Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2549
มงต์-แซงต์-มิเชล             
โดย สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
 


   
search resources

Tourism




ได้ยินคำเล่าลือเกี่ยวกับมงต์-แซงต์-มิเชล (Mont-Saint-Michel) มาตั้งแต่เรียนหนังสือ ดูจากรูปแล้วบอกได้อย่างเดียวว่า น่าเที่ยว ก็เป็นเกาะเล็กๆ ที่ยามน้ำทะเลลด จะสามารถเดินจากแผ่นดินใหญ่ไปยังเกาะนี้ได้ และแล้ววันหนึ่งได้ไปเที่ยวแถบนอร์มองดี (Normandie) จึงขอแวะไปชม

มงต์-แซงต์-มิเชลตั้งอยู่ตรงรอยต่อระหว่างมณฑลนอร์มองดี (Normandie) และมณฑลเบรอะตาญ (Bretagne) หากขึ้นกับนอร์มองดี ถนนที่ไปสู่มงต์-แซงต์-มิเชลตัดเลียบทะเล เมื่อเข้าบริเวณอ่าว มงต์-แซงต์-มิเชลดูสวยสง่าเป็นอย่างยิ่ง

มงต์-แซงต์-มิเชล เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ บริเวณเชิงเขาเต็มไปด้วยร้านค้าและร้านอาหาร เกิดการ "จราจร" คับคั่ง ด้วยว่าทางเดินขึ้นเขาแคบมาก เมื่อมีผู้หยุดชมร้านค้า ผู้เดินตามหลังจำต้องหยุดไปด้วย ร้านรวงส่วนใหญ่ รวมทั้งพิพิธภัณฑ์มีเจ้าของเดียวกัน ก็เป็นของนายกเทศมนตรีนี่นะ หากเห็นชื่อ Mere Poulard เป็นอันว่าใช่

โบสถ์อยู่บนยอดเขา ใช้เวลาเดินขึ้นนานพอสมควร และได้หอบด้วยความเหนื่อย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เที่ยวอยู่แต่เชิงเขา นอกจากนั้นยังมีโบสถ์เล็กอีกแห่งหนึ่งอยู่ครึ่งทาง และเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาสำหรับชาวบ้านบนเกาะ เห็นรูปปั้นนักบุญแซงต์-มิเชลขนาดใหญ่ อันว่านักบุญแซงต์-มิเชลเป็นผู้ชั่งความดีความเลวของผู้เสียชีวิต และนำดวงวิญญาณขึ้นสู่สวรรค์หรือลงนรก

มงต์-แซงต์-มิเชลเป็นเกาะเล็กๆ ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เริ่มตั้งแต่ ค.ศ.708 เมื่อโอแบรต์ (Aubert) เจ้าอาวาสโบสถ์เมืองอาวรองช์ (Avranches) สร้างโบสถ์บนเกาะนี้ตามบัญชาของนักบุญมิเชล (Saint Michel) ซึ่งมาให้นิมิตหลายครั้ง การสร้างโบสถ์นี้ลำบากยากเข็ญเพราะต้องนำหินแกรนิตมาจากเกาะโชเซย์ (iles Chaussey) หรือจากเบรอะตาญ (Bretagne) อันเป็นแคว้นใกล้เคียง ทั้งยังต้องลำเลียงหินสู่ยอดเขา มงต์-แซงต์-มิเชลกลายเป็นที่จาริกแสวงบุญของคริสต์ ศาสนิกชนผู้ที่เคร่งศาสนา จะเดินข้ามจากแผ่นดินใหญ่ไปยังเกาะยามน้ำทะเลลด หากกระแสน้ำเปลี่ยนเร็วมาก จึงทำให้ผู้จาริกแสวงบุญเสียชีวิตอยู่เนืองๆ ระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึงศตวรรษที่ 16 มีการสร้างเพิ่มเติม ในศตวรรษที่ 10 นักบวชเบเนดิคตีนมาปักหลักที่นี่ ผู้คนค่อยๆ มาอพยพมายังเกาะ ตั้งหมู่บ้านที่เชิงเขา สภาพภูมิประเทศของมงต์-แซงต์-มิเชลทำให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของอังกฤษระหว่างสงครามร้อยปี อย่างไรก็ตามแบบสถาปัตยกรรมของมงต์-แซงต์-มิเชลเป็นป้อมปราการที่พร้อมรับมือข้าศึกช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสจนถึง ค.ศ.1863 มงต์-แซงต์-มิเชล กลายเป็นที่คุมขังนักโทษ ต่อมาในค.ศ.1874 รัฐจัดให้มงต์-แซงต์-มิเชลเป็นโบราณสถาน และทำการบูรณะครั้งใหญ่ โบสถ์เล็กๆ กลายเป็นวิหารขนาดใหญ่ด้วยการใช้โบสถ์เก่าเป็นฐานใน ค.ศ.1969 นักบวชเริ่มกลับมายัง มงต์-แซงต์-มิเชล ทำให้มีกิจกรรมทาง ศาสนาอย่างต่อเนื่อง ในค.ศ.1979 ยูเนสโกประกาศให้มงต์-แซงต์-มิเชลเป็นมรดกโลก วิคตอร์ อูโก (Victor Hugo) นักเขียนเพื่อชีวิตผู้ยิ่งใหญ่เปรียบมงต์-แซงต์-มิเชลของฝรั่งเศสดุจดั่งพีระมิดใหญ่ของอียิปต์

