|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2549
|
|
ผลการเลือกตั้งทั่วไปของแคนาดาเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงการประกาศ "Stand up for Change" การยืนขึ้นเพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นสโลแกนของพรรคอนุรักษนิยม สามารถนำชัยได้ที่นั่งในรัฐสภา 124 เสียง ไปครอง
พรรคอนุรักษนิยมสามารถคว้าชัยในการเลือกตั้งหนนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะนับเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 13 ปีที่พรรคเสรีนิยมบริหารประเทศนี้
ขณะที่พรรคเสรีนิยมของอดีตนายกรัฐมนตรีพอล มาร์ติน ได้รับ 103 ที่นั่ง พรรคบร็อคควิเบกคัว (BQ) ได้รับ 51 ที่นั่ง พรรค NDP ได้ 29 ที่นั่ง และพรรคอิสระได้ 1 ที่นั่ง
เท่าที่สังเกตการณ์การลงคะแนนเสียงของชาวแคนาดา ปรากฏว่า ส่วนใหญ่กลุ่มคนที่มาใช้สิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงนั้นเป็นกลุ่มคนวัยกลางคนจนถึงสูงอายุ ทำให้ เห็นชัดถึงแคมเปญของพรรคฝ่ายขวาที่พุ่งเป้าไปที่การให้บริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ซึ่งคนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมในการใช้บริการทางด้านนี้มากที่สุด
ช่วงระหว่างการประกาศผลการเลือกตั้งในตอนค่ำ มีบรรยากาศไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งทั่วไปในบ้านเรา เพราะมีการรายงานตัวเลขของเสียงที่พรรคต่างๆ ได้รับมาเป็นระยะๆ ทั่วแคนาดา โดยผู้นำพรรค การเมือง ต่างเฝ้าชมผลการเลือกตั้งในถิ่นของตนเอง
ผลคะแนนเสียงในพื้นที่กว่า 60,000 หน่วยเลือกตั้ง ปรากฏตัวเลขชัดเจนว่าพรรคอนุรักษนิยมชนะการเลือกตั้ง ก่อนเที่ยงคืนในวันเลือกตั้ง เพราะพื้นที่ชี้ขาดการเลือกตั้งส่วนใหญ่อยู่ใน 2 มณฑลใหญ่ของแคนาดา นั่นคือ ควิเบก และออนทาริโอ
ความพ่ายแพ้ของพรรคเสรีนิยมคราวนี้ ถูกนักวิเคราะห์ทางการเมืองวิจารณ์ว่าเป็นผลจากข้อครหาการคอร์รัปชั่นของพรรค รวมถึงการวางแผนแคมเปญการรณรงค์หาเสียงของพรรคที่ยังจำกัดอยู่ในวงแคบ และคอยไล่ตามแคมเปญของพรรคอนุรักษนิยมตลอดมา
ไม่ใช่เพียงการพ่ายแพ้ของพรรคเสรีนิยมเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความตกต่ำของพรรคบีคิวด้วยที่สูญเสียคะแนนนิยมจาก 48.9% ลดลงเหลือ 42.3% ถือเป็นเรื่องน่าจับตามองที่ชาวแคนาดาได้เรียนรู้จากการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะพรรคอนุรักษนิยมสามารถแย่งชิงฐานเสียงของพรรคบีคิวไปได้ 3 เสียง ทำให้พรรคเจ้าถิ่นของจิลล์ ดูเซปป์ ต้องกลับไปพิจารณาอีกนานว่า มันเกิดอะไรขึ้น
ฮาร์เปอร์ประกาศชัยชนะในทันทีว่า ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่เป็นเพียงจุดจบของการคอร์รัปชั่นเท่านั้น แต่ถือเป็น การจุดแสงสว่างอนาคตของประเทศด้วย
เป็นที่รู้กันว่าเส้นทางการนำของฮาร์เปอร์คงไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากเสียงของพรรคอนุรักษนิยมมีเพียง 37% ขณะที่พรรคเสรีนิยมได้ 27% ไม่เพียงพอตามที่กำหนดไว้ 308 เสียง ซึ่งจะทำให้เขาทำงานได้ลำบาก เพราะต้องพึ่งเสียงการสนับสนุนจากพรรคอื่นด้วย
สภาวการณ์ทางการเมืองของแคนาดา อยู่ในช่วงปริศนาว่ารัฐบาลฝ่ายขวาของฮาร์เปอร์ที่เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยจะสามารถทำงานได้มากน้อยเพียงใด หรือจะมีการเลือกตั้งอีกครั้งในไม่ช้าหรือไม่
