประโยชน์ไปด้วย ไม่ใช่ยนตรกิจเพียงฝ่ายเดียว เพราะหากผู้ใช้รถโรลสรอย และเบนท์ลี่ทุกคนที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งเขาประมาณเอาไว้ว่ามีไม่ต่ำกว่า 1,000 คัน ส่งรถเข้ามาซ่อมในประเทศไทย หากรถมีปัญหา ก็จะเป็นการดึงเงินตราต่างประเทศเข้ามาได้

นอกจากนี้ ช่างฝีมือคนไทยก็จะได้รับประโยชน์ เพราะจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ในการซ่อมรถทั้ง 2 ยี่ห้อ ซึ่ง ที่ผ่านมามีคนรู้น้อยมาก เพราะโรลสรอยซ์ และเบนท์ลี่ ไม่เคยมีศูนย์บริการซ่อมบำรุงนอกประเทศอังกฤษมาก่อน ดังนั้น เวลาผู้ใช้รถทั้ง 2 ยี่ห้อนี้มีปัญหา จะต้องส่งไปยังประเทศอังกฤษเพียงอย่างเดียว

"ถ้าเราทำได้จะถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะถือเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงแห่งแรกของรถ 2 ยี่ห้อนี้ นอกเกาะอังกฤษ"เขามีความหวัง

แม้ว่าปัจจุบันโฟลกสวาเกนกรุ๊ป เยอรมนี จะเป็นเจ้าของสิทธิในการจำหน่ายรถโรลสรอยซ์ และเบนท์ลี่ แต่สิทธิดังกล่าวก็มีอายุเหลืออีกเพียง 2 ปี หลังปี 2002 สิทธิการขายรถโรลสรอยซ์ จะตกไปอยู่ในมือของบีเอ็มดับบลิว ซึ่งเป็นค่ายรถจากเยอรมนีเช่นกัน

บีเอ็มดับบลิวนั้น เคยเป็นคู่ค้ากับยนตรกิจมานานถึงกว่า 30 ปี แต่ต้องมาแยกทางกัน เมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา หลังจากบีเอ็มดับบลิว เยอมนีตัดสินใจเข้ามาทำตลาด รวมทั้งเปิดโรงงานประกอบรถยนต์ขึ้นเองในประเทศไทย ซึ่งคนในวงการรถยนต์มองว่าเป็นประสบการณ์ ที่เจ็บปวดอย่างยิ่งของยนตรกิจ

บีบให้ยนตรกิจ ต้องดึงโฟลกสวาเกนเข้ามาเป็นคู่ค้ารายใหม่

ดังนั้น หากความพยายามในการเจรจาให้ยนตรกิจ เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงให้กับโรลสรอยซ์ และเบนท์ลี่อย่างเป็นทางการในภูมิภาคนี้ ประสบความสำเร็จ ในระยะยาวแล้ว จะเป็นผลดีกับค่ายรถยนต์ชาวไทย ที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวรายนี้ เพราะทำให้สามารถหากินกับรถทั้ง 2 ยี่ห้อไปได้อีกนาน แม้ว่าสิทธิการขายจะเปลี่ยนมือไปแล้วก็ตาม

ถึงเวลานั้น คนคิดหนักอาจะเป็นบีเอ็มดับบลิว

ก็ขอเอาใจช่วยให้การเจรจาประสบผลสำเร็จ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us