|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2549
|
|
"เริ่มก่อนได้เปรียบ" กลายเป็นคำพูดที่ใครหลายคนจดจำมาใช้กับการทำธุรกิจของตนมานาน เช่นเดียวกับ MovieSeer บริษัทเล็กๆ บนชั้น 9 ของตึกศรีเฟื่องฟุ้ง ที่ริเริ่มนำหนังมาสร้างเงินก่อนใคร เขาเหล่านี้สร้างมูลค่าจากภาพยนตร์อย่างไร "ผู้จัดการ" ตามไปคุยด้วยถึงที่
นับเป็นการนัดหมายของบริษัทผู้พัฒนาคอนเทนต์หรือข้อมูลสำหรับโทรศัพท์มือถือไม่บ่อยนักสำหรับ "ผู้จัดการ" เพราะโดยปกติแล้ว มักเปิดโอกาสให้ทั้งตัวเองและเขาเหล่านี้ได้พูดคุยกันในงานแถลงข่าวเปิดตัวบริการใหม่ๆ เสียมากกว่าการนัดหมายเพื่อพบปะพูดคุยกันจริงจังเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท แต่สำหรับ MovieSeer แล้ว การตัดสินใจนัดหมายย่อมสำคัญไม่น้อยในสายตาของ "ผู้จัดการ"
MovieSeer เป็นบริษัทเล็กๆ ที่มีชาวต่างชาติซึ่งเข้ามาอาศัยในเมืองไทยเป็นผู้ก่อตั้ง แต่ถือเป็นบริษัทที่เกิดในเมืองไทยเต็มตัว และมีพนักงานภายใต้การบริหารเป็น คนไทยเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
บริษัทเริ่มต้นเมื่อประมาณปี 2543 เมื่อครั้งที่ Roy D. Chapin IV ผู้ก่อตั้งและซีอีโอคนปัจจุบันของบริษัท ถูกชักชวนให้ไปเป็นส่วนหนึ่งของผู้พัฒนาคอนเทนต์เกี่ยวกับภาพยนตร์บนเทคโนโลยี WAP ของโทรศัพท์ มือถือ จากที่ก่อนหน้านั้นทำธุรกิจออกแบบเว็บไซต์ที่เชียงใหม่ก่อน
Roy ทำหน้าที่พัฒนาเว็บท่าหรือ portal สำหรับให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ เลือกเข้าไปเช็กข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์ รวมถึงการตรวจสอบตารางการฉายภาพยนตร์ของโรงภาพยนตร์บนโทรศัพท์มือถือแบบเรียลไทม์ ผ่านเทคโนโลยี WAP และกลายเป็นก้าวแรกของบริษัทในการขยับเข้าสู่วงการธุรกิจคอนเทนต์บนโทรศัพท์มือถือด้วยในเวลาเดียวกัน
ปัจจุบัน MovieSeer ในปีที่ผ่านมา มีรายได้แม้จะทำธุรกิจพัฒนาคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับภาพยนตร์สำหรับใช้บนโทรศัพท์มือถือ เพียงอย่างเดียวก็ตาม
พนักงานกว่า 60 คนของบริษัท ส่วนใหญ่อายุไม่มากนัก จัดสรรกันทำงานในหน้าที่ แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะการพัฒนาคอนเทนต์หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับภาพยนตร์สำหรับใช้บนโทรศัพท์มือถือ อาทิ การนำตัวอย่างหรือโปสเตอร์หนังมาย่อไซส์ ปรับแต่งให้สามารถนำไปใช้เป็นฉากหลัง หรือ wallpaper ของโทรศัพท์มือถือรุ่นต่างๆ ได้ ไปจนถึงการนำตัวอย่างของภาพยนตร์มาย่อขนาดไฟล์ให้เล็กลง เพื่อให้ผู้คนได้ดาวน์โหลด มาชมบนโทรศัพท์มือถือก่อนตัดสินใจไปดูในโรงภาพยนตร์ได้
แม้ที่ผ่านมาคนจะไม่รู้จักบริษัท แต่นั่นเป็นเพราะเหตุผลที่ไม่ซับซ้อนนัก Movie Seer ไม่ได้ขายชื่อของบริษัท แต่ต้องการขาย ชื่อภาพยนตร์เรื่องดังต่างๆ เพื่อให้ชื่อของ ภาพยนตร์สามารถขายต่อไปถึงคอนเทนต์ที่ตนพัฒนาได้
ทุกวันนี้ MovieSeer มีธุรกิจแบ่งออก เป็นสองฝั่ง คือ Licensing & Distribution และ production สำหรับส่วน production นั้นบริษัทรับทำคอนเทนต์ให้กับเจ้าของภาพยนตร์ หรือสตูดิโอหนังต่างๆ โดยสตูดิโอเหล่านั้นจะทำการจ้างให้ MovieSeer เตรียมทำคอนเทนต์ทั้งเสียงเรียกเข้า, wallpaper, theme และคลิปวิดีโอสำหรับบนโทรศัพท์มือถือหรือ แม้แต่ค่ายเกมจาวาบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อ นำไปขายต่อให้กับโอเปอเรเตอร์ที่ต้องการนำ ไปให้บริการแก่ลูกค้า
