|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2549
|
 |

ผมนั่งเขียนคอลัมน์ชิ้นนี้ ขณะเดินทางกลับมาประเทศไทยในภาวะที่ประเทศชาติกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติ อันมีสาเหตุหนึ่งมาจากกลไกของสื่อมวลชนที่บิดเบี้ยว สื่อมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยุ-โทรทัศน์ตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของรัฐบาลอย่างสิ้นเชิง สื่อวิทยุ-โทรทัศน์กระแสหลักทั้งหลายกลายเป็นเพียงเครื่องมือในการบริหารประเทศอย่างฉ้อฉลของรัฐบาล
ขณะที่ภาพใหญ่ในระดับโลกก็มีข่าวดังถึงการปิดตัวลงของวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทยที่มีอายุยาวนานกว่า 60 ปีอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางความเสียใจและเสียดาย ของเหล่าผู้ฟังชาวไทยรวมถึงผม
การปิดตัวของรายการวิทยุภาคภาษา ไทยของบีบีซีภาคบริการโลกนั้น อยู่ภายใต้แผนการปรับโครงสร้างของบีบีซี เพื่อทำโครงการทำสถานีโทรทัศน์ภาษาอาหรับอันเป็นหนึ่งในกระบวนการการแย่งชิงมวลชน ชาวอาหรับของโลกตะวันตก
ในความเห็นของผม เรื่องราวทั้งสอง ถือเป็นเรื่องราวที่สั่นสะเทือนเลือนลั่นของวงการสื่อสารมวลชน และถือว่าเป็นกระจก เงาชั้นดีที่สะกิดเตือนให้เราหันมามองถึงสภาวะความเป็นจริงของแวดวงสื่อสารมวลชนของบ้านเรา
ทางหนึ่ง ในยุคสมัยที่ประเทศไทยข้ามพ้นยุคสมัยของเผด็จการ และสื่อสารมวลชนได้ชื่อว่ามีอิสรเสรีในการรายงานข่าวแล้วระดับหนึ่ง แต่ผลก็คือเมื่อประเทศและสังคมกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติ สื่อที่เข้าถึงมวลชนได้ในวงกว้างและรวดเร็วที่สุดอย่างวิทยุ-โทรทัศน์กลับถูกควบคุมเอาไว้ในมือของภาครัฐ ส่งให้การรายงานข่าวมีความ บิดเบือนอย่างน่าละอาย
อีกมุมหนึ่ง กรณีการปิดตัวของวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทย และกระแสคลื่นที่ออกมาก็คือ ชาวไทยกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งต้องเสีย ดายกับการปิดตัวดังกล่าวของสถานีวิทยุภาคภาษาไทยที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล อังกฤษ
ไม่มีใครปฏิเสธว่า การปิดตัวของวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทยเป็นเรื่องน่าเสียใจอย่างยิ่งของชาวไทยผู้รักในสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ตรงไปตรงมา แต่ที่น่าเสียใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ตลอดระยะเวลา กว่ากึ่งศตวรรษที่บีบีซีภาคภาษาไทยเปิดให้บริการมา กลับไม่มีสถานีวิทยุข่าวของไทย สถานีใดที่สามารถสร้างมาตรฐานความ แม่นยำ เที่ยงตรง เป็นกลาง ขึ้นมาได้ทัด เทียมกับบีบีซีไทยเลยแม้แต่สถานีเดียว
ส่งให้เมื่อบีบีซีภาคภาษาไทยปิดตัวลง ประเทศไทยก็เหมือนกับขาดกระจกบานใหญ่ที่คอยสะท้อนความเป็นจริงของประเทศไทยและของโลกให้กับผู้นำประเทศ รวมถึงปวงชนชาวไทยไปทันทีหนึ่งบาน
จะเล่าแล้วก็เล่าให้หมดเปลือกเสียดีกว่า...