แม้แจ็ค เลตัน ผู้นำพรรคเอ็นดีพีลั่นวาจาว่าจะไม่มีการเลือกตั้งโดยเร็วอย่างที่ชาวแคนาดาหวั่นวิตก ถ้าเขาจะร่วมมือใน การทำงานกับรัฐบาลฮาร์เปอร์ ขณะที่ดูเซปป์ ประกาศทันทีภายหลังการเลือกตั้งว่า พรรคบีคิวของเขาจะยังยึดมั่นในการรักษาผลประโยชน์ของชาวควิเบก และหากรัฐบาลของฮาร์เปอร์ดูแลและให้ความสำคัญกับ ชาวควิเบกแล้วเขาจะอยู่ข้างรัฐบาลชุดนี้แน่นอน
เป็นที่รู้กันดีว่าชาวควิเบก เป็นชาวแคนาดาที่มีแนวความคิดทางการเมืองอย่างล้ำลึกมาช้านาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศส ที่คิดถึงเรื่องการรักษาผลประโยชน์ทางการเมืองเพื่อชาวควิเบกเป็นใหญ่ และพวกเขาสามารถถกเถียง วิเคราะห์ พูดคุย ต่อรองเรื่องทางการเมืองได้โดยไม่หวั่นต่อสายตาของชาวแคนาดาโดยทั่วไป
พิจารณาดูแล้วการเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยของพรรคอนุรักษนิยมคราวนี้ ไม่เพียงเป็นปัญหาใหญ่ของพรรคฝ่ายขวาที่จะต้องเผชิญกับความยากลำบากในการผ่านร่างกฎหมายเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงการต่อรองในเรื่องผลประโยชน์ระหว่างพรรคการ เมืองอื่น โดยเฉพาะกับผู้นำพรรคบีคิว ที่ประกาศเรียกร้องการดูแลมณฑลควิเบกเป็นกรณีพิเศษด้วย
ส่วนพรรคเสรีนิยมที่กลายเป็นพรรคฝ่ายค้านในคราวนี้ก็กำลังอยู่ในสภาวะการขาดผู้นำ เนื่องจากมาร์ตินประกาศลาออก จากตำแหน่งผู้นำพรรค แล้วใครจะมาเป็นผู้นำฝ่ายซ้ายของแคนาดาในอนาคตที่จะมา คานอำนาจของพรรคฝ่ายขวา
สิ่งสำคัญ พันธมิตรทางการเมืองจากพรรคอื่น คือปัจจัยหลักที่พรรคฝ่ายขวาจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารงาน ซึ่งต้องพิจารณาว่าจะสามารถตกลง หรือต่อรองกันได้มากน้อยเพียงไร เพราะนั่นอาจหมายถึง ผลประโยชน์ที่หลายคนคงจำได้มั่นว่า "การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์"
สตีเฟนจะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ต่อมิเกล ฌอง ผู้สำเร็จราชการของควีนอลิซาเบธที่สอง ซึ่งมิเกลบอกให้เขารีบจัดตั้งรัฐบาลซึ่งเขากำลังสรรหาคณะรัฐมนตรีชุดใหม่อยู่
ฮาร์เปอร์ถือเป็นนายกรัฐมนตรีแคนาดาที่หนุ่มที่สุดด้วยวัยเพียง 46 ปี งานสำคัญที่เขาประกาศทันทีในการบริหารงานที่ต้องเริ่มอย่างแน่นอน คือเรื่องการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ การลดภาษีจีเอสทีจาก 7% เหลือ 5% การให้บริการทางสาธารณสุขอย่างทั่วถึงของประชาชน การสนับสนุนเงินช่วยเหลือในการดูแลเด็ก และเยาวชน การดูแลในเรื่องการรักษาความปลอดภัย
วิสัยทัศน์ของผู้นำคนใหม่ผู้นี้เป็นสิ่งท้าทายที่ชาวแคนาดาจำนวนไม่น้อยกำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิด เพราะส่วนใหญ่มักบอกว่าเขาเป็นคนหนุ่มที่เงียบ มีดีกรีทางด้านเศรษฐศาสตร์จาก Calgary University แต่ไม่ค่อยมีคนรู้จักเขามากนัก บางคนถึงกับบอกว่า ไม่ไว้ใจว่าเขาคิดอะไรอยู่
นั่นอาจเป็นเพียงเสียงสะท้อนจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง หรืออาจเป็นกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยในแนวความคิดของฮาร์เปอร์ก็เป็นได้ แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคงเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในสื่อสิ่งพิมพ์ที่อาจแสดงให้เห็นถึงบางส่วนของตัวตนของผู้นำแคนาดาคนนี้
โดยข่าวผลการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นที่สนใจของประเทศต่างๆ โดยทั่ว เห็นชัดจากสื่อจากทุกมุมโลกให้ความสนใจถึงกับพาดหัวข่าวกันถึงการเปลี่ยนแปลงจากรัฐบาลปีกซ้ายมาเป็นปีกขวา โดยเฉพาะเพื่อนบ้านแคนาดา อย่างสหรัฐอเมริกาพูดถึงฮาร์เปอร์ใน New York Times ว่า "free-market economist who expressed strong support for Washington at the time of the American-led invasion of Iraq."
|
|
|
|
|