|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2549
|
|
เดือนมีนาคม งบการเงินรายปีแทบทุกบริษัทได้ออกมาแล้ว การนำงบในอดีตมาดูร่วมด้วยจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของกิจการและอุตสาหกรรมนั้นๆ มากขึ้น 3 กระทู้คัดเลือกเดือนนี้จึงเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากงบปีให้มากที่สุด เช่น ดูรายได้และกำไรมาเทียบกับราคาหุ้น ดูสินทรัพย์หามูลค่าหากเลิกกิจการ หาวัฏจักรและแนวโน้มจากอดีตสู่อนาคต
ปัจจุบันหรืออนาคต? บนแนวคิด Warren Buffet
กระทู้ www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=8689
Warren Buffet บอกว่า ให้ซื้อบริษัทที่มีความสามารถในการแขงขันอย่างยั่งยืน และอย่าไปทำนายอนาคต เพราะการทำนายอนาคตมักจะผิด
คำถามคือเราสามารถลงทุนโดยไม่มองอนาคตได้หรือ?
สรุปความเห็นที่น่าสนใจ
- บางทีผมมานั่งย้อนดูประวัติของบริษัทที่งบในอดีตดี แต่ปรากฏว่า ผลมันไม่ได้การันตีเลยครับว่างบปีต่อไปมันจะออกมาดี... เห็นทำช้ำใจไปหลายตัวเหมือนกัน
- ต้องดูราคาที่เราซื้อ ถ้าไปซื้อตอน PE (Price/Earning) สูงๆ สุดท้าย เมื่อมีอะไรผิดพลาดขึ้นมาเล็กน้อยเราก็เจ็บตัว Warren จึงบอกว่า เขาทำกำไรจากข่าวร้าย ซื้อหุ้นประวัติดีแต่ต้อง ลงมากๆ
- หุ้นบางตัวเคย P/E ต่ำ แต่พอน้ำมันแพงขึ้นๆ E ก็ลด ตอนนี้ P/E จึงพุ่งขึ้น ดังนั้นหุ้นที่ P/E ปัจจุบันถูก แต่นั่นคือ E วันนี้ ไม่ใช่ E วันข้างหน้า ถ้าอนาคตกิจการแย่ลงไปเรื่อยๆ P/E ก็จะสูงขึ้นไปเรื่อย ดังนั้นหุ้นที่เราซื้อเพราะ P/E ต่ำอาจเป็นกิจการที่ กำลังทรุดเรื่อยๆ
- Warren เน้นให้ตรวจสอบรู้ให้ได้ว่าปัญหาที่ทำให้ราคาตกนั้นแก้ไขได้หรือไม่ หรือว่าเป็นปัญหาในระดับโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท
- จะรู้ได้ว่า E จะไม่ต่ำลงเรื่อยๆ ต้องไปวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพด้วย นอกจากเชิงตัวเลข
- ต้องดู trend ของธุรกิจ, วงรอบธุรกิจต่างๆ, วัฏจักรราคาวัตถุดิบด้วย
- ถ้าราคาลงหรืองบไม่ดีเพราะปัญหาชั่วคราวระยะสั้น จึงค่อยเข้าไปลงทุน เพราะเป็นโอกาสซื้อนั้นหาไม่ได้ง่ายๆ
margin of safety ที่ Warren Buffet ใช้ คืออะไร คำนวณอย่างไร และควรมีกี่เปอร์เซ็นต์ครับ
กระทู้ www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=15185
สรุปความเห็นที่น่าสนใจ
- ในภาวะที่ตลาดผันผวน นักลงทุนอาจจะยึดหลักการของ Margins of Safety ซึ่งหมายถึงมีช่องว่างระหว่างราคาที่ซื้อกับมูลค่าที่แท้จริง (intrinsic Value) ของบริษัท เป็นหลักการที่ปรมาจารย์ทาง Value Investing ซึ่งได้แก่ Graham และ Dodd ได้คิดค้นมานานแล้ว จากนั้นนักลงทุนชื่อก้องอย่าง Warren Buffet ได้ปรับ นำมาใช้
ไม่ควรลงทุนในธุรกิจที่เข้าใจยาก เช่น หุ้นกลุ่มธนาคาร หรือกลุ่มเทคโนโลยี ที่มีสินทรัพย์ที่ยากจะวิเคราะห์ ในขณะที่กลุ่มธนาคารนั้น การตั้งสำรองหนี้เสียต่างๆ ค่อนข้างขึ้นอยู่กับความเห็น (Judgments) ของผู้บริหาร และตัวเลขทางบัญชี หา intrinsic value ยาก
ปกติ Margins of Safety จะต้องไม่ต่ำกว่า 15% คือราคาหุ้นจะต้องต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทนั้นอย่างน้อย 15% จึงจะเป็นหุ้นที่น่าสนใจในการเข้าซื้อ ในทางกลับถ้าราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงประมาณ 15% ขึ้นไป หุ้นตัวนั้นควรถูกขายทำกำไรมากกว่าซื้อ
