Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540
ซอฟต์แวร์ต่างประเทศ งานนี้รวยเละ             
 

   
related stories

วิบากกรรมไทยสกายทีวี

   
search resources

ไอบีซี ซิมโฟนี, บจก.
ยูทีวี




ไอบีซีและยูทีวีแข่งกันมากเท่าไร ผู้ที่ร่ำรวยที่สุดก็คือผู้ผลิตซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ

ยิ่งผลจากการสำรวจของทั้งไอบีซีและยูทีวี พบว่าความนิยมของคนไทยที่มาเป็นอันดับ 1 คือภาพยนตร์จากต่างประเทศ ส่วนอันดับ 2 นั้นไอบีซี บอกว่ากีฬา และยูทีวีบอกว่ายังเป็นภาพยนตร์จากต่างประเทศอยู่เหมือนเดิม ส่วนอันดับ 3 คือกีฬา ส่วนซอฟต์แวร์ของเมืองไทยไม่ติดอันดับ

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การเดินสายกว้านซื้อซอฟต์แวร์จากต่างประเทศจึงมีมาตลอด

รายการซอฟต์แวร์จากต่างประเทศมีทั้งหมด 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. รายการบันเทิง 2. รายการข่าว เช่น ซีเอ็นเอ็น, เอ็นบีซี สตาร์นิวส์ เอบีซี 3. รายการสารคดีดิสคัฟเวอรี่ รายการภาพยนตร์ HBO ซีนีแม็กซ์ ซึ่งทั้ง 3 ประเภทนั้นมีวิธีขายลิขสิทธิ์ และการส่งรายการให้ก็แตกต่างกันไป

สองประเภทหลังนั้นจะขายรายการแบบเหมาเป็นช่องโดยจะส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมมาให้ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีเพื่อนำไปถ่ายทอดแพร่ภาพ ซึ่งการคิดค่าใช้จ่ายจะคิดคำนวณจากจำนวนสมาชิก คือยิ่งสมาชิกมาก็ยิ่งเสียค่าลิขสิทธิ์มาก

"สองประเภทนี้จะไม่มีเอ็กซ์คลูซีฟให้ใคร เพราะเขามองเป็นภาพรวม แต่ถ้ารายใดมียอดสมาชิกมากตามที่กำหนดเช่น 5 แสนรายก็จะขายลิขสิทธิ์ให้" ผู้เชี่ยวชาญในวงการทีวีเล่า

ส่วนประเภทแรก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นละคร อาทิ ละครชุด หนังตลก มักจะขายลิขสิทธิ์เป็นม้วนเทป และจะให้ลิขสิทธิ์แต่รายเดียว

"ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ส่วนใหญ่ไอบีซีจะซื้อลิขสิทธิ์มาตุนเอาไว้เยอะมาก และจะเป็นรายการดีๆ จะเห็นว่าช่องรายการของไอบีซีจะมีการปรุงแต่งใหม่ และดีกว่าของยูทีวี เช่น ไอบีซี 2 หรือ 3"

การแย่งชิงรายการของไอบีซี และยูทีวียิ่งทำให้ค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ถูกปั่นสูงขึ้นมาก

มีผู้ประเมินว่า เคเบิลทีวีเมืองไทยนั้นมีต้นทุนในการซื้อลิขสิทธิ์รายการ 120 ล้านบาท : 1 ช่องรายการ : 1 ปี ซึ่งไอบีซีมีทั้งหมด 12 ช่อง จะต้องเสียเงินประมาณ 1,440 ล้านบาท ในขณะที่ยูทีวีมี 43 ช่อง ต้องเสียเงินมากกว่า 5,160 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ฟรีทีวีก็เคยเจอปัญหาการแย่งชิงซื้อรายการข่าว จนทำให้ต้นทุนสูงมาก บรรดาฟรีทีวีจึงรวมตัวกันตั้งทีวีพูล ซึ่งเป็นเสมือนองค์กรกลางเพื่อซื้อรายการจากต่างประเทศ

ก่อนหน้านี้ไทยสกายทีวีเองก็พยายามออกมาแสดงเจตนารมณ์ให้มีการรวมตัวกันระหว่างผู้ให้บริการเคเบิลทีวี โดยให้ อ.ส.ม.ท. เป็นแกนกลางในการซื้อซอฟต์แวร์

แต่การแข่งขันก็ยังเป็นการแข่งขัน เมื่อการร่วมมือยังไม่บรรลุผล งานนี้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่างประเทศก็ต้องโกยเงินเข้ากระเป๋าล่วงหน้าไปก่อน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us