|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2549
|
|
''รอยสักที่เป็นลวดลายพลิ้วไหวไปตามนวลเนื้อเกลี้ยงเกลาของหญิงสาว หรือบนเนื้อตัวของชายหนุ่ม กลายเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่งที่ผู้คนจากทั่วโลกกลุ่มหนึ่งหลงใหล ''
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน) โดยวิทยา สินทราพรรณทร ผู้อำนวยการฝ่ายจัดแสดงงานสินค้า ได้ร่วมมือกับจิมมี่ แซ่หว่อง ผู้มีชื่อเสียงด้านงานศิลปะทางผิวหนังของเมืองไทย รวมทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบริษัทการบินไทย จัดงาน "มหกรรมศิลปะรอยสักนานาชาติ ครั้งที่ 1" ขึ้นที่บีอีซี.เทโรฮอลล์ สวนลุมไนท์พลาซ่า เมื่อวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
จากที่เคยมีเพียงการรวมตัวเป็นปาร์ตี้เล็กๆ ของร้าน TATTO ในประเทศจีน หรือญี่ปุ่นบ้าง แต่คราวนี้ในประเทศไทยได้รวบรวมงานสักที่ผสมผสานวัฒนธรรมและศิลปะหลากหลายแขนง ซึ่งได้สะท้อนความคิดของผู้คนในสังคมที่หลากหลายไว้ด้วยกัน โดยมีช่างสักที่มีชื่อเสียงจากทั่วทุกมุมโลกมาร่วมงาน เช่น โฮริโยชิ จากญี่ปุ่น จอนห์นี่ ทูตั๊ม จากสิงคโปร์ ที่เดวิด แบคแฮม นักฟุตบอลระดับโลกเคยไปสักด้วย มีการโชว์รอยสักแบบพื้นเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งหาดูได้ ยาก มีการสักเป็นทีม ซึ่งมากันถึง 7 ทีม จากหลายประเทศ รวมบูธทั้งหมดแล้ว 110 บูธ
สำหรับคนที่ชื่นชอบรอยสัก วันนั้นเต็มอิ่มแน่นอนจากการได้ชื่นชมลวดลายแปลกตาที่ละเอียดอ่อน และสีสันที่สดใส รวมทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ ในเรื่องการสักที่ทันสมัยด้วย
จอย หว่อง ผู้เชี่ยวชาญด้านการสัก ทายาทของจิมมี่ บอกว่าการจัด งานครั้งนี้ทำให้เมืองไทยเป็นที่รู้จัก และเป็นความต้องการที่จะให้ไทยก้าวเป็นศูนย์กลางของเอเชียทางด้าน TATTOO และจัดตั้งเป็นสมาคม TATTOO แห่งประเทศไทย รวมไปถึงการดึงผู้ที่สนใจให้มาเข้าร่วมงานในการจัดงาน TATTOO ART ในครั้งต่อๆ ไปด้วย
"งานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจาก ททท. TCEB และการบินไทย เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นการสักลายของเอเชีย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวในเมืองไทย ซึ่งเราได้เปรียบในเรื่องค่าใช้ จ่ายที่ถูกมากๆ เมื่อเทียบกับการไปสักในต่างประเทศ และช่างสักในเมืองไทย ก็มีฝีมือการสักที่โดดเด่นและสวยงามกว่าชาติอื่นๆ แถมยังส่งเสริมการท่องเที่ยว ของบ้านเราด้วย"
แม้งานนี้ จอยบอกว่าขาดทุน แต่กำไรที่ได้ต่อเนื่องยาวนานก็เป็นการยกระดับมาตรฐานการสักของเมืองไทยให้เป็นที่ยอมรับในสากล รวมทั้งกระตุ้นให้ขจัดปัญหาการสักที่ใช้เครื่องมือไม่ถูกต้องซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ด้วย
|
|
|
|
|