ขณะที่ส่วน licensing นั้น บริษัทจะทำการซื้อสิทธิ์ในการขายคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้อง กับภาพยนตร์จากสตูดิโอเพื่อใช้บนโทรศัพท์ มือถือต่างๆ มาขายสิทธิ์ต่อให้กับบริษัทหรือโอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถือค่ายต่างๆ ที่สนใจในแถบเอเชียใต้ รวมออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ กว่า 10 ประเทศ
ในปีนี้บริษัทถือสิทธิ์คอนเทนต์หนังบน โทรศัพท์มือถือของ Sony pictures, Walt Disney Internet Group, Columbia Pictures หรือแม้แต่บางรายการของ ESPN เพื่อที่จะขายสิทธิ์คอนเทนต์ของภาพยนตร์และรายการ ของสตูดิโอดังกล่าวให้แก่บริษัทในแถบเอเชียใต้ต่อไป
โดยในเวลาเดียวกันบริษัทเหล่านั้นก็ยังจ้างให้ MovieSeer ทำคอนเทนต์ให้กับสิทธิ์เหล่านั้นด้วยเช่นกัน
ต้องยอมรับว่า ดีกรีความดังของภาพยนตร์แต่ละค่ายที่ MovieSeer ถือสิทธิ์อยู่นั้นได้ส่งผลให้คอนเทนต์เป็นที่นิยมมาก นี่เองเป็นอีกปัจจัยหนึ่งให้ยอดรายได้ในการพัฒนาคอนเทนต์และขายสิทธิ์ต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านไม่มีหยุดหย่อนมาตลอดระยะเพียง 5 ปีที่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมา
"ผู้จัดการ" ตั้งคำถามให้กับศุภวัจน์ ใจดี Business Development Manager ของ MovieSeer ในโอกาสที่พบปะและพูดคุยกันถึงความสำเร็จของบริษัท ซึ่งเป็นเพียงส่วนน้อยในสังคมการพัฒนาคอนเทนต์บนโทรศัพท์มือถือ
ศุภวัจน์บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า "จริงๆ หลายคนทำได้ การนำภาพยนตร์มาใช้เป็นตัวขายสำหรับคนใช้โทรศัพท์มือถือ แต่ว่าใคร จะทำได้ดีนั้นอยู่ที่ connection ด้วย ที่ช่วยให้ธุรกิจของบริษัทแบบนี้อยู่ได้ ต้องบอกว่า MovieSeer เริ่มก่อนและมองเห็นว่าคอนเทนต์ แบบนี้จะยังขายและเติบโตได้ ดังนั้นเมื่อแรกเริ่มเราคิดแบบนั้น จนถึงวันนี้เราจึงไม่หยุดนิ่ง"
แรกเริ่มทำธุรกิจนี้ บริษัทมีโอกาสเพียง แค่ซื้อสิทธิ์ภาพยนตร์ทีละเรื่องมาขายสิทธิ์ต่อและรับเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการพัฒนาคอนเทนต์ให้กับภาพยนตร์เรื่องดังเพียงไม่กี่เรื่อง แต่ในภายหลังด้วยความสัมพันธ์ที่ดีและฝีมือที่พิสูจน์แล้วในระดับสากล บริษัทจึงมีโอกาสได้สิทธิ์ระยะยาวเป็นปีๆ จากสตูดิโอชื่อดัง
โดยปี 2546 บริษัทเริ่มก้าวเท้าไป นอกประเทศด้วยการซื้อสิทธิ์คอนเทนต์ภาพยนตร์บนโทรศัพท์มือถือของสตูดิโอชื่อดังที่สร้างภาพยนตร์เรื่อง Charlie's Angles : Full Throttle, Bad Boys II และอีกหลายๆ เรื่อง โดยแต่ละบริษัท หรือโอเปอเรเตอร์ที่ต้อง การใช้คอนเทนต์ดังกล่าวต้องซื้อสิทธิ์ในการใช้ งานผ่าน MovieSeer ก่อน
คอหนังอาจจะไม่ทราบว่า MovieSeer ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการพัฒนาคอนเทนต์ สำหรับใช้บนโทรศัพท์มือถือสำหรับหนังเรื่อง Spider_Man II ที่ใช้กันอยู่ในแถบเอเชียอีกด้วย ปีนี้ MovieSeer ยังถือสิทธิ์ตัวการ์ตูนจาก Disney ทั้งหมด ทั้งมิกกี้ เมาส์ ที่มีอายุ 100 ปี หรือวินนี่เดอะพูห์ที่มีอายุย่างเข้าสู่ปีที่ 80 และเริ่มมีคอนเทนต์ให้เห็น กันสารพัดบนโทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่บัตรเติมเงินบนโทรศัพท์มือถือ หรือซิมการ์ดของบางค่าย
นับเป็นบริษัทที่ไม่เพียงแต่ได้เปรียบที่เริ่มก่อนได้เปรียบคนอื่นเท่านั้น แต่ยังคงเส้นคงวาเอาดีหาเงินเข้ากระเป๋าจากหนังดังของแท้อีกด้วย
|
|
|
|
|