ภารกิจในการเดินทางกลับมาประเทศไทยในช่วงนี้ของผมอีกชิ้นหนึ่งนั้นก็คือการกลับมาเก็บข้อมูลในการทำปริญญานิพนธ์เกี่ยวกับการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ประเทศจีนของสื่อมวลชนไทย
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา พวกเราสามารถสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในแนวทางของสื่อมวลชนโลกได้ประการหนึ่งก็คือ สื่อมวลชนโลกหันมาให้ความสนใจกับประเทศจีนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยช่วง 2 ปีที่ผ่านมานิตยสารธุรกิจ-การเมืองระดับโลกอย่าง Time Magazine, Businessweek, Newsweek, The Economist ฯลฯ แทบทุกฉบับต่างต้องแข่งกันรายงานข่าวเกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ ของประเทศจีนกันอย่างเร่งด่วน จนเกิดภาวะความขาด แคลนบุคลากรที่มีความรู้ด้านภาษาจีนและประเทศจีน
ทางด้านสื่อมวลชนไทยเองก็เช่นกัน ตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้จะด้วยความสมัครใจหรือไม่ก็ตาม สื่อมวลชนไทยต่างก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องสะท้อนสภาวะและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับประเทศจีนให้คนไทยได้รับรู้ ด้วยสาเหตุที่จีนกำลังขยายอิทธิพลอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ บีบให้คนไทยต้องหันมาสนใจ จีนโดยอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าตกใจก็คือ ปัจจุบันแม้จีนกับไทยจะอยู่ใกล้กันนิดเดียว ปักกิ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 4-5 ชั่วโมงบิน เทียบกับลอนดอนหรือนิวยอร์กที่อยู่ห่างจากเรา 10-20 ชั่วโมงบิน แต่คนไทยกลับรู้เรื่องราวของประเทศมหาอำนาจในเอเชียประเทศนี้น้อยนิดสิ้นดี โดยเฉพาะในเรื่องของคนจีน วัฒนธรรมจีน รวมไปถึงระบบโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและ สังคม
ที่น่าตกใจยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ ปัจจุบันองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศจีนที่เมืองไทยมีส่วนใหญ่แล้วต่างต้องถูกกลั่นกรองจากสื่อตะวันตกเสียก่อน ก่อนที่จะไหลเข้ามากลายเป็นองค์ความรู้ภาษาไทยให้เราได้เสพกันอีกต่อ
ครับ! ทุกวันนี้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ประเทศจีนที่ถูกถ่ายทอดออกมาตามสื่อต่างๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่แล้วถูกแปลมาจากภาษาอื่นที่มิใช่ภาษาจีน (ส่วนใหญ่แล้วเป็นภาษาอังกฤษ)
หรือจะเปรียบเทียบอย่างง่ายๆ ก็คือ ปัจจุบันการที่เราจะรับทราบ หรือเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประเทศจีน-คนจีน ผ่านสื่อต่างๆ สื่อมวลชนไทยจำต้องยืมจมูกสื่อตะวันตกหายใจ เราต้องอาศัยเขาเพื่อที่จะได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจีน ไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวใหญ่ต่างๆ อย่าง Reuters AP AFP CNN ฯลฯ
คำถามก็คือในอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้า เมื่อประเทศจีนเติบใหญ่กลายเป็น มหาอำนาจของโลกอย่างเต็มตัว และ"ทฤษฎีภัยจีน (China Threat Theory)" ที่นักวิชาการตะวันตกส่วนหนึ่งคิดขึ้นมา ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและถูกผลักดันให้กลาย เป็นนโยบายของรัฐบาลจากประเทศทางฝั่งตะวันตกแล้ว เราจะเชื่อถือข่าวเกี่ยวกับจีนที่ถูกเผยแพร่ออกมาจากฝั่งตะวันตกได้มากน้อยเพียงไร?
หรือ ในภาวะตึงเครียดทางการเมือง ที่หมิ่นเหม่ต่อการทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงระหว่างจีนกับตำรวจโลกอย่างสหรัฐฯ คนไทยจะรับฟังข้อมูลที่ถูกต้องได้อย่างไรเพื่อไม่ให้เราถูกครอบงำจากสื่อตะวันตก ดังเช่นที่สื่อตะวันตกลงมือทำให้เห็นมาแล้วกรณีสงครามในอัฟกานิสถาน และอิรัก หลังเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน ค.ศ.2001
คำตอบเกี่ยวกับปัญหานี้นั้นก็คือ เรา ต้องพึ่งพาตัวเอง อย่ามัวแต่หวังยืมจมูกคนอื่นเขาหายใจ
ในเมื่อจีนมีความสัมพันธ์กับไทยอย่างแน่นแฟ้น นับแต่อดีตนับได้เป็นพันๆ ปี จนถึงปัจจุบันที่คนไทยเชื้อสายจีนได้แทรกซึม และส่งอิทธิพลเข้าไปในทุกอณูของสังคมอย่างมิอาจแยกแยะได้ออก สื่อมวลชนไทยทุกแขนงอันเป็นด่านหน้าที่จะเชื่อมโยงความ สัมพันธ์ระหว่างสองชาติก็จำเป็นต้องปรับตัว และพัฒนาให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวนี้ด้วย
การปรับตัวและการพัฒนาของสื่อไทยในการรับข่าวสารเกี่ยวกับประเทศจีนเช่นที่ว่ามิอาจรอเวลา หรือชักช้าได้แม้แต่ นาทีเดียว โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ประเทศจีนกำลังพัฒนาแบบติดจรวดเช่นปัจจุบัน
|
|
 |
|
|