ถึงแม้ว่าการใช้หลัก Margins of Safety จะไม่รับประกันว่าจะไม่ขาดทุน แต่จะเป็นวิธีลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้ดีวิธีหนึ่ง เป็นการ "Buying a dollar for a fifty cents" นักลงทุนจะต้องมองหาโอกาสลงทุนในหุ้นที่มี Margins of Safety สูงสุด นั้นคือหุ้นที่มี Margins of Safety ในระดับรองๆ ลงมาจะไม่ถูกคัดเลือก
ราคาที่ซื้อจะต้องคุ้มค่าและให้ Reward to risk ratio สูง สามารถหาได้จากหลายวิธี เช่น ส่วนลดกระแสเงินสด (Discounted cash flow) หรืออาจจะเป็นมูลค่าเลิกกิจการ (Liquidation Value) หรืออาจจะเป็น P/E ทั่วๆ ไป
หุ้นตัวไหนที่ซื้อขาย "ต่ำกว่า" มูลค่าเลิกกิจการ (Liquidation Value) มากๆ จะให้ผลตอบแทน (Upside) สูงมากในแง่ของ Rewards risk ratio หรือในแง่ของผลตอบแทนเมื่อเปรียบเทียบกับ
ความเสี่ยง
เช่นบริษัทที่ผลิตพัดลมแห่งหนึ่งชื่อ C ได้สูญเสียลูกค้ารายใหญ่ เป็นยอดขายแทบทั้งหมดของบริษัท หมายความว่า ยอดขายและรายได้ของบริษัทอาจเหลือไม่ถึง 10-20% ของยอดขายเดิม ราคาหุ้น C ได้ตกอย่าง Free fall จาก 10 บาทเศษ มาที่
1 บาทเศษ ในขณะที่บริษัทมีมูลค่าเลิกกิจการอยู่ที่ 3-4 บาทต่อหุ้น และไม่มีหนี้เลย หมายความว่า ถ้าบริษัทสามารถหาลูกค้าใหม่แทนที่ลูกค้ารายเดิม
หุ้นจะ Rebound ขึ้นอย่างรวดเร็ว และในที่สุดหุ้นนั้นก็สามารถฟื้นตัวจาก
จุดต่ำสุดได้เกือบ 2-3 เท่าตัว
หรือบริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ K ขาดทุนอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็ว ทำให้ราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงจาก 100 บาทเศษๆ เหลือแค่ 2 บาทเศษ ในขณะที่มูลค่าเลิกกิจการ หรือมูลค่าชำแหละอยู่ที่ 3 บาท ไม่มีหนี้เลย ในที่สุดเมื่อบริษัทสามารถที่จะเริ่มจับกระแสเทคโนโลยีได้และเริ่มผลิต หุ้นตัวนั้นก็เกิด Rebound ในที่สุด
ตัวอย่างต่างๆ เหล่านี้ ถ้าบริษัทไม่มีหนี้ ถึงแม้จะขาดทุนเท่าใดก็ตาม
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและเทคโนโลยี หุ้นตัวนั้นจะ Rebound ในที่สุด
อยากทราบว่าหุ้นตัวไหนที่เป็นหุ้นวัฏจักรและอยู่ในช่วงขาลงบ้าง
นอกจากกลุ่มเรือ PSL, TTA, RCL กลุ่มปิโตรเคมี ATC
กระทู้ www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=14228
สรุปความเห็นที่น่าสนใจ
- ดูจากงบการเงินย้อนหลังไปหลายๆ ปีจะพบรายได้วิ่งขึ้นวิ่งลงเป็นรูปคลื่น
- ดูที่เว็บของแบงก์ชาติ ไปดูอัตราการใช้กำลังการผลิต ใน www.bot.or.th/BOTHomepage/DataBank/EconData/EconFinance/tab69.asp ถ้ามี แนวโน้มอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง อาจเป็นสัญญาณการอยู่ในวัฏจักร ขาลง
- หุ้นวัฏจักรถึงจุด peak ดูง่ายๆ คือ P/E ต่ำติดดิน 2 หรือ 3 เท่า volume มหาศาล ถ้าจุด bottom ก็ P/E สูงลิ่ว volume ไม่ค่อยมี
- หุ้นวัฏจักรมี 2 ประเภท
1. Economic cyclical ขึ้นลงตามวัฏจักรเศรษฐกิจ เช่น รถยนต์ อสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง ไฟแนนซ์ ฯลฯ
2. Commodity cyclical เช่น ปิโตรฯ น้ำมัน เรือ แร่ธาตุ ฯลฯ เศรษฐกิจมีผลต่อ demand แต่ก็จะขึ้นกับด้าน supply (ปริมาณการผลิต) ด้วย
หุ้นวัฏจักรที่เป็น economic cyclical จะวิเคราะห์ง่ายกว่า commodity เพราะ commodity จะต้องวิเคราะห์ให้ถูกทั้ง supply และ demand สำหรับมือใหม่ควรเลี่ยงหุ้นวัฏจักรประเภท commodity ไปก่อน
|
|
|
|
|