Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2549
เจ้าภาพ Rugby World Cup 2011 : ความสำเร็จหรือก้าวถอยหลัง             
โดย อนิรุต พิเสฏฐศลาศัย
 

 
Charts & Figures

Rugby World Cup ครั้งที่ผ่านมา


   
search resources

Sports




แม้รักบี้จะเป็นกีฬาที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมในบ้านเรานัก และในสายตาของคนไทยทั่วไป รักบี้เหมือนกีฬาที่เป็นที่นิยมเพียงแค่ในกลุ่มประเทศเครือจักรภพเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้ว รักบี้นอกจากจะเป็นกีฬาที่นิยมอย่างสูงในประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เซาท์แอฟริกา อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ ไอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อาร์เจนตินา อิตาลี รวมถึงประเทศใน South Pacific อย่างฟิจิ Samoa Tonga นอกจากนั้น ปัจจุบันรักบี้ยังเป็นกีฬาที่นิยมเล่นในหลายประเทศอย่างเช่น ญี่ปุ่น อเมริกา แคนาดา โรมาเนีย จอร์เจีย อุรุกวัย และประเทศอื่นๆ อีกมากมาย

ดังนั้น Rugby World Cup จึงเป็นทัวร์นาเมนต์ขนาดใหญ่รายการหนึ่งในปฏิทิน กีฬาโลกเช่นกัน โดยเฉพาะ Rugby World Cup ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นที่ซิดนีย์ ออสเตรเลียนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูง จนสื่อมวลชน โดยส่วนใหญ่ยกให้ Rugby World Cup เป็นมหกรรมกีฬาโลกที่ใหญ่อันดับสาม รองจากโอลิมปิกเกมส์ และฟุตบอลโลก

ดังนั้นการแข่งขันเพื่อขอเป็นเจ้าภาพ Rugby World Cup จึงมีความเข้มข้นสูง คล้ายๆ กับการแข่งขันเพื่อขอเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาใหญ่ของโลกประเภทอื่นๆ เนื่อง จากการได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ นอกจากจะหมายถึงผลประโยชน์ทางด้านกีฬาแล้ว ยังหมายถึงผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ และ การท่องเที่ยวอย่างมหาศาล

ผลการคัดเลือกเจ้าภาพ Rugby World Cup ในปี 2011 ปรากฏว่านิวซีแลนด์ ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ มีชัยชนะเหนือตัวเต็ง อย่างญี่ปุ่น และเซาท์แอฟริกาไปได้ ซึ่งชัยชนะ ของนิวซีแลนด์ครั้งนี้ แม้จะสร้างความยินดีให้กับชาวนิวซีแลนด์ และแฟนกีฬารักบี้พันธุ์แท้ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก แต่ชัยชนะของ นิวซีแลนด์ครั้งนี้ก็ค้านสายตาประเทศสมาชิก IRB (The International Rugby Board) บางประเทศอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะญี่ปุ่น และประเทศพี่ใหญ่อย่างอังกฤษ และออสเตรเลีย ซึ่งออกตัวให้การสนับสนุนญี่ปุ่นอย่างเต็มที

เพราะประเทศเหล่านี้เชื่อว่า การจัด Rugby World Cup ที่ญี่ปุ่น จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันกีฬารักบี้ขยายตัวไปยังประเทศอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ ในตลาดเอเชียซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีประชากรกว่าครึ่งโลกอาศัยอยู่

ปัจจุบันการขยายตัวของกีฬาหลายๆ ประเภทจากประเทศดั้งเดิมไปยังตลาดใหม่นั้นเป็นกระแสที่เห็นได้ชัดเจนอย่างเช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีก็เพิ่งได้จัดฟุตบอลโลกหนล่าสุดไป จีนก็กำลังจะเป็นอีกหนึ่งประเทศในเอเชียที่ได้จัดโอลิมปิกในครั้งที่จะถึงนี้ นอกจากนั้นการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง 'Formula 1' ก็เพิ่งเพิ่มสองสนามแข่งขันในเอเชีย อย่างบาร์เรน และจีนเข้าไป เมื่อ 2 ฤดูกาลที่แล้ว ดังนั้นการ ที่นิวซีแลนด์ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ Rugby World Cup 2011 เหนือญี่ปุ่น จึงดูเหมือนเป็นการย้อนกระแส และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นก้าวถอยหลังของวงการรักบี้โลก