อันที่จริงมงต์-แซงต์-มิเชล จะเป็นเกาะที่มีน้ำล้อมรอบเพียงเดือนละหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น เพราะจะต้องมีน้ำขึ้นมากพอจึงจะล้อมเกาะได้หมด ยามน้ำลดจะเห็นทรายและสามารถเดินข้ามไปได้ หากทรายสีสวยที่เห็นนั้นก็หฤโหดในทีเพราะมีส่วนที่เป็นทรายดูด การเดินข้ามจึงจำต้องมีผู้นำทางที่เชี่ยวชาญ นอกจากนั้นหมอกยังโรยตัวอย่างรวดเร็วจนทำให้หลงทางได้ง่าย อีกทั้งกระแสน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว นักท่องเที่ยวที่ไม่เชื่อคำเตือนจึงมักประสบภัยอยู่เสมอ ถูกทรายดูดบ้าง ถูกกระแสน้ำพัดจมหายไปบ้าง

ในปัจจุบัน การไปเที่ยวมงต์-แซงต์-มิเชลนั้นไม่ลำบากเหมือนสมัยก่อน เพราะมีถนนเชื่อมแผ่นดินใหญ่และเกาะมาตั้งแต่ปี 1879 จุดมุ่งหมายคือให้ผู้อยู่อาศัยบนเกาะสามารถเดินทางสู่แผ่นดินใหญ่ โดยไม่ต้องใช้เรือ ในภายหลังอนุญาตให้รถยนต์และรถโค้ชจอดหน้าป้อมปราการเลย หากถนนนี้กลายเป็นเขื่อนที่บังคับให้น้ำทะเลเดินผิดทางธรรมชาติ ในปี 1969 มีการสร้างเขื่อนที่ปากแม่น้ำกูเอส์นง (Couesnon) ตรงที่เป็นเขื่อนเก่าที่ชื่อว่า la Caserne ซึ่งสร้างในปี 1877 ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมจึงทำให้ดินทรายและเปลือกหอยทับถมในบริเวณอ่าว แผ่นดินใหญ่จึงค่อยๆ งอกขึ้น และก่อให้เกิดสภาวะทรายดูดด้วย รัฐตระหนักว่าหากการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป มงต์-แซงต์-มิเชลจะไม่สามารถรักษาสภาพเป็นเกาะได้ ในปี 1970 จึงมีโครงการที่จะทำลายถนนที่เป็นเสมือนเขื่อนกั้นน้ำและสร้างทางเดินที่ตั้งบนตอม่อแทน ทั้งยังจะขุดแอ่งน้ำทางด้านตะวันออกของแม่น้ำกูเอส์นง หากจนถึงปัจจุบันได้ดำเนินการไปเพียงประการเดียวคือการทำลายเขื่อน Le Roche-Torin หากสิ่งสำคัญอยู่ที่การทำลายเขื่อน la Caserne และสร้างประตูระบายน้ำ 8 ประตูด้วยกัน เมื่อน้ำขึ้น น้ำทะเลจะไหลผ่านประตูระบายน้ำ หลังจากน้ำทะเลขึ้นสูงสุด 6 ชั่วโมง จะเปิดประตูระบายน้ำให้น้ำค่อยๆ ไหลเข้าแม่น้ำประมาณ 20 เซนติเมตรใน 20 นาที เป็นการควบคุมมิให้ดินทรายไหลเข้าไปสู่แม่น้ำโดยไม่มีคลื่น อีกทั้งกักน้ำไว้เหนือเขื่อน ยามน้ำทะเลลด จะปล่อยน้ำนี้ลงทะเล เป็นการทำความสะอาดแม่น้ำไปในตัว และทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้ดุจดังในอดีต

นอกจากนั้นยังต้องทำลายถนนที่เชื่อมแผ่นดินใหญ่กับเกาะ สร้างเป็นสะพานตั้งบนตอม่อแทน ย้ายที่จอดรถไปที่อื่น พร้อมกับจัดพาหนะรับส่ง

ความล่าช้าของโครงการทำให้งบประมาณที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอประกอบกับความผิดพลาดของโครงการบางประการ เช่น ความแข็งแรงของทางเดินที่ต้องต้านกระแสลมแรงในอ่าว หรือการสร้างพาหนะรับส่งผู้โดยสารในการนี้ เบรอะตาญประกาศว่าจะช่วยออกค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งเพื่อช่วยให้มงต์-แซงต์-มิเชลยังคงเป็นเกาะอยู่คู่นอร์มองดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us