หลังจากการประกาศผลประเทศเจ้าภาพ Rugby World Cup 2011 ไปเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว สื่อมวลชนในหลายประเทศยังออกมาโจมตีผลการตัดสินอย่างต่อเนื่อง จนบางฝ่าย ถึงขั้นสร้างความกดดัน IRB ให้พิจารณาลงคะแนนคัดเลือกประเทศเจ้าภาพใหม่ โดยให้เหตุผลว่าวิธีการลงคะแนนครั้งที่ผ่านมานั้นไม่โปร่งใสเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม การลงคะแนนคัดเลือกประเทศเจ้าภาพใหม่ ก็ดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้น้อย

ถ้ามองในแง่มุมของนิวซีแลนด์ ก็น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อย เพราะชัยชนะครั้งนี้เป็นชัยชนะที่เขาเชื่อว่าโปร่งใสและขาวสะอาด ที่ได้มาจากการเตรียมตัวขอเสนอเป็นเจ้าภาพที่พร้อมกว่าประเทศอื่น นอกจากนั้น ก็อาจกล่าวได้ว่าวงการกีฬาในยุคปัจจุบันมีความเป็น Commercial สูงจนลืม Spirit ที่แท้จริงของการกีฬาไป ประเทศที่มักได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาขนาดใหญ่ มักจะเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรทางการเงิน และดึงดูดสปอนเซอร์จากบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ได้สูง โอกาสที่ประเทศเล็กจะได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพนั้นแทบจะไม่มี นอกจากจะทำการเสนอขอเป็นเจ้าภาพร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นถ้ามองในแง่มุมนี้ การที่ประเทศเล็กๆ อย่างนิวซีแลนด์ ซึ่งมีประชากรเพียงแค่ 4 ล้านคน ได้รับเลือกเป็น เจ้าภาพ Rugby World Cup 2011 นั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ดีกับ Spirit ทางการกีฬา ที่ให้โอกาสกับประเทศขนาดเล็กที่มีความพร้อมสูง

นิวซีแลนด์ นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็น Rugby Mad Country ของวงการรักบี้โลก แล้วยังเป็นประเทศที่สำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากีฬารักบี้ ทั้งใน ด้านตัวผู้เล่น โค้ช วิธีการฝึกซ้อมและเทคนิค ต่างๆ ให้กับวงการรักบี้โลกมาโดยตลอด นอกจากนั้นนิวซีแลนด์ยังเป็นประเทศหนึ่งที่บุกเบิกและเป็นเจ้าภาพจัด Rugby World Cup ครั้งแรกในปี 1987 รวมถึงเป็นประเทศแรกที่คว้าถ้วย William Webb Ellis Trophy (ถ้วย Rugby World Cup) มาครองได้สำเร็จ ในครั้งนั้น

ทีมชาติรักบี้ของนิวซีแลนด์เอง ซึ่งรู้จัก กันดีในนาม All Black นอกจากจะเป็นทีมรักบี้อันดับหนึ่งของโลกในเวลานี้ แล้วยังเป็นตำนานของวงการรักบี้โลกมาโดยตลอด ว่าไป แล้วนิวซีแลนด์ก็คล้ายๆ กับบราซิลของวงการ ฟุตบอลโลกนั่นเอง ดังนั้นการจัด Rugby World Cup ที่นิวซีแลนด์ ก็น่าจะคล้ายๆ กับ การจัดฟุตบอลโลกในดินแดนแซมบ้านั่นเอง แม้นิวซีแลนด์จะไม่ได้มีสนามกีฬาขนาดใหญ่และไฮเทคเหมือนหลายๆ ประเทศ แต่กองเชียร์ชาวกีวีนั้น Live and Breath เป็นรักบี้ ดังนั้น การจัด Rugby World Cup ที่นิวซี แลนด์ ก็คือสีสันของกีฬารักบี้ที่แท้จริง ที่ไม่จำเป็นต้องแต่งแต้มแต่ประการใด

หลายๆ คนเชื่อว่า ถ้านิวซีแลนด์ไม่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพหนนี้ มหกรรม Rugby World Cup ก็คงจะเติบโตไปกว่าประเทศเล็กๆ ที่ทุ่มเทและรักกีฬาประเภทนี้สุดหัวใจอย่างนิวซีแลนด์จะสามารถทำการจัดการแข่งขันได้ในอนาคต ดังนั้นปี 2011 นอกจากจะเป็นครั้งแรกที่ถ้วย William Webb Ellis Trophy ใบนี้จะได้หวนคืนมาชิงชัยในประเทศ บ้านเกิดของ Rugby Wold Cup และก็อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายที่ทัวร์นาเมนต์นี้จะได้ทำ การแข่งขันในดินแดนผู้บุกเบิก Rugby World Cup ด้วยเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us